การเดินทางไปลองขับรถยนต์ของ SAIC ทั้งแบรนด์ MG Roewe และ Maxus เมื่อช่วงวันที่ 14 – 18 เมษายน 2019 ที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับผม ในการเข้าไปทำความรู้จักกับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศจีน ด้วยโสตประสาทสัมผัสของตนเอง ให้มากกว่าการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ ในช่วง 10 กว่าปีที่แล้วมา

อุตสาหกรรมยานยนต์ของชาวจีนนั้น มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนกับตลาดอื่นใดในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้บริโภคที่พร้อมจะซื้อรถยนต์ใหม่ ปีละหลายล้านคัน (ตัวเลขล่าสุด ปี 2018 มียอดขายรวมประมาณ 17.5 ล้านคัน!!) อีกทั้งยังมีรสนิยม บุคลิก และความต้องการ ที่แยกย่อยออกไปอีกมากมายเอาเรื่อง วันนี้ ผู้บริโภคชาวจีน มองหารถยนต์ที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้า ราคาสมเหตุสมผล ตามระดับชั้นของแบรนด์ที่พวกเขามอง แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือ ชาวจีนทุกวันนี้ ใส่ใจเรื่องคุณภาพการประกอบ ชิ้นงานวัสดุภายใน และความปลอดภัยจากอุบัติเหตุมากขึ้นกว่าเมื่อช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน

นอกเหนือจากรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแล้ว ความต้องการรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ รวมทั้ง รถยนต์อเนกประสงค์ ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีผู้เล่นทั้งระดับสากล และระดับท้องถิ่นมากมาย หลายยี่ห้อ ที่พร้อมส่งรถยนต์รุ่นใหม่ๆ เข้าสู่ตลาด เพื่อประชันขันแข็ง ไม่แพ้กลุ่มรถยนต์นั่งแบบมาตรฐานเลยแม้แต่น้อย และชาวจีนเอง ก็มุ่งมั่นที่จะนำพายานยนต์ของพวกเขา ก้าวสู่การส่งออกในระดับสากลให้ได้ เฉกเช่นเดียวกับ ญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ เมื่อหลายทศวรรษ ที่ผ่านมา

SAIC (Shanghai Automotive Industry Corporation) บริษัทรถยนต์ ร่วมลงทุนโดยรัฐบาลจีน และรัฐบาลนครเซี่ยงไฮ้ ในฐานะพี่ใหญ่สุดของวงการรถยนต์แดนมังกร เขาก็มีแบรนด์ยานยนต์ เพื่อการพักผ่อน และเพื่อการพาณิชย์อยู่ในมือนั่นคือ Maxus ซึ่งเพิ่งจะเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2011 – 2012 มาหมาดๆนี่เอง

คนไทยเราอาจจะเคยได้ยินชื่อ Maxus กันมาบ้างแล้ว จากการเปิดตัวรถตู้ Maxus ในบ้านเรา เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ยอดขาย อาจไม่ค่อยดีนัก ในตอนนี้ ทว่า ในเมืองจีนแล้ว วันนี้ พวกเขามีแนวคิดและการสร้างแบรนด์ ที่แตกต่างและน่าสนใจกว่าที่เราเคยรับรู้มา

MAXUS (แม็กซัส) ถือเป็นแบรนด์รถยนต์น้องใหม่ที่สุด ในบรรดาทุกแบรนด์ ที่ SAIC ถือครองอยู่ มุ่งเน้นการออกแบบ พัฒนา และผลิตรถยนต์อเนกประสงค์ รถกระบะ และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ โดยในภาษาจีน Maxus จะถูกอ่านในชื่อ 大通 (Datong) ซึ่งแปลได้ว่า ความชาญฉลาด และความราบรื่น (Big Wisdom & Smoooth)

อย่างไรก็ตาม ถ้าจะเล่าเรื่องราวจุดกำเนิดของ Maxus อย่างตรงไปตรงมา และตรงกับความจริงมากที่สุด เราอาจต้องย้อนกลับไปไกลสักหน่อย เพรานี่คือ บริษัท ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมา เพื่อสืบทอด กิจการรถตู้และรถบรรทุกเล็ก เพื่อการพาณิชย์  British Leyland ของชาวอังกฤษ และ DAF ของ เนเธอร์แลนด์!!

เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1896 ในตอนนั้น James Sumner และ Henry Spurrier ชาวอังกฤษ ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัท ‘The Lancashire Steam Motor Company’ เพื่อผลิตรถจักรไอน้ำพิกัด 1.5 ตัน สำหรับขนส่งสินค้า ปี 1904 พวกเขาเริ่มผลิตเครื่องยนต์เบนซิน มาวางบนรถบรรทุกเป็นครั้งแรก

อีก 3 ปีต่อมา ในปี 1907 พวกเขาก็ซื้อกิจการของ บริษัทวิศวกรรม T Coulthard and Co, ในเมือ Preston มารวมไว้ด้วยกัน แล้วเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Leyland Motor รวมทั้งส่งรถบัส Leyland ออกวิ่งให้บริการทั่วกรุง London และ นับแต่นั้น พวกเขาก็ดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายรถบรรทุกเพื่อการพาณิชย์ ภายใต้ชื่อ Leyland เรื่อยมา ในแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พวกเขาก็รับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการผลิตรถบรรทุกรวมทั้งยุทโธปกรณ์ ในยามสงครามโลก ครั้งที่ 1 และ 2 ไปจนถึง การพัฒนารถบรรทุก และรถบัสให้รองรับกับการใช้งานที่หลากหลายของผู้คนทั่วโลก จนกระทั่ง ปี 1963 Leyland ได้ซื้อกิจการบริษัท Standard-Triumph International และบริษัท Associated Commercial Vehicles Motor Corporation มารวมก่อตั้งเป็น Leyland Motor Corporation

ต่อมา วันที่ 17 มกราคม 1968 บริษัท Leyland Motor Corporation จำกัด และบริษัท British Motor Holdings จำกัด ควบรวมกิจการกัน เพื่อก่อตั้งเป็น บริษัท British Leyland Motor Corporation จำกัด (BLMC) กลายเป็นผู้ผลิตรถยนต์อันดับ 5 ของโลก ในเวลานั้น

แต่ด้วยสถานการณ์ด้านพลังงานของโลกที่ถูกสั่นคลอนด้วยวิกฤติการณ์น้ำมัน ที่เริ่มขึ้น เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 1973 ส่งผลให้บริษัทรถยนต์ทั่วโลกเผชิญปัญหาด้านยอดขายตกต่ำโดยถ้วนหน้า ระหว่างนั้น ปี 1974 Leyland ได้เปิดตัว รถตู้ แบบหน้ายื่น เพื่อการขนส่ง ขนาดกลาง Leyland Van ซึ่งถูกเปลี่ยนชื่อในปี 1075 เป็น Leyland Sherpa รวมทั้งนำไปแปะตรา Morris

ในเดือนเมษายน 1975 BLMC ถูกปรับโครงสร้างใหม่ กลายเป็น “รัฐวิสาหกิจผลิตรถยนต์” ของรัฐบาลอังกฤษ ทำให้ Leyland ต้องเข้าไปอยู่ในกลุ่ม BLMC นี้ด้วย จนถึงปี 1978 Leyland ถูกแบ่งออกมาเป็น 4 แผนก (1 ในนั้น มีแผนกรถตู้ Sherpa ที่โดนแยกออกมาด้วย) ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น British Leyland Ltd. (BL Ltd.) ในปี 1979 ต่อด้วย BL plc. (หลังเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น)

ฟังดูงงๆ ใช่ไหมครับ ว่ามันจะมาเกี่ยวกับ Maxus ได้อย่างไร…จุดเริ่มต้น มันอยู่ตรงข้างล่างนี้ครับ…

ปี 1981 กิจการรถตู้ของ Leyland ถูกรวมเข้าเป็นแผนกหนึ่งของ Land Rover (ซึ่งอยู่ในกลุ่ม British Leyland อยู่แล้วในตอนนั้น) ต่อมา ปี 1982 รถตู้ Sherpa ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Frieght Rover Sherpa ทำตลาดจนถึงปี 1984 จึงมีรุ่นปรับโฉม Minorchange เปลี่ยนไฟหน้าจากวงกลมเป็นสี่เหลี่ยม แถมยังเปลี่ยนชื่อเป็น Frieght Rover 200 Series และตามด้วยการเปลี่ยนชื่อบริษัท…(อีกแล้ว) เป็น Rover Group ในปี 1986

แต่ด้วยสถานการณ์ที่ย่ำแย่ยิ่งกว่าเดิม การควบรวมกิจการเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ เดือนกุมภาพันธ์ 1987 DAF NV. ผู้ผลิตรถเพื่อการพาณิชย์รายใหญ่จากเนเธอร์แลนด์ จึงเข้ามาซื้อกิจการส่วนรถบรรทุก และรถบัส Leyland และ Freight Rover จาก Rover Group และพวกเขาก็เปลี่ยนชื่อใหม่อีก (รอบที่เท่าไหร่แล้ววะเนี่ย เยอะชิบหาย) เป็น Leyland DAF (Rover Group ถือหุ้น 40% ส่วน DAF ถือหุ้น 60%) โดยพวกเขายังคงแยกประกอบรถบรรทุก ที่ Leyland ในอังกฤษ , Eindhoven ใน Netherland ส่วนแผนกรถตู้ (นี่แหละ คือส่วนสำคัญที่เราจะแยกออกมาพูดถึง เพราะนี่คือจุดกำเนิดของ Maxus) ยังผลิตในเมือง Birmingham ที่อังกฤษ รถตู้ของพวกเขา โด่งดังในยุโรป ด้วยรุ่น Sherpa Van จากยุคทศวรรษ 1960 ต่อเนื่องมาจนถึง Leyland Daf Van 200 / 400 ในทศวรรษ 1980 – 1990

ด้วยปัญหาที่หมักหมมคาราคาซัง ต่างๆนาๆ ทั้งยอดขายที่ไม่กระเตื้อง ทำให้ DAF NV ล้มละลายในเดือนกุมภาพันธ์ 1993 ดังนั้น กิจการของ Leyland DAF (ในฐานะที่ DAF NV มาเข้าหุ้นด้วย) จึงต้องตกอยู่ในการพิทักษ์ทรัพย์ และถูกแยกออก ตั้งเป็น 4 บริษัทใหม่ โดย 1 ใน 4 บริษัทที่ถูกแยกออกจากกันนั้นคือ LDV (Leyland DAF Vans) ก่อตั้งในเดือนเมษายน 1993 และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น LDV Group ในเดือนมกราคม 1994 ในช่วงนั้น พวกเขานำ รถตู้ Sherpa มาปรับโฉมใหม่ และเปลี่ยนชื่อ (รอบที่เท่าไหร่แล้ววะเนี่ย) เป็น LDV Pilot (รุ่นตู้ทึบ และกระบะ หัว Cab Chassis) กับ LDV Convoy (รุ่นเดียวกัน แต่เปลี่ยนบั้นท้ายให้เป็นรถตู้โดยสารช่วงยาว) ออกขายในปี 1995 และอยู่ในตลาดไปจนถึงปี 2006

เดือนพฤศจิกายน 2000 LDV จับมือเซ็นสัญญากับ Daewoo Motor ร่วมกันพัฒนารถตู้ “LDV MAXUS” (หรือ MG V80 ในบ้านเรา) ด้วยงบลงทุนกว่า 500 ล้านปอนด์ ใช้เวลา 5 ปี ในการพัฒนา จนพร้อมเปิดตัวในช่วงปลายปี 2004 และพอจะทำยอดขายดีอยู่พักใหญ่ทั้งจากหน่วยงานราชการ ไปรษณีย์ อังกฤษ ฯลฯ แต่สถานการณ์ในระยะยาว ก็ไปได้ไม่ค่อยดีนัก

เดือนธันวาคม 2005 กลุ่มนักลงทุน Sun Capital Partners เข้าซื้อกิจการของ LDV และเข้ามาปรับโครงสร้างด้านการเงินทั้งหมด ตามด้วยกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของ Russia อย่าง GAZ Group ที่เข้ามาซื้อหุ้นของ LDV เมื่อ 31 กรกฎาคม 2006 พวกรัสเซียวาดฝัน จะนำ LDV Maxus ไปผลิตขายในรัสเซีย ให้ได้ถึงปีละ 50,000 คัน แถมยังมีแผนจะส่งออกไปยัง Australia และส่งกลับไปขายยัง อังกฤษอีกด้วย ทว่า แผนการดังกล่าว กลับไม่เกิดขึ้นเลย เนื่องจาก พวกเขาไม่มีเงินทุนมากพอในระยะยาว

ย่างเข้าเดือนธันวาคม 2008 หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษ พยายามจะยื้อชีวิตบริษัทนี้ โดยให้บริษัท WestStar Corporation จาก Malaysia เข้าซื้อกิจการ แต่ WestStar เอง ก็ไม่ผ่านการพิจารณาด้านเงินลงทุน ท้ายที่สุด สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด ของ LDV จึงถูกขายทอดตลาดให้กับ บริษัท PricewaterhouseCoopers ไปยังกลุ่มทุน Chinese firm Eco Concept เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2009 ก่อนที่พวกเขา จะขายสิทธิ์ทั้งหมดให้กับ SAIC Motor ในปี 2010 และนี่คือจุดเริ่มต้นบทใหม่ ของ MAXUS ในเมืองจีน!!

