นี่คือหนึ่งใน Mercedes-Benz ที่มีเส้นสายกระชากสายตา สะกดทุก
ลมหายใจ สะเทือนไปถึงต่อมหมวกไต เพียงแค่ในแว่บแรกที่ได้เห็น

นี่คือหนึ่งใน Mercedes-Benz ขับเคลื่อนล้อหน้า ยุคใหม่ ที่หลายคน
เฝ้าจับตามอง จากทั่วโลก รอคอยการมาถึงยังเมืองไทย รอและนั่งมโน
ไปว่า เมื่อไหร่ จึงจะได้เป็นเจ้าของ

นี่คือหนึ่งใน Mercedes-Benz ที่คนไทยจำนวนมาก ให้ความสนใจ
ถึงขั้นลงชื่อเซ็นใบสั่งจองกันชนิดคิวยาวเป็นหางว่าว หางงูเห่า หาง
กระดิ่ง แต่คราวนี้ หลายคนยอมรอคอยต่อคิวกัน นานข้ามปี เพียงเพื่อ
จะได้มาเชยชมสมดังใจปอง

นี่คือหนึ่งในรถยนต์ที่ มีผู้อ่านของ Headlightmag.com เรียกร้องว่า
อยากอ่านมากที่สุด รุ่นหนึ่ง ตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้

นี่คือหนึ่งในรถยนต์ที่ น้องๆ The Coup Team อยากลองสัมผัส
มาทำคลิปด้วย หรือ ลองนั่งเฉยๆ ก็ยังดี

แต่นี่ คือหนึ่งใน Mercedes-Benz ไม่กี่รุ่น ที่ผมต้องร้องลั่นรถว่า…

“ทำไม มันถึงเป็นอย่างเง้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ!!!!???”

และเป็นหนึ่งใน Mercedes-Benz ที่ ตาแพน Commander CHENG
ในฐานะ ผู้ทรงคุณวุฒิ วิชา Mercedes-Benz ศึกษา ดีกรี อดีตผู้เคย
เข้าร่วมการแข่งขันแฟนพันธ์แท้รถเบนซ์ ของ Workpoint ถึงขั้น
ร้องด่า ว่า..

“ช่วยเอาพนักศีรษะดันกบาล ออกไปจากหัวกูที!!!!!!”

alt

“เราคาดหวังมากเกินไปหรือเปล่า?”

“ไม่มากไปหรอก เพราะปกติ Mercedes-Benz ทุกรุ่น มันจะทำตัวดี
มากพอให้เราคาดหวัง และพึ่งพาได้เสมอ ในยามที่เรามองหาความสวย
หรูหรา งามสง่า ความสบาย ความปลอดภัย และความมั่นใจในการขับขี่ 
กว่า 127 ปีที่ผ่านมา ค่ายรถยนต์ตราดาว พยายามรักษาคุณค่าเหล่านี้
มอบให้ผู้ใช้รถยนต์ทั่วโลก สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน”

“แล้วการเปลี่ยนแปลง มาเป็นรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า มันเลวร้าย
ขนาดนั้นเลยเหรอ?”

“ไม่จริง! B-Class นั่นคิอตัวอย่าง ที่ชัดเจน ซึ่งบอกเราอยู่ทนโท่ว่า
Mercedes-Benz ก็ทำรถเก๋งขับเคลื่อนล้อหน้าได้ดี พอสมควรเลยละ
A-Class ใหม่ ก็ทำผลงานไว้ได้ไม่เลวเลย และงานนี้ มันไม่เกี่ยวกับ
การหันมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า แทนที่ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง
เหมือนเช่นรถยนต์รุ่นก่อนๆ ของพวกเขาแต่อย่างใด”

“หรือจะเป็น ความพยายามในการเติมบุคลิก Sport ลงไปในรถยนต์
ของพวกเขา”

“ก็ไม่ใช่อีกอยู่ดีนั่นแหละ เพราะ จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา พวกเขา
ก็อยู่ในสังเวียน Motor Sport มาช้านาน มากจนทำให้มีประสบการณ์
เพื่อสร้างรถยนต์บุคลิก Sport ออกสู่สายตาชาวโลกมาแล้วหลายสิบรุ่น”

“งั้นอะไรกันละ ที่ทำให้ คุณ J!MMY กับคุณแพน ร้องออกมาอย่าง
ที่ได้อ่านไปข้างบนนั้น?”

