ความพยายามในการปฏิรูปองค์กร ภายใต้แผนฟื้นฟูของ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น มาถึงขั้นตอนสำคัญแล้ว
เมื่อ ผู้พิพากษา โรเบิร์ต อี การ์เบอร์ (Robert E. Gerber) แห่งศาลล้มละลายสหรัฐฯ ในเขตทางตอนใต้ของนิวยอร์ก
ได้ประกาศ อนุมัติการขายทรัพย์สินของบริษัทเดิมทั้งหมด ให้กับ จีเอ็มใหม่ (NGMCO) ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการ
สนับสนุนทางการเงินโดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ

โดย เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น (หรือส่วนที่เรียกว่า “น้ำเสีย”) จะเปลี่ยนชื่อเป็น มอเตอร์ ลิควิเดชั่น คอมพานี
(Motors Liquidation Company)
ซึ่งจะมีคณะกรรมการกลุ่มใหม่จะควบคุมดูแลกระบวนการและดูแลการชำระหนี้ของบริษัท
ภายใต้การดูแลของศาลล้มละลาย โดยสินทรัพย์ผูกขาดจะถูกละทิ้งหรือขายไป ให้กับผู้อื่น (รวมทั้งแบรนด์ อย่าง Saturn)
และดูเหมือนว่า อาจจะต้องใช้เวลานาน ถึง 3 ปี ถึงจะจัดการสะสางได้ครบ ก่อนจะปิดกิจการอย่างถาวร

แต่ในส่วนของ กิจการที่ยังทำกำไรได้ดี (หรือ ส่วนที่เป็น “น้ำดี”) เพื่อให้การดำเนินการทางธุรกรรมสำเร็จ จีเอ็ม ใหม่
หรือ NGMCO จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอมปานี (General Motors Company)
และบริษัทใหม่แห่งนี้
จะยังคงดำเนินธุรกิจภายใต้บริษัทและแบรนด์ ทั้ง 4 อันประกอบด้วย CHEVROLET BUICK CADILLAC และ GMC
ที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ซื้อต่อมาจาก จีเอ็ม คอร์ปอเรชั่นเดิม โดยพนักงานจีเอ็ม ปัจจุบันจะได้รับการเสนอให้ทำงานในบริษัทใหม่นี้ด้วย

 

 

Flitz Henderson และ Edward E. Whitacre, Jr : 2 ผู้กุมชะตากรรม GM Company

โครงสร้างของ กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ ในบริษัทใหม่ เจนเนอรัล มอเตอร์ส คอมพานี นั้น จะมีรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แคนาดา
และออนตาริโอ รวมทั้ง กรมดูแลผลประโยชน์ด้านเวชกรรมสหภาพแรงงานสำหรับผู้เกษียณ ในสหรัฐฯ เป็นเจ้าของตามลำดับ
โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นสามัญดังต่อไปนี้

–  กระทรวงการคลังสหรัฐฯ : 60.8 เปอร์เซ็นต์
–  กรมดูแลผลประโยชน์ด้านเวชกรรมสหภาพแรงงานสำหรับผู้เกษียณ  : 17.5 เปอร์เซ็นต์
–  รัฐบาลแคนาดาและออนตาริโอ : 11.7 เปอร์เซ็นต์
–  จีเอ็มเก่า : 10 เปอร์เซ็นต์

กรมดูแลผลประโยชน์ด้านเวชกรรมสหภาพแรงงานสำหรับผู้เกษียณ และรัฐบาลแคนาดานั้นต่างมีแนวโน้มที่จะเสนอ
หนึ่งในสมาชิกของตน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในคณะกรรมการของจีเอ็ม ใหม่ โดยกลุ่มผลประโยชน์ของผู้เกษียนนั้น
ได้คัดเลือกนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมยานยนต์ สตีเฟ่น เกอร์สกี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกคณะกรรมการจีเอ็ม ใหม่
นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกปัจจุบันของคณะกรรมการบริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส อีกหก คน ได้แก่ Erroll Davis,
Neville Isdell, Kent Kresa, Philip Laskawy, Kathryn Marinello and Fritz Henderson ตัวแทนจากรัฐบาลแคนาดา
และคณะกรรมการอีกสี่ท่าน ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงการคลังสหรัฐ

นอกจากนี้ จีเอ็ม เก่า และ กรมดูแลผลประโยชน์ด้านเวชกรรมสหภาพแรงงานสำหรับผู้เกษียณ ของสหรัฐฯ จะถือตราสาร
ที่ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นในการซื้อหุ้นสามัญของบริษัทในอนาคตใน ราคาที่กำหนดซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ได้ 15 เปอร์เซ็นต์ และ
2.5 เปอร์เซ็นต์ของอัตรากำไรของจีเอ็ม ใหม่ได้ตามลำดับ

 