ไหนๆก็ซื้อมาแล้ว SAIC ก็เลยมีแนวคิดที่จะขยายการผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ออกไปให้มากขึ้น ในระดับสากล พวกเขาจึง นำชื่อรุ่นรถตู้ มาเปลี่ยนเป็นชื่อแบรนด์ใหม่ และจัดงานแถลงข่าว เปิดตัวแบรนด์ Maxus เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2011 จากนั้น จึงจดทะเบียน ก่อตั้งบริษัท SAIC Maxus Automotive Co., Ltd. เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2011 เพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนจะเปิดตัวแบรนด์ Maxus เป็นครั้งแรก สู่สาธารณชนชาวจีน เมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2012

Maxus รุ่นแรกที่ออกสู่ตลาด คือการนำ รถตู้ LDV รุ่นเดิม มาขึ้นสายการผลิตที่โรงงานในเมือง Wuxi ประเทศจีน ออกสู่ตลาดอีกครั้ง ในชื่อ Maxus V80 จากนั้นในปี 2014 พวกเขาก็ออก เวอร์ชันขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ รถตู้ V80 ใช้ชื่อว่า EV80 และในปีเดียวกัน พวกเขาก็เริ่มเปิดตัวรถตู้ Minivan รุ่น G10

ย่างเข้าปี 2015 V80 ก็มีเวอร์ชันตัวถังกว้างหลังคาสูง Wide Body High Roof สำหรับตลาดรถตู้ขนส่งผู้โดยสาร ต่อมา ปี 2016 Maxus เปิดตัว Minivan G10 พลังไฟฟ้า ชื่อ EG10 ในงาน Auto Shanghai พอช่วงปลายปี ในงาน Guangzhou Automobile Exibition นอกจากจะเผยโฉม รถบ้าน RV80 บนพื้นฐานรถตู้ V80 แล้ว ยังเปิดตัวรถกระบะ T60 เป็นครั้งแรกอีกด้วย

ปี 2017 SUV / PPV รุ่น D90 ก็เผยโฉมออกมา พร้อมกับ G10 Plus Minivan รุ่นหรูหรา และไฮเทค และ FCV80 รถตู้พลัง Fuel Cell บนพื้นฐานจากรถตู้ V80 และล่าสุดในปี 2018 Maxus ก็เปิดตัว รถตู้ V80 Minorchange ตามด้วย Minivan ขนาดกลาง รุ่น G50 ทั้งเวอร์ชันปกติ เวอร์ชันไฟฟ้า EG50 และ รถบ้าน RG10 จากพื้นฐาน Minivan รุ่น G10 จนกระทั่งล่าสุด ปี 2019 ในงาน Auto Shanghai Maxus เพิ่งเปิดตัว SUV ขนาดกลาง รุ่น D60 ไปสดๆร้อนๆ

สิ่งที่ ทำให้ Maxus แตกต่างจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ นั่นคือ พวกเขาเริ่มเปลี่ยนตัวเอง จากเดิมซึ่งเป็นเพียงผู้ผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ วิธีคิดในการพัฒนารถยนต์ จาก B2C (Bussiness to Customers) มาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ Crossover ยุค Digital ภายใต้แนวทางใหม่ที่เรียกว่า C2B (Customers to Bussiness) อันเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากวิสัยทัศน์ของ SAIC ซึ่งให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม จนเริ่มวางกลยุทธ์ในการพัฒนารถยนต์ภายใต้แนวคิด “new energy + Internet + X” (พลังงานใหม่ + อินเตอร์เน็ต + X )

เพราะตามปกติแล้ว บริษัทรถยนต์มักใช้วิธีการแบบ Business to Customer (B2C) ซึ่งหมายถึงการพัฒนารถยนต์ให้เสร็จก่อน จากนั้นจึงค่อยมาคิดวางแผนหาลูกค้ามาซื้อ แต่สำหรับ SAIC Maxus แล้ว พวกเขา มองมุมกลับ เปลี่ยนไปใช้วิธีการพัฒนารถยนต์แบบ Customer to Business (C2B) โดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในแทบทุกกระบวนการพัฒนา และนำความต้องการของลูกค้ามาประกอบการพิจารณา อย่างเต็มที่

วิธีการก็คือ ในปี 2016 SAIC Maxus เริ่มลงทุน สร้าง Platform การสำรวจข้อมูล Digital Interactive ในชื่อ Website  http://c2b.saicmaxus.com เพื่อให้ผู้บริโภค สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนารถยนต์ได้ถึง 6 ขั้นตอน ทั้งการกำหนดรายละเอียด (Definition) การพัฒนาตัวรถ (Development) , การตรวสอบ (Verification), การกำหนดราคา (Pricing) การกำหนดค่า (Configuration) และการปรับปรุงตัวรถ (Improvement)

Platform สำรวจข้อมูล Interactive ของ Maxus นี้ มีจำนวนผู้ใช้มากถึง 6 แสนราย ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิต, การพัฒนา, การตรวจสอบ, ราคา, การตั้งค่าและรวมถึงการปรับปรุงตัวรถในอนาคตด้วย ผลลัพธ์ก็คือ รถกระบะ T60 และ D90 กลายเป็น รถยนต์แบบแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ผู้ผลิต เปิดโอกาสให้ผู้บริโภค เข้ามามีส่วนร่วม กำหนดแนวทางการพัฒนารถยนต์ด้วยตนเอง ถึงขั้นว่า เปิดโอกาสให้ลูกค้า ผู้โชคดี ที่ได้รับการสุ่มคัดเลือก จากความคิดเห็นที่ส่งเข้ามา ได้เข้าไปร่วมทดสอบรถยนต์ต้นแบบ กันทั้งในเมืองจีน Dubai และ Australia กันมาแล้ว อีกด้วย !!!

ทุกวันนี้ SAIC Maxus ส่งออกรถตู้ รถระบะ และรถยนต์อเนกประสงค์ ไปจำหน่ายยังกว่า 46 ประเทศ ทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยซึ่งดูแลโดย บริษัท MG Car Sales (Thailand) จำกัด ผลประกอบการล่าสุดก็คือ ตัวเลขการเติบโตของยอดขาย ในปี 2018 ที่ผ่านมา เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2017 ถึง 60.3% และ ยังเป็นแบรนด์รถยนต์จากจีน ที่ขายดีสุด เมื่อเทียบกับแบรนด์จีนอันเป็นคู่แข่งด้วยกันเอง  ในหลายๆตลาด ทั้งใน Australia , New Zealand ฯลฯ

เราจะมาทำความรู้จักกับแบรนด์ Maxus ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น ผ่านการทดลองขับรถยนต์รุ่นใหม่ ถึง 4 รุ่นรวด ซึ่งมีแนวโน้มว่า 2 ใน 4 รุ่นนี้ มีสิทธื์เข้ามาทำตลาดในเมืองไทย ในช่วงตั้งแต่ปีนี้ จนถึง ปี 2021 ภายใต้แบรนด์ MG อันเป็นแบรนด์ร่วมตระกูลเดียวกันในเครือ SAIC นั่นเอง

MAXUS T60 / T70 (MG T60 / T70 Pickup Truck)

SAIC มีแนวคิดที่จะพัฒนารถกระบะ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดในประเทศจีน และตลาดส่งออกบางแห่งมานานแล้ว แน่นอนว่า พวกเขาคงต้องให้ SAIC Maxus เป็นผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนา T60 ถูกเปิดตัวครั้งแรก ในงาน Guangzhou International Motor Show เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2016 ก่อนจะมีการเพิ่มทางเลือกเครื่องยนต์ใหม่ 2 แบบ ในเดือนพฤศจิกายน 2017 เวอร์ชันจีน มีให้เลือกมากถึง 11 รุ่นย่อย ติดป้ายราคาตั้งแต่ 83,800 – 249,800 หยวน หรือ 419,000 – 1,249,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน = 5 บาท ราคานี้ ไม่รวมภาษีศุลกากร สรรพสามิต ค่าใช้จ่ายในกานำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย)

ล่าสุด เวอร์ชัน Minorchange เปลี่ยนกระจังหน้าใหม่ พร้อมเปลี่ยนชื่อรุ่นใหม่เป็น Maxus T70 เพิ่งจะถูกนำมาจอดอวดโฉมในงาน Auto Shanghai 2019 เดือนเมษายน ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆนี่เอง แต่ยังไม่ออกจำหน่ายในจีน ณ เวลาที่ปิดต้นฉบับนี้ สิ่งที่คุณควรรู้ไว้ก็คือ Maxus T60 / T70 จะเป็นรถกระบะ ที่จะถูกนำมาเปลี่ยนตรายี่ห้อเป็น MG เพื่อเตรียมเปิดตลาดรถกระบะในบ้านเรา ช่วงปลายปี 2019 ที่กำลังจะมาถึงนี้

T60 มีตัวถังยาว 5,365 มิลลิเมตร กว้าง 1,900 มิลลิเมตร ความสูงรุ่นกระบะส่งของ 1,722 มิลลิเมตร รุ่น Cab และ 4 ประตู ตัวเตี้ย 1,809 มิลลิเมตร รุ่น 4×4 สูง 1,845 มิลลิเมตร หากเป็นรุ่นฐานล้อยาวพิเศษจะเพิ่มความยาวตัวถังอีก 315 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อรุ่นช่วงสั้นยาว 3,155 มิลลิเมตร รุ่นช่วงยาว 3,470 มิลลิเมตร พื้นที่กระบะของรุ่น 4 ประตู ฐานล้อมาตรฐานจะมีความยาว 1,485 มิลลิเมตร กว้าง 1,510 มิลลิเมตร สูง 530 มิลลิเมตร ถังน้ำมันขนาด 75 ลิตร

รูปลักษณ์ ภายนอกดูร่วมสมัย ไม่แตกต่างจากรถกระบะในท้องตลาดมากนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปแล้ว 2 ปี รองรอยแห่งความเชยก็เริ่มเข้ามาเยือนบ้างเป็นธรรมดา ชุดไฟหน้าเป็นแบบ LED พร้อม Daytime Running Light และระบบปรับมุมองศาจานฉาย ตามการเลี้ยวของพวงมาลัย AFS มาให้เป็นออพชัน ส่วนภายในห้องโดยสาร ก็จะติดตั้ง ระบบ i-Smart เข้ามาด้วย

การเข้า – ออก ขึ้น – ลง จาก ประตูคู่หน้า และหลัง ทำได้ดีในระดับเดียวกับรถกระบะฝั่งญี่ปุ่นทั่วไป เพียงแต่ว่า ควรปรับตำแหน่งเบาะนั่งคนขับให้ต่ำลงอีกนิด เพื่อลดความเสี่ยงที่ศีรษะคุณอาจเฉี่ยวไปโดนเสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar

เบาะนั่งคู่หน้า มาในสไตล์แน่นแอบนุ่มหน่อยๆ สิ่งที่พิเศษกว่ารถกระบะหลายๆคันก็คือ เบาะคนขับปรับระดับได้ด้วยสวิตช์ไฟฟ้า พนักพิงหลัง ให้สัมผัส เกือบแน่น หลงเหลือความนุ่มมาให้นิดๆ จางๆ ตัว พนักศีรษะ ไม่ดันกบาลมากนัก เบาะรองนั่ง สั้นแต่อยู่ในเกณฑ์​มาตรฐานทั่วไป รองรับช่วงต้นขาได้อยู่ในระดับหนึ่ง

เบาะนั่งแถวหลัง มีพนักพิงหลังค่อนข้างแข็ง เหลือความนุ่มไว้เพียงนิดเดียวเท่านั้น การรองรับแผ่นหลัง ให้สัมผัสที่คล้ายกับว่าคุณกำลังนั่งอยู่บนม้านั่ง แต่มุมองศาการเอียงของตัวพนักพิงหลัง ก็พอๆกันกับ Ford Ranger T6 ขณะที่ พนักศีรษะด้านหลัง แข็ง และดันต้นคอกว่าพนักศีรษะคู่หน้า แปลกดีเหมือนกัน กระนั้น เบาะรองนั่ง ถึงจะสั้น แต่ก็สั้นพอกันกับรถกระบะทั่วๆไป ฟองน้ำเสริมข้างใน นุ่มกำลังดี และมีพื้นที่วางขา ไล่เลี่ยกับ Toyota Hilux Vigo (2004 – 2015)

แผงหน้าปัด ออกแบบในสไตล์เหลี่ยมสัน ซึ่งออกจะเชยไปหน่อย เมื่อเทียบกับคู่แข่งในยุคสมัยปัจจุบันนี้ ชวนให้นึกถึง MG ยุคใหหม่รุ่นแรกๆที่เข้ามาทำตลาดในบ้านเรา ประดับตกแต่งด้วย Trim สีเงิน Aluminium พวงมาลัย 3 ก้าน พร้อมสวิตช์ Multi-Function หน้าตาแข็งๆทื่อๆ แต่ Grip จับกระชับมือตามสมควร ไม่หนีจากรถกระบะทั่วไป ปรับระดับสูง – ต่ำได้ แต่ปรับระยะใกล้ – ห่าง (Telescopic) ไม่ได้ ชุดมาตรวัด เป็นแบบ 2 วงกลม Font ตัวเลข เว้นระยะห่างพอเหมาะก็จริง แต่การเรียงตัวเลขแบบขนาบไปตามกรอบวงกลม ทำให้อ่านยากในช่วงความเร็วสูง มีจอ Multi Information Display ตรงกลางมาให้ แสดงข้อมูลอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง Trip Computer ฯลฯ รวมทั้ง เป็นหน้าจอแสดงขอมูลจากระบบเตือนแรงดันลมยาง TPMS (Tyre Pressure Monitoring System) อีกด้วย

จุดเด่นที่สำคัญสำหรับ T60 เวอร์ชันจีน คือมีจอ Monitor สี Touch Screen ขนาดเท่ากับ MG ZS ติดตั้งระบบปฏิบัติการณ์ YunOS intelligent system ซึ่ง SAIC พัฒนาร่วมกับ Alibaba ยักษ์ใหญ่ด้าน iT ของ แจ็คหม่า อภิมหาเศรษฐีชาวจีน สามารถควบคุมและสั่งการระบบต่างๆของตัวรถ ในรูปแบบ intelligent management เชื่อมต่อกับระบบ Internet สั่งการอุปกรณ์ต่างๆในรถได้ ทั้งจากปลายนิ้ว หรือระบบสั่งการด้วยเสียง voice recognition รวมทั้ง เชื่อมต่อกับกล้องมองหลัง 360 องศา ปล่อยสัญญาณ Wi-Fi ในรถได้ และมีระบบ Online Entertainment มาให้อีกต่างหาก

เห็นแบบนี้ เดาได้เลยว่า T60 เวอร์ชันไทย น่าจะมาพร้อมระบบปฏิบัติการณ์ i-Smart เหมือน MG ZS แหงๆ ซึ่งระบบ i-Smart จะต่างจาก YunOS เพราะระบบของ SAIC กับ Alibaba เขาร่วมกันพัฒนา ทำทุก Function ให้เชื่อมต่อกันได้หมด แต่ i-Smart บ้านเรา ไม่ได้มี Alibaba มาเกี่ยวข้อง จึงต้องแยกกันพัฒนา จาก บรรดา Supplier แล้วนำมารวมระบบเข้าด้วยกัน การทำงานของระบบจึงอาจขลุกขลักอยู่บ้าง ยังอาจไม่สมบูรณ์เท่า YunOS ในตอนนี้ คงต้องใช้เวลาอีกสักพัก กว่าระบบ i-Smart จะเสถียรกว่านี้ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพตามความคาดหวังของทุกฝ่าย

ช่วงแรกที่เปิดตัว T60 วางเครื่องยนต์รหัส SC28R Diesel 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 2,776 ซีซี  ฉีดจ่ายเชื้อเพลิงด้วยระบบ Common-Rail 3rd Generation จาก BOSCH พ่วงด้วย Turbocharger ผลงานโดย VM Motori บริษัทเชื้อสาย Italy ในเครือของ GM ซึ่งเคยทำเครื่องยนต์ให้กับรถกระบะสัญชาติไทยอย่าง VMC มาแล้วเมื่อปี 1995 เพียงบล็อกเดียว แต่มีให้เลือก 2 ระดับความแรง

  • แบบมาตรฐาน รหัส SC28R 136.2 Q4 กำลังสูงสุด 136 แรงม้า (PS) ที่ 3,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 310 นิวตัน-เมตร (31.5 กก.-ม.) ที่ 1,500 – 3,000 รอบ/นาที
  • แบบ Hi-Output รหัส SC28R 150Q5  กำลังสูงสุด 150 แรงม้า (PS) ที่ 3,400 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตัน-เมตร (36.68 กก.-ม.) ที่ 1,600 – 2,800 รอบ/นาที

ขุมพลังลูกนี้ จับคู่เกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ จาก Hyundai DYMOS และเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะโดย Punch Powertrain ซัพพลายเออร์ระบบส่งกำลังจาก Belgium พ่วงได้ทั้งระบบขับเคลื่อนล้อหลัง หรือ ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ จาก BorgWarner

ต่อมา เดือนพฤศจิกายน 2017 มี 2 ขุมพลังรุ่นใหม่ เข้ามาเสริมทัพ ดังนี้

  • เครื่องยนต์ รหัส 4G69 S4N เบนซิน 4 สูบ SOHC 16 วาล์ว 2,378 ซีซี หัวฉีดอีเล็กโทรนิคส์ จาก Mitsubishi Motors 100 กิโลวัตต์ (136 แรงม้า (PS) ที่ 5,250 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 200 นิวตันเมตร (20.38 กก.-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ตั้งแต่ 2,500 – 3,000 รอบ/นาที พ่วงได้เฉพาะเกียร์ธรรมดา 5 จังหวะ จาก Aisin ญี่ปุ่น
  • เครื่องยนต์ รหัส 20L4E เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,995 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 88 x 82 มิลลิเมตร กำลังอัด 10.0 : 1  พ่วง Turbocharger (TGI) กำลังสูงสุด 165 กิโลวัตต์ หรือ 224 แรงม้า (PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร (36.68 กก-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ตั้งแต่ 2,500 – 3,500 รอบ/นาที

ล่าสุด ในงาน Auto Shanghai 2019 เดือนเมษายน ที่ผ่านมา T60 Minorchange ในชื่อ T70 ถูกเปิดตัวพร้อมกับเพิ่มเครื่องยนต์ใหม่ รหัส SAIC π (D20) Diesel 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,995 ซีซี มีให้เลือกทั้งรุ่น Turbocharger เดี่ยว 125 กิโลวัตต์ หรือ 170 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 375 นิวตันเมตร (38.21 กก.-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ 1,500 – 2,400 รอบ/นาที

และรุ่น Twin Turbocharger หรือ Turbo คู่ 209 กิโลวัตต์ หรือ 284 แรงม้า (PS) ที่ 4,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 480 นิวตันเมตร (48.91 กก.-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ 1,500 – 2,400 รอบ/นาที

ระบบบังคับเลี้ยว รุ่น T60 เป็นพวงมาลัย Rack & Pinion พร้อม เพาเวอร์ผ่อนแรงด้วย Hydraulic แบบมาตรฐาน (ไม่มีระบบไฟฟ้า EPS)แต่สำหรัรุ่น T70 จะถูกเปลี่ยนมาเป็น พวงมาลัย Rack & Pinion พร้อม เพาเวอร์ผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) เป็นครั้งแรกของรถกระบะจาก Maxus

ส่วนระบบกันสะเทือน ด้านหน้า เป็นแบบอิสระ ปีกนกคู่ Double Wishbone Spiral ส่วนช่วงล่างหลัง Maxus T60 เป็นคานแข็ง และตับแหนบ Total Gradient Leaf Spring Rigid Axle (Non Independent) Suspension ที่ถูกออกแบบจุดยึดโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายในการขับขี่หากมีการบรรทุกเบาและสามารถรองรับการบรรทุกหนักได้

ระบบห้ามล้อ เป็นดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ! พร้อมตัวช่วยมาตรฐาน ทั้งระบบป้องกันล้อล็อก ABS (Anti-Lock Braking System) ระบบกระจายแรงดันน้ำมันเบรกตามน้ำหนักบรรทุก EBD (Electronic Brake Force Distribution) ทำงานร่วมกับ ระบบควบคุมการทรงตัว และเสถียรภาพ ESP (Electronic Stability Programme) เวอร์ชัน 9.1 จาก BOSCH ซึ่งรวมถึง ระบบช่วยออกตัวบนทางลื่น TCS Trction Control ระบบค้างแรงดันน้ำมันเบรก ไว้ 3 วินาที เพื่อช่วยออกตัวบนทางลาดชัน HHC (Hill Hold Control) กับระบบ HBA เสริมความปลอดภัยด้วย เฟืองท้าย Differential Lock จาก Eaton USA. ในทุกรุ่นย่อย ช่วยล็อกความเร็วหมุนของล้อไว้ที่ 100 รอบ/นาที สำหรับการเคลื่อนที่ปีนป่าย ไปตามสภาพถนนลื่นแฉะ และ ระบบเตือนเปลี่ยนเลน LDW (Lane Departure Warning) กับ ถุงลมนิรภัยมากถึง 6 ใบ พร้อมเข็มขัดนิรภัย ELR 3 จุด ทุกตำแหน่ง เฉพาะคู่หน้า มาพร้อมตัวปรับระดับสูง – ต่ำ เป็นต้น

T60 รุ่นที่ SAIC จัดให้เราลองขับ เป็นรุ่น Comfort เครื่องยนต์ D20 163 แรงม้า (PS) เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ บนสนามทดสอบขนาดใหญ่ พอมีเลนถนนให้สามารถทำตัวเลขอัตราเร่งได้ ผมจึงลองกดนาฬิกาจับเวลาร่วมกับ Instructor ชาวจีน ทั้งที่มีคนขับ กับผู้โดยสารนั่งอยู่บนรถ 2 คน และ 3 คน เพื่อให้เกิดภาพคร่าวๆ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สมรรถนะในเบื้องต้นของ T60 เป็นเช่นไร และผมก็ได้ตัวเลขออกมาดังนี้

อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร /ชั่วโมง
นั่ง 2 คน ทำได้ใน 11.98 วินาที
นั่ง 3 คน ทำได้ 13.02 วินาที

อัตราเร่ง 80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
นั่ง 2 คน ทำได้ใน 8.40 วินาที
นั่ง 3 คน ทำได้ใน 8.46 วินาที

กลายเป็นว่า อัตราเร่ง ไม่ใช่ปัญหาของ T60 เลย หากไม่ได้มองตัวเลขแรงม้า แรงบิด จะพบว่า การตอบสนอง ก็สมตัว และเป็นไปตามความคาดหวัง เกาะกลุ่มไปกับคู่แข่งในตลาดได้ในระดับที่ไม่น่าเกลียดเลย

พวงมาลัยในช่วงความเร็วต่ำ มีน้ำหนักกำลังดี หมุนเลี้ยวได้ง่าย แต่ช่วงความเร็วสูง พ้นจาก 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไปจนถึง 150 กิโลเมตร/ชั่วโมง จะเบานิดๆ พอใช้งานได้ ไม่เลวร้ายเหมือนพวงมาลัยของ Tata Xenon แน่ๆ แต่ก็ยังถือว่า น้ำหนักในช่วงความเร็วสูง ยังเบาไปนิดนึง ควรหนืดกว่านี้สักหน่อย จะเพิ่มความมั่นใจในการบังคับควบคุมได้อีก