 เอ็ดเวิร์ด อี. วิธเทรเกอร์ จูเนียร์ (Edward E. Whitacre, Jr)

ด้านผู้ที่จะมากุมบังเหียน ของ จีเอ็ม คัมพานี นั้น เอ็ดเวิร์ด อี. วิธเทรเกอร์ จูเนียร์ (Edward E. Whitacre, Jr) ผู้ซึ่งเคย
รับหน้าที่ดูแลการสร้าง AT&T ใหม่ จะมาดำรงตำแหน่งประธานใหญ่แห่งคณะกรรมการบริการ หรือ Chairman พร้อมกับคณะ
ผู้อำนวยการอีกจำนวนหนึ่ง โดย ฟลิตซ์ เฮนเดอร์สัน (Flitz Henderson) จะยังคงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและ 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เช่นเดิม พร้อมทั้งทำงานร่วมกับวิธเทรเกอร์อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ วิธเทรเกอร์ยังจะรับผิดชอบดูแล  
จีเอ็ม อเมริกาเหนือทั้งหมด แทนประธานของหน่วยงานดังกล่าวที่ถูกยกเลิกตำแหน่งไปอีกด้วย

ขณะเดียวกัน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน จึงมีการตั้งคณะกรรมการที่มีขนาดเล็กลง แทนที่คณะผู้บริหารระดับสูงสองกลุ่ม 
คือคณะกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์ยานยนต์ และคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ซึ่งคณะกรรมการที่มีขนาดเล็กลงนั้นจะมีการ
พบปะกันบ่อยครั้งขึ้น และมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจ พร้อมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แบรนด์ และการบริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น  

บ็อบ ลุทซ์ (Bob Lutz) จะเข้ามาดำรงตำแหน่งรองประธานใหญ่ ในจีเอ็มใหม่ โดยรับผิดชอบในส่วนงาน
สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทุกด้าน และส่วนลูกค้าสัมพันธ์ เขาจะร่วมงานกับ ทอม สตีเฟนส์ (Tom Stephen)
รองประธานใหญ่ ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ เอ็ด เวลเบิร์น (Ed Wellburn) รองประธาน ฝ่ายออกแบบ
ในการสร้างสรรค์ทุกองค์ประกอบของการออกแบบ นอกจากนั้น ลุทซ์ จะรับผิดชอบโดยตรงในเรื่อง
แบรนด์ การตลาด โฆษณา และการสื่อสาร ของจีเอ็มเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และก่อให้เกิด
ผลลัพธ์อันประสบความสำเร็จ โดย ลุทซ์ จะรายงานตรงต่อ เฮนเดอสัน และจะเป็นส่วนหนึ่งของ
คณะกรรมการผู้บริหารที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นใหม่

เจนเนอรัล มอเตอร์ส จะทำการปรับและส่งเสริมให้พนักงานใกล้ชิดลูกค้ามากขึ้นเพื่อผลที่ได้มาปรับปรุง
ในการดำเนินการของบริษัท การปรับโครงสร้างการดำเนินการระดับภูมิภาค จะส่งผลให้มีการยกเลิก
ตำแหน่งประธานกรรมการและคณะกรรมการวางแผนกลยุทธ์ โดย นิค ไรลี่ย์ (Nick Riely) จะเปลี่ยนมา
ดำรงตำแหน่ง รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท จีเอ็มอินเตอร์เนชั่นแนล โอเปอเรชันส์ ขำกัด (GMIO)
แทนซึ่งจะมีฐานการผลิตอยู่ที่นครเซียงไฮ้ ประเทศจีน

 

ฟลิตซ์ เฮนเดอร์สัน (Flitz Henderson)

สิ่งที่โลกอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องจับตากันต่อไปคือ จีเอ็ม จะสามารถชำระหนี้ อันเป็นเงินภาษีของประชาชนชาวอเมริกัน
ได้เร็วกว่ากำหนด ตามที่ได้แถลงเอาไว้หรือไม่ การพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ท่ามกลางความเปลี่ยนไปของกระแสเศรษฐกิจ
ความคิดและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ให้ยังคงยืนหยัดและรักษาคุณภาพดี ในต้นทุนที่สามารถแข่งขัน
คู่ต่อสู้ในตลาดโลก ได้ดีเพียงใด การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของทั้งลูกค้า ผู้ร่วมทำธุกิจดีลเลอร์ ซัพพลายเออร์ ตลอดจนผู้คน
ในประชาคมโลก หลังจากที่หดหายไปเกือบหมดได้อย่างไร อีกทั้งยังมีอีกมากมายหลายปัญหา ซึ่งรอการแก้ไข
ทุกฝ่ายได้แต่หวังว่า สักวันหนึ่ง จีเอ็ม จะฟื้นกลับมาเป็นยักษ์อันดับต้นๆ อย่างเต็มภาคภูมิ ได้โดยเร็วที่สุด

 

——————————————–///———————————————–