ช่วงล่างในช่วงความเร็วต่ำ ก็ไม่ได้แตกต่างจากรถกระบะญี่ปุ่นยุคใหม่ในสมัยนี้มากนัก แม้กระทั่งใช้ความเร็วสูง มันก็พอให้ความสบายได้ระดับหนึ่ง เน้นความนุ่มนิดๆพอประมาณบนผิวยางมะตอย แต่ถ้าเป็นพื้นปูน ช่วงล่างจะเต้นขึ้นลงเยอะอยู่เหมือนกัน กระนั้น สิ่งที่เราพบเจอก็คือ ช่วงล่างหลัง ค่อนข้างเด้ง เพราะการเซ็ตแหนบมาค่อนข้างแข็งประมาณหนึ่งเลยทีเดียว

สิ่งที่หนักกว่านั้นคือ เจออาการหน้าดิ้น ที่ความเร็ว 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง บนพื้นขรุขระ หรือลูกระนาดแบบถี่ยิบ เรียงติดๆกัน บางคน ถึงกับต้องยกคันเร่งผ่อนลงมา แต่ผมเลี้ยงคันเร่งไว้ที่เดิม พยายามคอนโทรลรถให้นิ่งๆ จนผ่านพื้นผิวถนนลักษณะนั้นมาได้ ในกรณีนี้รถกระบะฝั่งอเมริกัน และญี่ปุ่นบางรุ่น ​มีช่วงล่างด้านหน้าที่เก็บอาการและรับมือกับแรงสะเทือนจากพื้นผิวถนนขรุขระได้ดีกว่าชัดเจน จุดนี้ ผมว่า ควรปรับปรุงครับ

แป้นเบรก มีระยะเหยียบยาวปานกลาง พอกับ Maxus D90 และ Roewe / MG RX8 แต่แป้นเบรกจะหนืดขึ้นกว่า น้ำหนักของแป้นเบรก อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ไม่หนัก แต่ไม่เบามากนัก พอจะให้ความมั่นใจได้มากกว่า ทั้ง 2 รุ่นที่กล่าวถึงข้างต้น เพราะสามารถควบคุมเบรกตามน้ำหนักเท้าที่เหยียบลงไปได้ง่าย

เมื่อได้ลองขับด้วยระยะทางสั้นๆมาแล้ว ยืนยันว่า ถึงแม้ว่า รูปลักษณ์ภายนอก จะสวยงามร่วมสมัย พอยอมรับได้ แต่ถ้าจะส่ง T60 มาประกอบขายในเมืองไทย ภายใต้แบรนด์ MG ก็ยังต้องปรับปรุงงานออกแบบกระจังหน้า ให้มีบุคลิกของ MG เจือปนมากกว่านี้ ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องปรับปรุงช่วงล่าง ให้ดีกว่านี้ สามารถควบคุมรถได้อย่างมีเสถียรภาพบนเส้นทางขรุขระ แต่ต้องใช้ความเร็วต่อเนื่องให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ ช็อกอัพทั้ง 4 ต้น และสปริงคู่หน้า ที่ดีๆ สักชุด น่าจะพอลดปัญหาที่ผมพบเจอลงไปได้บ้าง

เหนือสิ่งอื่นใดคือ กำหนดเปิดตัว ถ้า MG ยังยืนกรานว่าจะเปิดตัว T60 ในบ้านเรา ปลายปีนี้ บอกเลยว่า เหนื่อยสาหัสแน่ เพราะ Isuzu ก็จะต้องทำคลอด All New D-Max ปลายปี 2019 เช่นเดียวกัน แถมปีหน้า ยังมี พาเหรดรถกระบะรุ่นเปลี่ยนโฉม Full Model change และรุ่นปรับโฉม Minorchange จากแทบทุกค่าย ทะยอยตามออกมาเปิดศึกรับน้อง กันเพียบ ดังนั้น ถ้าสามารถเลื่อนการเปิดตัวออกไปเป็นช่วง ปลายปี 2020 เพื่อเอาเวลา 1 ปีครึ่งนับจากนี้ ไปปรับปรุง แก้ไขระบบกันสะเทือน และการบังคับควบคุมรถ ให้ดีขึ้นกว่านี้ เชื่อแน่ว่า ตัวรถจะสมบูรณ์พอที่จะมีจุดขายเด็ดด้านการขับขี่ พอให้งัดข้อกับชาวบ้านชาวช่องเขาได้

ไม่เพียงเท่านั้น อย่าเพิ่งเอาตัว MG เองไปทาบรัศมี Isuzu เด็ดขาด เพราะ สิ่งที่ทำให้ Isuzu ครองความเป็นเจ้าตลาดรถกระบะในเมืองไทยได้นั้น มันเกิดมาจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้า และดีลเลอร์ รวมทั้ง สำนักงานใหญ่ ที่ผูกพันกันมา ค้าขาวกันยาวนาน หลายสิบปี มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ MG จะเจาะทะลุกำแพงในใจลูกค้า ในวันที่งานบริการหลังการขายของ MG ยังมีภาพลักษณ์ไม่ค่อยดี จัดอยู่ในกลุ่มท้ายๆของบรรดาแบรนด์รถยนต์ในเมืองไทยแบบนี้ ดังนั้น ถ้าแก้ปัญหาและใส่ใจกับบริการหลังการขายให้ลูกค้าประทับใจอย่างต่อเนื่อง ติดกันหลายๆปี น่าจะพอช่วยให้ MG สามารถลงหลักปักฐานในตลาดรถกระบะบ้านเรา ได้ตามต้องการแน่ๆ

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

MAXUS D90

D90 เป็น รถยนต์นั่งตรวจการในกลุ่ม Mid-Size Body-on-Frame SUV (ตลาดโลก เขาเรียกกันแบบนี้ มีแต่บ้านเรานี่แหละ ที่ยังคงเรียกตามการนิยามของหน่วยงานภาครัฐของไทยว่า PPV (Pick-Up based Passenger Vehicle) ที่มีพื้นฐานมาจากกระบะรุ่น Maxus T60 (ที่มีแผนมาทำตลาดในไทย ในฐานะรถกระบะจากค่าย MG) ทั้งยังมีการเปลี่ยนช่วงล่างหลังไปใช้แบบอิสระ คอยล์สปริง พร้อมกับเปลี่ยนงานออกแบบทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้มีรายงานด้วยว่างานวิศวกรรมหลายอย่างของ D90 รุ่นนี้ อาจจะถูกนำไปใช้กับ Roewe และ MG รุ่นอื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย

ความน่าสนใจของ D90 อยู่ที่แนวทางในการพัฒนา เพราะนี่คือรถยนต์ Maxus รุ่นแรกที่ถูกเปลี่ยนมาใช้วิธีการพัฒนารถยนต์แบบ Customer to Business (C2B) โดยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในแทบทุกกระบวนการพัฒนา และนำความต้องการของลูกค้ามาประกอบการพิจารณา อย่างเต็มที่

SAIC Maxus ลงทุนสร้าง Online Platform หรือ Website http://c2b.saicmaxus.com เพื่อสำรวจข้อมูลแบบ Digital Interactive เปิดโอกาสให้ผู้บริโภค สามารถกำหนด, ออกแบบและทดสอบรถยนต์ได้ Platform สำรวจข้อมูล Interactive ของ Maxus นี้ มีจำนวนผู้ใช้มากถึง 6 แสนราย ซึ่งมีส่วนช่วยในกระบวนการผลิต, การพัฒนา, การตรวจสอบ, ราคา, การตั้งค่าและรวมถึงการปรับปรุงตัวรถในอนาคตด้วย ผลลัพธ์ก็คือ D90 กลายเป็น รถยนต์แบบแรกในประวัติศาสตร์โลก ที่ผู้ผลิต เปิดโอกาสให้ผู้บริโภค เข้ามามีส่วนร่วม กำหนดแนวทางการพัฒนารถยนต์ด้วยตนเอง

ในขั้นตอนการกำหนดรายละเอียด Maxus พุ่งเป้าไปที่ 18 หัวข้อสำคัญ การสำรวจความคิดเห็น แบบ Offline (นอก Internet) จากผู้บริโภค 1,000 ราย รวมทั้งการสำรวจจากเว็บไซต์ อีก 31,125 ราย ทำให้พวกเขาได้ข้อแนะนำมากถึง 30,000 ความคิดเห็น พอมาถึงขั้นตอนการพัฒนา Maxus ก็เริ่มเปิดเผยรายละเอียดของอุปกรณ์ และงานออกแบบทั้ง 60 กว่ารายการ ผ่านทางรถยนต์ต้นแบบ Maxus D60 Concept ที่เผยโฉมครั้งแรกในงาน Bejing Auto Show เมื่อ 25 เมษายน 2016 ก่อน

ต่อมา Maxus ได้คัดเลือกลูกค้าบางส่วนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น ให้ได้มาทดลองขับรถยนต์ต้นแบบ (Prototype) ซึ่งถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติจีนรายแรกที่กล้าทำเช่นนี้ ทั้งในกิจกรรมที่จัดขึ้นนะเมือง Golmud ของมณฑล Qinghai และเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ร่วมทดสอบ และร่วมออกความคิดเห็นในการปรับจูนสมรถนะของรถ ทั้งในด้าน Aerodynamic ช่วงล่าง และการบังคับคบคุมรถ

หลังจากนั้น Maxus จึงเริ่มเชิญลูกค้ากลุ่มใหม่ เข้าร่วมทดสอบภาคสนามในสถานที่ต่างๆทั่วโลก ทั้งด้านระบบขับเคลื่อน ระบบกลไก และความทนทานของอุปกรณ์ต่างๆ โดยตัวรถจะถูกปรับแต่งจากเสียงของลูกค้ากันสดๆ เลยทีเดียว และด้วยการทำงานแบบ C2B ทำให้ผู้บริโภค เกิดความไว้ใจ ส่งผลให้ Maxus ได้รับยอดสั่งจอง D90 ใหม่ ก่อนการเปิดตัว มากถึง 5,000 คันเลยทีเดียว!

หลังจากเผยโฉมเวอร์ชันต้นแบบมาได้ 1 ปี SAIC Maxus ก็เปิดตัว D90 เวอร์ชันจำหน่ายจริงครั้งแรก กลางงาน Shanghai Auto Show เมื่อ 19 เมษายน 2017  แม้จะเปิดตัวแล้ว แต่ก็ต้องรอกันสักพักหนึ่ง กว่าที่ D90 จะพร้อมส่งขึ้นโชว์รูมในวันที่ 8 สิงหาคม 2017 โดยใช้สโลแกน Full Size Intelligent Customized SUV มีให้เลือก 8 รุ่นย่อย ตามระดับการตกแต่ง ทั้ง Mars (Basic) , Mars , Mercury ,Uranus, Neptune, Sirius, Polaris และ Full ตั้งราคาขายในจีนไว้ตั้งแต่ 156,700 – 263,800 หยวน คิดเป็นเงินไทย จะอยู่ที่ 780,000 – 1,311,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน = 5 บาท ราคานี้ ไม่รวมภาษีศุลกากร สรรพสามิต ค่าใช้จ่ายในกานำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย)

Maxus D90 มีขนาดตัวถัง ยาว 5,005 มิลลิเมตร กว้าง 1,932 มิลลิเมตร สูง 1,875 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,950 มิลลิเมตร ถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดกลุ่ม SUV ที่สร้างขึ้นบน Fram Chassis ของรถกระบะ หรือที่บ้านเราเรียกว่า PPV แล้ว D90 จะมีขนาดตัวถังใหญ่โตกว่าชาวบ้านเขา ทุกรุ่น ในทุกมิติ ถังน้ำมัน ขนาด 75 ลิตร

รูปลักษณ์ภายนอก เป็นผลงานการออกแบบของทีมงานซึ่งนำโดย Samuel Chuffart , Design Director ชาวฝรั่งเศส ลู่ลมด้วยค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ Cd.0.35 มีกระจังหน้าขนาดใหญ่ ช่องระบายอากาศเล็กๆบริเวณด้านหลังของโป่งซุ้มล้อคู่หน้า รวมทั้ง แนวเส้นขอบหลังคาสีดำ ที่ลากยาวจรดกระจกบังลมหลัง รวมทั้งเส้นโครเมียมโค้งเป็นรูปตัว L บริเวณเสาหลังคาคู่หลัง D-Pillar เป็นจุดเด่นสำคัญในงานออกแบบตัวถังของ D90

การเข้าออกจากห้องโดยสาร ทำได้ดีทั้งด้านหน้าและหลัง ห้องเก็บของด้านหลัง เปิดเข้าถึงได้ด้วยฝาท้ายเปิด – ปิดด้วยสวิตช์ไฟฟ้า ยกขึ้น – ปิดลงได้โดยอัตโนมัติ (Hands Free Access Power Tail Gate) พื้นที่ห้องเก็บสัมภาระด้านหลัง มีความจุ 350 ลิตร แต่ถ้าพับเบาะแถวกางและแถวหลังลงทั้งหมด จะเพิ่มความจุได้เป็น 2,390 ลิตร

ภายในห้องโดยสาร มีให้เลือก 5 สี คือ ดำสนิท ดำคาดแดง ดำคาดน้ำเงิน เบจ และส้ม แถมยังเลือกสั่งหุ้มเบาะด้วยหนังสังเคราะห์ หนังแท้ หรือหนังแท้ตัดสลับกับหนังกลับสังเคราะห์ Alcantara ได้อีกด้วย!

เบาะนั่งคู่หน้า ดูไฮโซโก้หรูจนลืมไปเลยว่า นั่งอยู่ในรถยนต์ที่ผลิตจากจีน มันเหมือนอยู่ใน SUV จากยุโรป มากกว่า ตัวเบาะคู่หน้า ปรับระดับด้วยสวิตช์ไฟฟ้า ได้ 4 ทิศทาง แต่เฉพาะฝั่งคนขับ เพิ่มตัวปรับดันหลังขึ้น-ลงและดันมาก-น้อย อีก 4 ทิศทาง รวมเป็น 8 ทิศทาง พร้อมระบบ Heater อุ่นเบาะ และระบบนวดแผ่นหลัง แบบ BMW และ Lexus!! และระบบจำตำแหน่งเบาะคนขับ กับกระจกมองข้างปรับและพับไฟฟ้า (Memory Seat & Side Windows) มาให้อีก 2 ตำแหน่ง แถมยังมี พนักพิงหลัง ท่อนบนนุ่ม โอบไหล่ดี พอจะมีความนุ่มอยู่นิดๆ แต่ท่อนล่าง ดันหลัง ค่อนข้างแข็งไปหน่อย พนักศีรษะ ดันกบาลนิดเดียว พอยอมรับได้ แต่ เบาะรองนั่ง ถึงจะมีความยาวเหมาะสมก็จริง ทว่า ให้สัมผัสที่ค่อนข้างแข็งพอสมควรเลยละ

เบาะแถว 2 มีให้เลือก ทั้งแบบ ม้านั่งตามปกติ และเบาะแบบ Captain Seat ซึ่งติดตั้งอยู่ในรถรุ่นที่ผมได้ลองขับ ทีเด็ดอยู่ที่ การติดตั้ง Heater อุ่นเบาะมาให้อีกต่างหาก! ตัวเบาะมาในสไตล์ แน่นแอบนุ่ม แต่นั่งสบาย แถมยังดันหลังนิดๆ ด้วยอีกต่างหาก.พนักศีรษะ มีปีกข้างแบบ Micky Mouse ก็จริง แต่แอบแข็ง ไม่ถึงกับสบายศีรษะมากนัก ส่วนเบาะรองนั่งมีความยาวกำลังเหมาะแต่แข็ง พื้นที่วางขา (LegRoom) เหลือให้นั่งไขว่ห้างได้ ขณะเดียวกัน พื้นที่เหนือศีรษะ (Headroom) เหลือประมาณ 4 นิ้วมือในแนวนอน พนักวางแขน สามารถวางท่อนแขนได้พอดีจนถึงข้อศอกทั้งสองฝั่ง

เบาะนั่งทุกตำแหน่ง สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการพับและใช้งานเบาะได้ 8 ลักษณะ ทั้งแบบ 2+3+2 , 2+3+3 , 2+3 , 2+2, 2+2+2 , 2+2+3 , 1+2 และ 1+2+2

แผงหน้าปัด สวยงาม อาจชวนให้เข้าใจผิดได้ว่า ทีมออกแบบรับแรงบันดาลใจจาก BMW รุ่นใหม่ๆ มากพอสมควร แต่ความจริงแล้ว Maxus เขาเปิดตัว D90 ก่อน BMW พวกนั้นหลายรุ่น ดังนั้น ประเด็นนี้ จึงน่าจะเป็นเรื่องความบังเอิญ ของ Trend ในการออกแบบมากกว่า  วัสดุบุนุ่มมีมาให้บนแผงหน้าปัดและแผงประตูด้านข้างตามสมควร สวยงาม พอให้ประหลาดใจ ด้านบน มีกระจกมองหลังตัดแสดงอัตโนมัติในยามค่ำคืนมาให้

พวงมาลัยเป็นแบบ พวงมาลัย 3 ก้าน หุ้มหนัง ปรับระดับสูง – ต่ำ และระยะใกล้ – ห่าง (Telescopic) ได้ ครบ 4 ทิศทาง พร้อมสวิตช์ Multi-Function ควบคุมชุดเครื่องเสียง และระบบล็อกความเร็วคงที่อัตโนมัติ แปรผันตามความเร็วรถคันข้างหน้า Adaptive Redar Cruise Control ส่วนเครื่องปรับอากาศ เป็นแบบ อัตโนมัติ แยกฝั่ง 3 Zone (คู่หน้า และ ด้านหลัง)

ด้านความบันเทิง ชุดเครื่องเสียง เป็นวิทยุ AM/FM Hi-Fi 12 ลำโพง พร้อมระบบตัดเสียงรบกวนภายนอก ANC (Active Noise Cancellation) ควบคุมการทำงานผ่านจอ Monitor สี Touch Screen ขนาด 12.3 นิ้ว ติดตั้งไว้ เหนือช่องแอร์คู่กลาง ลักษณะคล้ายกับ BMW 3-Series F30 อยู่ไม่น้อย เชื่อมต่อกับระบบสื่อสาร Bluetooth และกล้องมองภาพ 360 องศา ทำงานร่วมกับ Redar บนเปลือกกันชนหลัง และด้านหน้า สำหรับช่วยขณะถอยเข้าจอด มีหลังคา Panoramic Glass Roof ขนาดใหญ่ ครอบคลุมผู้โดยสารด้านหน้าและแถวกลาง แถมยังมีไฟ Interior Atmosphere Lamp ปรับเปลี่ยนบรรยากาศภายในห้องโดยสาร ได้มากถึง 64 เฉดสี!

ด้านความปลอดภัย นอกจากเข็มขัดนิรภัยแบบ ELR 3 จุด ทุกที่นั่ง (เฉพาะคู่หน้า เป็นแบบปรับระดับสูง – ต่ำได้) และถุงลมนิรภัย คู่น้า ด้านข้าง พร้อมม่านลมนิรภัย รวม 6 ใบ จนทำให้ผ่านมาตรฐานทดสอบการชนของ Australia ANCAP และ ของรัฐบาลจีน CNCAP ในระดับ 5 ดาว เท่ากันทั้ง 2 หน่วยงาน แล้ว ยังมีสารพัดอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย อัดแน่นมากที่สุดในบรรดา Maxus ทุกรุ่น หลายระบบ ยกชุดมาจาก Roewe / MG RX8 SUV

SAIC Maxus เรียกระบบเหล่านี้ว่า ADAS (Advanced Driver Assistance System) ประกอบไปด้วย ระบบ เตือนยานพาหนะที่แล่นมาด้านข้างขณะเปลี่ยนเลน LDW (Lane Departure Warning) ทำงานร่วมกับระบบดึงพวงมาลัยกลับเข้าเลนถนนอัตโนมัติ LKA (Lane Keeping Assist System) , ระบบควบคุมความเร็วคงที่ แปรผันตามระยะห่างรถคันข้างหน้าอัตโนมัติ Active Cruise Control , ระบบ Active Electronic Braking , ระบบเบรกเองอัตโนมัติเมื่อมีวัตถุตัดหน้า Forward Collision Warning รวมทั้งระบบตรวจจับคนเดินถนน PDS (Pedestrian Detection System) ทำงานร่วมกับ กล้อง 8 ตัว รอบคัน 360 องศา พร้อมเซ็นเซอร์ รอบคัน (Surround View Monitoring) ใบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ พร้อม Rain Sensor ระบบแจ้งเตือนความดันลมยาง บนหน้าปัด TPMS (Tyre Pressures Monitoring System) ระบบแจ้งเตือนป้ายจราจร TSR (Traffic Sign Recognition System) แบบเดียวกับรถยุโรปหลายแบรนด์ ระบบช่วยถอยเข้าจอดอัตโนมัติ APA (Automatic Parking System) ฯลฯ อีกมากมาย!

Maxus D90 เวอร์ชันจีน Australia และ New Zealand จะมีให้เลือกเฉพาะ เครื่องยนต์ เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,995 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 88 x 82 มิลลิเมตร กำลังอัด 10.0 : 1  พ่วง Turbocharger (TGI) กำลังสูงสุด 165 กิโลวัตต์ หรือ 224 แรงม้า (PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 360 นิวตันเมตร (36.70 กก-ม.) ที่รอบเครื่องยนต์ตั้งแต่ 2,500 – 3,500 รอบ/นาที

ส่งกำลังลงพื้น ได้ทั้งเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และเกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ พร้อมระบบ Intelligent Start-Stop ลงสู่ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง หรือระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ Part-Time 4WD ซึ่งมีโปรแกรมให้เลือกได้ทั้งแบบ Real-Time Intelligent 4WD ตัวรถจะปรับเปลี่ยนการกระจายแรงบิดไปยังล้อทั้ง 4 ตามสภาพพื้นถนน โดยยืนพื้นไว้ที่ระบบขับเคลื่อล้อหลังเป็นหลัก และแบบ Professional Part-Time 4WD แบบปกติสามารถเลือกล็อกระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เอาไว้ได้ตามต้องการ สำหรับใช้งานบนพื้นลื่น ทางฝุ่น หรือทางวิบาก โดยมีโปรแกรมการขับขี่ให้เลือกมากถึง 7 แบบ ได้แก่…

  • Auto ให้ตัวรถคิดและตัดสินใจเอาเอง
  • Eco Mode เน้นการขับขี่ประหยัดน้ำมัน
  • Snow Mode สำหรับการขับขี่บนทางหิมะ
  • Sand Mode สำหรับพื้นทราย ทั้งแบบตื่นเขิน หรือทะเลทราย
  • Mud Mode ลุยโคลนเป็นหลัก
  • Rock Mode ปีนป่ายไปตามโขดหิน
  • Sport Mode เน้นการขับขี่บนพื้นผิวปกติ ด้วยความเร็วสูง

ทกรุ่น ใช้พวงมาลัยแร็คแอนด์พีเนียน ผ่อนแรงด้วยเพาเวอร์ไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Dual Helix MacPherson Strut ด้านหลังแบบ 5 Link Coil Spring พร้อมเหล็กกันโคลง ระบบห้ามล้อ เป็น ดิสก์เบรกแบบมีครีบระบายความร้อน ทั้ง 4 ล้อ พร้อมระบบเบรกมือ (เบรกจอด) แบบสวิตช์ไฟฟ้า EPB (Electronic Parking Brake) พ่วงระบบค้างเบรกมืออัตโนมัติ ตอนติดไฟแดง และปลดเบรกมือออกเองเมื่อเหยียบคันเร่งออกรถ Auto-Hold เสริมด้วย ตัวช่วยมาตรฐาน ทั้ง ระบบ ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกระทันหัน ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรกตามน้ำหนักบรรทุก EBD (Electronic Brakeforce Distribution) ระบบ เพิ่มแรงเบรกในภาวะฉุกเฉิน Brake Assist ระบบออกตัวบนทางลาดชัน HSA (Hill Start Assist) ระบบคลานลงมาตามทางลาดชัน HDC (Hill Descent Control) ระบบควบคุมเสถียรภาพ ESP (Electronic Stability Programme) พร้อม Traction Control

ล้ออัลลอย มีขนาด 7.5Jx18 นิ้ว สวมยางขนาด 255/6oR18 ส่วนล้ออะไหล่ มีขนาดเล็กลง คือ 7Jx17 นิ้ว สวมยางขนาด 245/65R17

ตัวเลขจากโรงงาน ทำอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เฉลี่ย 9.8 ลิตร / 100 กิโลเมตร (ในจีน) และ 10.2 – 10.9 ลิตร/ 100 กิโลเมตร (Australia & New Zealand) ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 238 และ 255 กรัม/กิโลเมตร ตามระบบขับเคลื่อน

รายละเอียดตัวรถเพิ่มเติม คลิกอ่านได้ที่นี่ Click Here!

สำหรับ D90 แล้ว ผมไม่มีโอกาสจับเวลา ขณะนั่ง 2 คนเลย ดังนั้น จึงขอนำตัวเลขจากการจับเวา โดยมีผม Instructor ชาวจีน และผู้โดยสารอีก 1 คน ร่วมนั่งอยู่บนเบาะหลังไปด้วย ตัวเลขอัตราเร่ง มีดังนี้

นั่ง 3 คน
0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ 12.99 วินาที
80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ 8.37 วินาที

แม้ว่าตัวเลขจะออกมาใกล้เคียงกับ รถระบะ T60 แต่ในความเป็นจริงแล้ว จังหวะออกตัว สัมผัสได้ถึงแรงดึงที่ชัดเจนกว่า T60 มาก การตอบสนองในช่วงกลาง อยู่ในเกณฑ์ดีกว่าที่คิดไว้ นิดหน่อย เมื่อเทียบกับน้ำหนักบรรทุกขนาดเท่ากับคน 4 คนแบบนี้อาจมีอาการ Lag จากอาการ รอรอบบ้างนิดๆ ในช่วงออกตัว และในช่วงกดคันเร่งเต็มตีนเพื่อเร่งแซง แต่ภาพรวม ถือว่า อัตราเร่งอยู่ในเกณฑ์ดีจนยอมรับได้

การตอบสนองของพวงมาลัยในช่วงความเร็วต่ำ เบาโหวง ในแบบที่ลูกค้าชาวจีนชอบ มันเบาพอๆกับ Nissan Sylphy รุ่นปัจจุบัน พอมีแรงขืนที่มือนิดเดียวจริงๆ น้อยมากๆ ซึ่งผมมองว่า มันเบาไปหน่อยสำหรับคนไทย พอในช่วงความเร็วเดินทาง พวงมาลัยก็หนืดขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น On-Center feeling ใช้ได้ ดังนั้น สิ่งที่ควรปรับปรุง หากจะต้องนำเข้ามาประกอบขายในเมืองไทยก็คือ น้ำหนักพวงมาลัยควรหนืดเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกพอสมควรเลยทีเดียว เพราะลกค้าชาวไทย ต้องการความมั่นใจในการบังคับควบคุม ไม่แพ้ความสบายในการขับขี่ในเมือง

ช่วงล่าง ในภาพรวม หากขับขี่บนพื้นเรียบ ถือว่าให้ความสบายได้ดี ไม่แพ้บรรดา SUV/PPV ที่จำหน่ายกันอยู่ในบ้านเรา เพียงแต่ว่า เน้นความนุ่มนวลมากขึ้นอีกนิดหน่อย กระนั้น หากเจอพื้นผิวขรุขระต่อเนื่องติดๆกันแล้ว พบว่ายังให้สัมผัสที่เหมือน T60 คือเด้งหน่อยๆ แต่แอบซับแรงสะเทือนมาให้ไม่มากพอ แถมยังมีอาการหน้าดิ้นและเด้งสะเทือนพอกัน จุดนี้ยังต้องปรับปรุงเพิ่มเติม

แป้นเบรก และการตอบสนองของเบรก มาในสไตล์เดียวกับ Roewe RX8 / MG RX8 ไม่มีผิด คือระยะเหยียบ ยาว แต่น้ำหนักช่วง 50% หรือช่วงครึ่งแรกที่เหยียบลงไปนั้นเบาโหวง ต้องเหยียบให้ลึกลงไปอีกนิด จึงจะสัมผัสแรงต้านจากแป้นเบรกขึ้นมา แม้ว่าการหยุดรถจะทำได้โดยนุ่มนวล และปลอดภัย แต่ควรปรับรุงการตอบสนองของแป้นเบรก ให้ Linear และมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีกพอสมควร เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ขับขี่มากกว่านี้

เมื่อมองในภาพรวม หลังสัมผัสรถคันจริง Maxus D90 ถือเป็น SUV / PPV ที่น่าจับตามองมากกว่าที่ผมเคยคิดไว้ จากความโดดเด่นเรื่องการออกแบบ ทั้งภายในและภายนอก อันเป็นผลจากการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้า ตีคู่ไปในแทบทุกขั้นตอนการพัฒนา ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่มาก ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก อย่างไรก็ตาม หากจะนำมาจำหน่ายในเมืองไทย อาจยังต้องปรับปรุงเรื่องการตอบสนองของ พวงมาลัย ช่วงล่าง และเบรก ให้โดนใจลูกค้าชาวไทยมากกว่านี้ ให้ใกล้เคียงกับบุคลิกของ SUV ฝั่งยุโรป มากกว่านี้ เชื่อแน่ว่า หากนำเข้ามาผลิตขาย ในราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาท น่าจะกวาดลูกค้าไปได้พอสมควรเลยทีเดียว

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

MAXUS G50

G50 เป็นรถตู้ MPV (Multi Purpose Vehicle) หรือ Minivan 7 ที่นั่ง ขนาดกลาง พิกัดเดียวกับ Honda StepWGN , Nissan Serena และ ฝาแฝด 3 ใบเถา อย่าง Toyota Noah / Voxy / Esquire ซึ่งถูกพัฒนาขึ้น ตามแนวทาง C2B เช่นเดียวกับ Maxus D90 โดยให้กลุ่มลูกค้า และผู้บริโภค เข้ามาใช้ Website เพื่อมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ในเรื่องงานออกแบบ โทนสี ไปจนถึงการทำราคาจำหน่าย ฯลฯ

SAIC – Maxus เผยโฉม G50 เวอร์ชันต้นแบบ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2018 ก่อนจะจัดงานแถลงข่าวเปิดตัว G50 อย่างมโหฬาร เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมา สดๆร้อนๆ ติดป้ายราคา ตั้งแต่ 86,800 – 156,800 หยวน คิดเป็นเงินไทย ไม่รวมภาษีนำเข้า ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม ฯลฯ ของไทย อยู่ที่ 434,000 – 784,000 บาท เวอร์ชันจีน มีให้เลือกมากถึง 11 รุ่นย่อย ติดป้ายราคาตั้งแต่ 83,800 – 249,800 หยวน หรือ 419,000 – 1,249,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน = 5 บาท ราคานี้ ไม่รวมภาษีศุลกากร สรรพสามิต ค่าใช้จ่ายในกานำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย)

G50 มีขนาดตัวถังยาว 4,825 มิลลิเมตร กว้าง 1,825 มิลลิเมตร สูง 1,778 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,800 มิลลิเมตร ถังน้ำมันขนาด 50 ลิตร

ระบบกุญแจ เป็นรีโมทคอนโทรล แบบ Keyless Entry พร้อมระบบกันขโมย Immobilizer ติด และดับ เครื่องยนต์ ด้วยปุ่ม Push Start ส่วนการเข้า – ออกจาก ภายในห้องโดยสาร ทั้งจากบานประตูคู่หน้า และคู่หลัง ทำได้สบาย ไม่แตกต่างไปจาก Minivan ขนาดกลาง ฝั่งญี่ปุ่นเลย อย่างไรก็ตาม น่าเสียดายว่า G50 ยังไม่ได้ติดตั้งประตูบานเลื่อนไฟฟ้า ซึ่งกลายเป็น Option ใหม่ ที่ลูกค้าในญี่ปุ่น หรือในหลายๆประเทศ เริ่มพากันมองหา

ภายในห้องโดยสาร ตกแต่งเบาะนั่งทุกตำแหน่ง ด้วยหนังแท้ตัดสลับกับหนังสังเคราะห์ มีโทนสีให้เลือก ทั้งน้ำเงินเข้ม และ ดำตัดสลับกับแดง เบาะนั่งคู่หน้า เฉพาะฝั่งคนขับ ที่ปรับตำแหน่งด้วยสวิตช์ไฟฟ้า ได้ 6 ทิศทาง พนักพิงหลัง ให้สัมผัสที่ชวนให้นึกถึง SUV จากเกาหลีใต้ ในช่วง ไม่กี่ปีที่ผ่านมา ให้ความแน่นนุ่มพอเหมาะ ปีกข้างช่วยรองรับสรีระด้านข้างของผู้ขับขี่ได้ประมาณหนึ่ง พนักศีรษะ ดันกบาลนิดหน่อย พอยอมรับได้ ส่วนเบาะรองนั่ง ถูกเสริมความยาวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย รวมทั้งมีมุมเงยขึ้นอีกนิดนึง เพื่อรองรับช่วงต้นขาอย่างเหมาะสม

ส่วนเบาะแถวกลาง แน่น แอบนุ่มนิดๆ ตรงกลางพนักพิงแน่นกว่าท่อนบน พนักศีรษะแน่นหนามาก แอบนุ่ม แบบพนักศีรษะ​ของ Volvo และติดตั้งเยื้องทางด้านหลังนิดหน่อย จึงไม่ค่อยมีปัญหาดันกบาล เบาะรองนั่ง มีความยาวเหมาะสม ไม่แตกต่างไปจากรถตู้ Minivan ฝั่งญี่ปุ่น มากนัก

แผงหน้าปัด ออกแบบได้สวยงามก็จริง แต่ดูเหมือนจะได้แรงบันดาลใจในการแบ่งโซน จากแผงหน้าปัดของ BMW 3-Series F30 ผสมผสานกับลักษณะช่องแอร์ ที่คล้ายคลึงกับ MG HS อยู่ไม่น้อย มีพื้นที่บุนุ่ม พอให้สัมผัสได้ถึงความใส่ใจในด้าน Perceived Quality (คุณภาพพื้นผิววัสดุ และการประกอบ จากประสาทสัมผัสในการรับรู้ของมนุษย์) พวงมาลัยเป็นแบบ 3 ก้าน หุ้มหนัง พร้อมสวิตช์ Multi-Function ควบคุมชุดเครื่องเสียง และหน้าจอต่างๆ บนก้านพวงมาลัย รวมทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่อัตโนมัติ Cruise Control ส่วนชุดมาตรวัด แยกฝั่งซ้าย – ขวา โดยให้เข็มความเร็วอยู่ทางฝั่งซ้าย ส่วนเข็มวัดรอบเครื่องยนต์ อยู่ทางฝั่งขวา แต่หมุนขึ้นในทางตรงกันข้าม พร้อมจอแสดงข้อมูลตัวรถ และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง Multi-Informatio Display ขนาด 7 นิ้ว

อุปกรณ์มาตรฐานที่น่าสนใจของ G50 มีทั้ง หน้าจอ Minitor สี Touch Screen ขนาด 12.3 นิ้ว ติดตั้งไว้ เหนือช่องแอร์คู่กลาง ลักษณะคล้ายกับ 3-Series F30 อยู่ไม่น้อย เชื่อมต่อกับระบบสื่อสาร Bluetooth และกล้องมองภาพ 360 องศา ทำงานร่วมกับ Redar บนเปลือกกันชนหลัง และด้านหน้า สำหรับช่วยขณะถอยเข้าจอด พร้อมลำโพง 6 ชิ้น มีแท่นชาร์จโทรศัพท์มือถือแบบไร้สาย Wireless Charging เครื่องปรับอากาศแบบแยกฝั่งซ้าย – ขวา สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า รวมทั้งมีเครื่องปรับอากาศ แยกชุดสำหรับผู้โดยสารด้านหลังทั้งหมด และหลังคากระจก Panoramic Glass SunRoof

นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย เสริมเข้ามาให้ ทั้ง ถุงลมนิรภัย คู่หน้า ด้านข้าง และม่านลมนิรภัย รวม 6 ใบ เข็มขัดนิรภัยแบบ ELR 3 จุด ทุกตำแหน่ง  คู่หน้า ปรับระดัสูง – ต่ำ ได้ มีจุดยึดเบาะนิรภัยสำหรับเด็ก มาตรฐาน ISOFIX มาให้ทั้งบนเบาะแถว / และ แถว 3 !! กระจกมองข้างปรับและพับด้วยสวิตช์ไฟฟ้า พร้อม Heater ไล่ฝ้าในตัว

Maxus G50 มีเครื่องยนต์ให้เลือก 2 แบบ คือ เบนซิน Turbo และ Hybrid รวม 3 ทางเลือกระดับความแรง ดังนี้

– รุ่น 1.3 T วางเครื่องยนต์ เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1.3 ลิตร พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger 120 กิโลวัตต์ หรือ 163 แรงม้า (PS) ที่ 5,200 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร (23.43 กก.-ม.) ที่ รอบเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 1,800 – 4,400 รอบ/นาที (Flat Torque) ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ ตัวเลขจากโรงงาน ทำความเร็วสูงสุดได้ 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย 6.9 ลิตร/100 กิโลเมตร

– รุ่น 1.5 TGI วางเครื่องยนต์ เบนซิน 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1.5 ลิตร พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger (TGI) 124 กิโลวัตต์ หรือ 169 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร (25.47 กก.-ม.) ที่ รอบเครื่องยนต์ ตั้งแต่ 1,700 – 4,300 รอบ/นาที (Flat Torque) ขับเคลื่อนล้อหน้า ด้วยเกียร์อัตโนมัติ คลัตช์คู่ 7 จังหวะ DCT (Dual Clutch Transmission) ตัวเลขจากโรงงาน ทำความเร็วสูงสุดได้ 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย 6.9 ลิตร/100 กิโลเมตร

– ส่วนรุ่น eG50 จะถอดเครื่องยนต์สันดาป ยกออกไป แล้วเปลี่ยนมาใช้ ระบบขับเคลื่อนพลังไฟฟ้าล้วนๆ โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 85 กิโลวัตต์ หรือ 115.6 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร (25.47 กก.-ม.) เท่ากันกับรุ่น 1.5 Turbo เชื่อมการทำงานกับ แบ็ตเตอรี Lithion-ion ขนาด 52.5 kWh (กิโลวัตต์/ชั่วโมง) ชาร์จไฟเต็มแบ็ตฯ สามารถแล่นได้ 350 กิโลเมตร

ทุกรุ่น ติดตั้ง พวงมาลัย Rack & Pinion พร้อมเพาเวอร์ผ่อนแรงแบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Steering) ระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบ MacPherson Strut ด้านหลังเป็นแบบคานบิด Torsion Beam ซึ่งเป็นช่วงล่างมาตรฐานที่พบได้ในรถตู้ Minivan ทั่วไป ระบบห้ามล้อ เป็นดิสก์เบรก ทั้ง 4 ล้อ พร้อมระบบเบรกมือ (เบรกจอด) แบบสวิตช์ไฟฟ้า EPB (Electronic Parking Brake) พ่วงระบบค้างเบรกมืออัตโนมัติ ตอนติดไฟแดง และปลดเบรกมือออกเองเมื่อเหยียบคันเร่งออกรถ Auto-Hold

พร้อมกันนี้ยังติดตั้ง สารพัดตัวช่วยมาตรฐาน ได้แก่ระบบ ป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกระทันหัน ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรกตามน้ำหนักบรรทุก EBD (Electronic Brakeforce Distribution) ระบบ เพิ่มแรงเบรกในภาวะฉุกเฉิน Brake Assist ระบบออกตัวบนทางลาดชัน Hill Start Assist ระบบคลานลงมาตามทางลาดชัน Hill Descent Control ระบบควบคุมเสถียรภาพ ESC (Electronic Stability Control) พร้อม Traction Control

G50 รุ่นที่ทาง SAIC จัดมาให้เราทดลองขับกัน เป็นรุ่น 1.5 ลิตร Turbo กระนั้น น่าเสียดายว่า ผมมีโอกาสได้ลองขับเพียงระยะที่สั้นมากๆ นั่นคือ บนลาน Skid Pad และบนพื้นถนนแห้งด้านข้าง ผมจึงลองกดนาฬิกาจับเวลา ภายใต้ Condition ที่ว่า มีผู้ขับ (110 กิโลกรัม) ​พี่จิม PR ของ MG (42 กิโลกรัม)​ และ Mr.Lucas ซึ่งเป็น Instructor ประจำรถ (65 กิโลกรัม)​ บนพื้นถนนแห้ง อุณหภูมิ 27 องศาเซลเซียส Maxus G50 1.5 Turbo ทำตัวเลข 0-100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ได้ ในเวลา 12.26 วินาที…ถือว่าไม่เลวเลย เพราะอยู่ในเกณฑ์เดียวกับ Honda StepWGN Spada 4th Generation ที่เราเคยทำรีวิวมาก่อน รวมทั้ง รถตู้ไซส์ใหญ่กว่า อย่าง Toyota Alphard / Vellfire 3rd Generation (2015) รุ่นเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร CVT

การออกตัวในช่วงแรก กระฉับกระเฉง​ ไม่ค่อยมีอาการอมหน่วงก่อนออกตัว บุคลิกคล้ายเครื่องยนต์ ของ MG GS 1.5 Turbo อยู่เหมือนกัน การเก็บเสียงรบกวนจากภายนอก ทำได้ดีกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นช่วงจอดสงบนิ่ง ติดเครื่องยนต์เดินเบาทิ้งไว้ หรือใช้ความเร็วเพิ่มขึ้น ภายในระยะไม่เกิน 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง

พวงมาลัยมีน้ำหนักเบาออกแนวเกือบโหวง ในช่วงความเร็วต่ำ แต่ยังพอมีน้ำหนักอยู่ และยังพอให้การตอบสนองที่ต่อเนื่อง Linear พอใข้ได้ ส่วน การทรงตัว ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากรถตู้ 7 ที่นั่ง ขนาดกลาง จากญี่ปุ่น เท่าใดนัก คือ มีการทรงตัวที่ไว้ใจได้ เวลาที่ไม่มีกระแสลมมาปะทะด้านข้าง ส่วนการตอบสนองของระบบเบรกนั้น บนพื้นแห้ง ทำได้ดีมาก กระทืบลงไป ระยะหยุดไม่ได้ยาวอย่างที่คิด กระนั้น ถ้าเป็นการเบรกกระทันหันบนพื้นลื่น ที่ความเร็ว 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะเบรกจะยาวววววววมากกกกกกก จนเกินครึ่งหนึ่งของระยะหยุดที่มีบน Skid Pad ดังนั้น ขอแนะนำว่า บนพื้นถนนลื่น ในกรณีคับขัน ให้แตะเบรกแบบค่อยเป็นค่อยไป ลงนำหนักเท้าอย่างเหมาะสม และอาศัยการหักพวงมาลัยช่วยหลบสิ่งกีดขวางอาจได้ระยะหยุดที่สั้นกว่าการกระทืบลงไปจนจมมิดติดพื้นรถ

Maxus G50 เป็น Minivan 7 ที่นั่ง ที่ผมมองว่า มีสมรรถนะใกล้เคียงกับรถตู้พิกัดเดียวกัน จากญี่ปุ่น อย่าง Honda StepWGN , Nissan Serena และ ฝาแฝด 3 ใบเถา อย่าง Toyota Noah / Voxy / Esquire เข้าไปทุกที บอกเลยว่า น่าสนใจมากถ้าหาก SAIC – MG จะส่งรถคันนี้ เข้ามาเปิดตลาด ด้วยวิธีนำชิ้นส่วนมาประกอบและจำหน่ายในประเทศไทย หากตั้งราคาเอาไว้ ไม่เกิน 1.2 ล้านบาท เชื่อแน่ว่า ขายกันระเบิดระเบ้อ! มั่นใจได้เลยว่า ยอดขายขั้นต่ำ 400 – 500 คัน/เดือน ไม่หนีไปไหนแน่ๆ เพราะตลาดรถตู้ 7 ที่นั่ ราคา 1 – 1.5 ล้านบาท ในบ้านเรา ขาดผู้เล่นมาเป็นเวลานานแล้ว

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

MAXUS EV30

EV30 เป็นรถตู้ขนาดเล็ก เพื่อการพาณิชย์ ที่ขับเคลื่อนด้วย มอเตอร์ไฟฟ้า ไร้เครื่องยนต์สันดาป เพิ่งเปิดตัวออกสู่ตลาดเมืองจีน เมื่อ 14 มกราคม 2019 ที่ผ่านมานี่เอง นอกจากจะมีตัวถังแบบ รถตู้ทึบช่วงสั้น Short Wheelbase ให้เลือกแล้ว ยังมีรุ่น ตู้ทึบช่วงยาว Long Wheelbase ,ตัวถัง กระบะ, หัวเก่งตอนเดี่ยว สำหรับติดตั้งห้องเย็น ไปจนถึง รุ่นตู้โปร่ง ติดกระจกหน้าต่างรอบคัน ให้เลือกอีกด้วย ตั้งราคาขายในตลาดเมืองจีน มีตั้งแต่ 134,900 – 144,900 หยวน หรือ 674,500 – 724,500 บาท เวอร์ชันจีน มีให้เลือกมากถึง 11 รุ่นย่อย ติดป้ายราคาตั้งแต่ 83,800 – 249,800 หยวน หรือ 419,000 – 1,249,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 หยวน = 5 บาท ราคานี้ ไม่รวมภาษีศุลกากร สรรพสามิต ค่าใช้จ่ายในกานำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มของไทย)

EV30 มีขนาดตัวถัง ยาว 4,500 มิลลิเมตร กว้าง 1,780 มิลลิเมตร สูง 1,895 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,910 มิลลิเมตร ระยะห่างระหว่างพื้นถนนกับใต้ท้องรถ Ground Clearance 145 มิลลิเมตร ไต่ทางชันได้ สูงสุด 30% มีพื้นที่บรรทุกของด้านหลัง 5 หรือ 6.3 ตารางเมตร (1,706 ลิตร) น้ำหนักตัวเปล่า 1,375 – 1,585 กิโลกรัม ตามแต่ละรุ่นย่อย ระยะห่างจากพื้นถนน ถึงพื้นห้องเก็บของด้านหลัง 520 มิลลิเมตร ระยะห่างจาก พื้นถนน จนถึงฝาท้าย เมื่อปิดยกขึ้นสุด 1,830 มิลลิเมตร

เห็นเป็นรถตู้ส่งของแบบนี้ แต่บรรยากาศห้องโดยสารซึ่งนั่งได้เพียง 2 คน ก็สวยงาม ร่วมสมัยไม่แพ้ใครเขา ตกแต่งด้วยพลาสติก Recycle เกรดดี สีเทา ตัดสลับกับสีฟ้า พวงมาลัยปรับระดับสูง – ต่ำได้ คันเกียร์ เปลี่ยนสภาพเป็นสวิตช์มือหมุน ซึ่งให้สัมผัสตอนเปลี่ยนเกียร์ คล้ายกับสวิตช์ เตาอบ Microwave

เครื่องปรับอากาศ เป็นสวิตช์กดปุ่ม เลือกปรับทิศทางลม และไล่ฝ้า ได้ มีสวิตช์ A/C On-Off สวิตช์พัดลม เป็นแบบมือหมุน แสดงผลได้ทางหน้าจอ Monitor สี แบบ Touch Screen ขนาด 8 นิ้ว ซึ่งควบคุมวิทยุ AM/FM เชื่อมต่อกับช่องเสียบ USB และระบบ Bluetooth ล้อมกรอบด้วยแผง Trim พลาสติก สีดำ Piano Black มาให้ กระจกหน้าต่างเลื่อนขึ้น – ลงได้ด้วยไฟฟ้า พร้อมระบบ One-Touch กดหรือนกสวิตช์จนสุดครั้งเดียว เพื่อเลื่อนหน้าต่างขึ้น – ลง เฉพาะฝั่งคนขับ กระจกมองข้างปรับด้วยสวิตช์ไฟฟ้า พร้อมระบบ Central Lock ที่จะล็อกประตูให้เมื่อรถเคลื่อนที่แล่นออกไป แถมยังมีกุญแจแบบ Immobilizer มาให้อีกต่างหาก!

EV30 ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า กำลังสูงสุด 70 กิโลวัตต์ หรือ 95 แรงม้า (PS) แรงบิดสูงสุด 220 นิวตันเมตร (22.41 กก.-ม.) ส่วนแบ็ตเตอรี เป็นแบบ Lithium-ion มีให้เลือก 2 ขนาด คือ ความจุ 35 kWh สามารถแล่นได้ไกล 280 กิโลเมตร (200 กิโลเมตร ตามมาตรฐานการทดสอบ NEDC) และ ขนาด 52.5 kWh สามารถแล่นได้ไกลถึง 400 กิโลเมตร การชาร์จไฟแบบ Quick Charge ได้กระแสไฟ 80% ของความจุแบ็ตเตอรี ใช้เวลา 45 นาที แต่ถ้าเสียบปลั๊กชาร์จแบบปกติ ให้แบ็ตเตอรีเต็ม 100% จะใช้เวลา 80 นาที ตัวเลขจากโรงงาน อัตราเร่ง 0 – 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลา 5.3 วินาที….

พวงมาลัยเป็นแบบ Rack & Pinion พร้อมเพาเวอร์ผ่อนแรงแบบไฟฟ้า EPS (Electric Power Assisted Steering) ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ MacPherson Strut ด้านหลังเป็นแบบ แหนบ Leaf Spring ระบบห้ามล้อ ยังคงเป็นแบบ Hydraulic พร้อมหม้อลม Vacuum Boost ทำงานร่วมกับ ดิสก์เบรกแบบมีครีบระบายความร้อนทั้ง 4 ล้อ!! พร้อมระบบป้องกันล้อล็อกขณะเบรกกระทัน ABS (Anti-lock Braking System) ระบบกระจายแรงเบรกตามน้ำหนักบรรทุก EBD (Electronic Brakeforce Distribution) สวมล้อกระทะเหล็กขนาด 15 นิ้ว พร้อมยางขนาด 185/65R15

ด้านความปลอดภัย Maxus ชูจุดขายว่า ปลอดภัยที่สุดในกลุ่มตลาด รถตู้ขนาดเล็กเพื่อการพาณิชย์ ด้วยการติดตั้ง ถุงลมนิรภัยเฉพาะผู้ขับขี่ (และสั่งติดตั้งถุงลมนิรภัยสำหรับผู้โดยสารด้านหน้าได้ เป็น Option พิเศษ) กล้อมมองหลัง พร้อม เซ็นเซอร์กะระยะ ขณะถอยหลังเข้าจอด

เข็มขัดนิรภัย ELR 3 จุด พร้อมสัญญาณแจ้งเตือนลืมคาดเข็มขัด (แต่ปรับระดับสูง-ต่ำไม่ได้) ระบบตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ระบบตรวจเช็คแรงดันลมยาง TPMS (Tyre Pressure Monitoring System) ทั้งหมดนี้ ติดตั้งอยู่ในโครงสร้างตัวถังแบบ Aluminium Alloy โดยมีตัวถังภายนอกเป็น Plastic Composite แปะไว้รอบคัน ซึ่งช่วยลดน้ำหนักตัวลงไปได้ถึง 200 กิโลกรัม

คันที่เราทดลองขับกันนั้น เป็นรุ่น 35 kWh ช่วงสั้น (Short Wheelbase) เห็นตัวเลขข้างบนแล้ว สงสัยใช้ไหมครับว่าทำไม เขาถึงวัดอัตราเร่งแค่ 0 – 50 กิโลเมตร/ชั่วโมง…ยืนยันครับ ไม่ต้องถามหาอัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชียวละ เพราะกดคันเร่งจนสุดจมมิด ให้ตายยังไง เข็มความเร็วก็ไปหยุดสนิทนิ่งที่ 95 กิโลเมตร/ชั่วโมง อยู่ดี (ตัวเลขจากโรงงาน ระบุว่า Top Speed อยู่ที่ 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง) แต่ถ้าเป็นรุ่น 52.5 kWh จะทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 125 กิโลเมตร/ชั่วโมง

แม้จะเป็นรถตู้ส่งของ แต่สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจ ก็คือ การซับแรงสะเทือนของช่วงล่วง ในช่วงความเร็วต่ำ เอาละ แน่นอนว่า เมื่อเจอหลุมบ่อต่างๆ หรือพื้นถนนแบบหลังแอ่น ครั้นจะรูดไปเลย ก็เป็นเรื่องไม่ควรทำ เพราะการทรงตัวของรถตู้หลังคาสูง ย่อมไม่ได้ให้ความมั่นใจเท่ากับรถเก๋ง หรือรถกระบะอยู่แล้ว ทว่า เมื่อขับผ่านพื้นถนนปูน ที่มีร่องรอยการซ่อมแซมถนนแบบไม่เรียบร้อย กลับกลายเป็นว่า ช่วงล่าง ซับแรงสะเทือนได้ดีกว่ารถตู้ส่งของขนาดเล็กหลายคันที่ผมเคยขับมาเสียอีก อีกทั้งน้ำหนักแป้นเบรกเบาก็จริง แต่ก็ตอบสนองได้ต่อเนื่อง Linear ดีกว่าที่คาดไว้ สั่งเหยียบลงไปแค่ไหน รถก็ชะลอลงให้แค่นั้น

อย่างไรก็ตาม ข้อที่ควรปรับปรุงก็คือ พวงมาลัยเพาเวอร์ไฟฟ้า ยังตอบสนองได้ Robotic ทื่อๆ ไม่เป็นธรรมชาติ มาในสไตล์เดียวกับรถตู้ K-Car 660 ซีซี จากญี่ปุ่น อย่าง Honda Vamos หรือ รถเก๋ง B-Segment รุ่นเก่าๆในบ้านเรา ทั้ง Toyota Vios รุ่นที่ 2 (2007 – 2013) , Mitsubishi Mirage / Attrage , Nissan March / Almera รุ่นปัจจุบัน และ Suzuki Ciaz ซึ่งถ้าแก้ไขในจุดนี้ ให้พวงมาลัยแม่นยำกว่านี้สักหน่อย น่าจะกลายเป็นรถตู้เพื่อการพาณิชย์ขนาดเล็ก ที่สมบูรณ์แบบมากๆรุ่นหนึ่ง เท่าที่เคยมีการผลิตออกจำหน่ายมา

– – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – – –

********** สรุป (เบื้องต้น) **********
T60 – ถ้าจะมา ต้องปรับปรุงช่วงล่าง และ ความแข็งแกร่งของตัวถังอีกหน่อย
D90 – ควรมาไทย แต่ปรับแก้การตอบสนองของพวงมาลัย ช่วงล่าง และเบรกให้หนักแน่นขึ้นกว่านี้
G50 – ถ้ากล้ามาประกอบขายในไทย อนาคตไกล แน่นอน!
EV30 – ปรับปรุงพวงมาลัยให้ตอบสนองเป็นธรรมชาติกว่านี้ ก็เพียงพอแล้ว

การได้มีโอกาสทดลองขับ รถยนต์ Maxus ร่วมกับตระกูล MG ในครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ในการได้เข้ามาเรียนรู้จักแบรนด์รถยนต์อเนกประสงค์ท้องถิ่น อันดับ 1 จากผู้ผลิตหมายเลข 1 แดนมังกร พวกเขามีแนวคิดและความกล้าที่จะทำในสิ่งที่แตกต่างออกไปจากธรรมเนียมของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก

จริงอยูว่า รถยนต์ของพวกเขาในตอนนี้ แม้จะมีบางด้าน ยังต้องการเวลาในการปรับปรุงเพื่อให้ทัดเทียมกับคู่แข่งจากนานาอารยะประเทศกว่านี้ ไม่ว่าจะเป็น รถกระบะ T60 ซึ่งยังต้องการช่วงล่าง ที่นุ่มนวล แต่ซับแรงสะเทือนได้ดียิงกว่านี้ ขณะที่ D90 ก็ถูกเซ็ตมาเอาใจลูกค้าชาวจีนมากจนเกินไป พวงมาลัย กับแป้นเบรกถึงได้เบา และช่วงล่างถึงได้ยังหนีจาก T60 มาไม่พ้นนัก

กระนั้น รถตู้ G50 และรถตู้ส่งของไฟฟ้า EV30 ก็แสดงให้เห็นว่า เมื่อพวกเขาเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ พวกเขาก็สามารถสร้างรถยนต์ออกมาให้ดีงาม ทั้งคุณภาพการขับขี่ ละคุณภาพการผลิตได้ นั่นหมายความว่า ถ้าพวกเขาได้รับข้อมูลที่ถูกทาง น่าจะช่วยให้พวกเขาสร้างรถยนต์ออกมาโดนใจผู้บริโภค ภายใต้งบประมาณของทั้งบริษัท และของทั้งลูกค้า ได้ลงตัวแน่ๆ

สำหรับประเทศไทยแล้ว Maxus อาจเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในวันที่พวกเขา ยังมีเพียงแค่รถตู้รุ่น V80 ซึ่งดูเร็วไปหน่อย จึงยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และสุดท้าย ต้องเอารถตู้ V80 ไปเปลี่ยนตรา มาขายใหม่ เป็นรถตู้ MG V80 ที่เพิ่งเปิดตัวไป (อีกรอบในไทย) ในงาน ฺBangkok International Motor Show เมื่อเดือนมีนาคม 2019 ที่ผ่านมา

กระนั้น สิ่งที่ SAIC Maxus ทำอยู่ตอนนี้ เป็นเรื่องน่าจับตามองมากๆ พวกเขากำลังเสริมฐานรากของตนเองให้แข็งแกร่งพอ โดยเฉพาะ การเปลี่ยนวิธีการพัฒนารถยนต์จากแบบ B2C (Bussiness to Customers) มาเป็น วิธีการให้ลูกค้า เข้ามามีส่วนร่วมผ่านทางระบบ On-Line อย่าง C2B (Customers to Bussiness) ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่มาก แม้แต่ BMW และ Mercedes-Benz เอง ก็กำลังวางแผนเตรียมนำวิธีการนี้มาใช้ในอนาคต

วิธีการ “คิดนอกกรอบ” แบบนี้ จะช่วยสร้างเสริมให้ Maxus แตกต่างจาก แบรนด์รถยนต์จากจีน ยี่ห้ออื่นๆ และสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์อเนกประสงค์ รวมทั้งรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ทั้งในประเทศจีน รวมทั้ง ตลาดต่างประเทศ ได้ในอนาคต มันอาจจะใช้เวลาสักหน่อย แต่เชื่อเถอะว่า ไม่นานแน่ๆ ที่เราจะได้เห็น Maxus เริ่มเป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม การพาไปชมรถยนต์จากเมืองจีนคราวนี้ ยังไม่จบลงอย่างสมบูรณ์นัก เพราะเรายังไม่ได้พูดถึงรถยนต์ Flagship ของ SAIC กันเลย ดังนั้น ในตอนหน้า ผมคงจะต้องขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับรถยนต์ที่ทำให้ผม เปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับรถยนต์จากเมืองจีน ไปตลอดกาล….

โปรดติดตามอ่าน ตอนต่อไป

—————–///——————

ขอขอบคุณ / Special Thanks to :
บริษัท Shanghai Auto Industry Corporation จำกัด (SAIC)
บริษัท MG Sales (Thailand) จำกัด
เอื้อเฟื้อการเดินทางในครั้งนี้ และอำนวยความสะดวกทุกสิ่ง อย่างดีเยี่ยม

—————————————–

บทความที่ควรอ่านเพิ่มเติม / More related articles

Exclusive First Impression : ลองขับ MG ZS EV, MG HS, MG5,MG6 & MG RX8 ถึงเมืองจีน!!

—————————————–

J!MMY
สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน
ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย รถยนต์ในบทความนี้ “ทั้งหมด”
เป็นผลงานของ ช่างภาพชาวจีน
และเป็นเป็นลิขสิทธิ์ของ SAIC – MG
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.Headlightmag.com
7 พฤษภาคม 2019

Copyright (c) 2019 Text and Pictures by J!MMY
Except some Studio Shot & Computer Graphic shots from SAIC-MG

Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited.
First publish in www.Headlightmag.com
May 7th,2019

แสดงความคิดเห็น เชิญได้ คลิกที่นี่ / Comments are Welcome! CLICK HERE