อยากรู้คำตอบไหม?

“อยาก”

“ถ้าจะทำตัวเป็นพวก ขี้เกียจอ่านอะไรยาวๆ ก็เลื่อนลงไปอ่านบทสรุป
ข้างล่างได้ทันที แต่คุณจะพลาดรายละเอียดต่างๆ ที่ผมบรรจงเขียนเล่า
ให้ได้อ่านกันไปอย่างน่าเสียดาย เพราะในนั้น จะมีคำตอบแฝงซ่อนอยู่
ว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

ช่างเถอะ นั่นมันก็แล้วแต่คุณ

แต่ถ้า มีเวลาว่างพอ ก็ค่อยๆ เลื่อนเมาส์ลงไปอ่านข้างล่างนี้ ได้เลย…
เริ่มจากเหตุผลที่ว่า ทำไม Mercedes-Benz ถึงคิดทำ CLA ออกมา
นั่นแหละ!

alt

การถือกำเนิดของ CLA นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากความสำเร็จของ CLS
รถยนต์นั่งแบบ Coupe 4 ประตู และ Shooting Break  ที่ออกสู่ตลาด
มาตั้งแต่ปี 2004 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ถือเป็นการ สร้างทางเลือกใหม่
ให้กลุ่มลูกค้าผู้มีอันจะกิน ทั่วโลก ได้หลีกหนีฉีกไปจากความซ้ำซากจำเจ
ของรูปแบบตัวถังรถยนต์ เดิมๆ ที่เคยทำออกขายกันมา โดยใช้ประโยชน์
จาก ทรัพยากรด้านเทคโนโลยี และชิ้นส่วนอะไหล่ที่ตนเองมีอยู่ ให้กลาย
มาเป็นรถยนต์รุ่นใหม่ ซึ่งช่วยต่อยอด แตกไลน์ ขยาย Segment เพื่อ
ทำกำไรมากยิ่งขึ้น

เมื่อ CLS ขายดีไปทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และเอเซีย จึงเริ่ม
มีคำถามขึ้นมาว่า “แล้วทำไม เราไม่ลองทำ CLS ในเวอร์ชัน Compact
กันดูละ?”

เหมือนเช่นที่ Daimler AG. เคยใช้วิธี สร้างรถสปอร์ตเปิดประทุน SLK
ที่ย่อส่วนลงมาจาก SL และ การสร้าง CLK ให้ย่อส่วนลงมาจาก CL
(S-Class Coupe ในปัจจุบัน) ทีมผู้บริหารและวิศวกรชาวเยอรมันจึง
เลือกจะต่อจิกซอร์ อุดช่องว่างทางการตลาด เอาใจกลุ่มลูกค้าที่อยากได้
CLS แต่ งบไม่ถึง หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้รถยนต์ซึ่งมีตัวถังขนาด
ใหญ่โตแบบนั้น

อย่างไรก็ตาม จิ๊กซอร์ สำคัญ ก็คือ ในขณะนั้น Daimler AG. เพิ่งจะ
ลงทุนครั้งใหญ่ เพื่อพัฒนา พื้นตัวถัง MFA Platform สำหรับ รถยนต์
ขับเคลื่อนล้อหน้า ยุคใหม่ อันได้แก่ A-Class , B-Class และ GLA-
Class (A-Class ในเวอร์ชัน Compact Hatchback ยกสูง) หาก
ต้องการให้เกิดการคุ้มทุนโดยเร็ว ก็ต้องหาทางสร้างรถยนต์รุ่นใหม่ โดย
ใช้โครงสร้างวิศวกรรม ร่วมกันกับรถยนต์รุ่นอื่นๆ ที่กล่าวมา บนพื้นตัวถัง
MFA นี้ ให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

2 จิ๊กซอร์ นี้ ถูกนำมาเชื่อมต่อประสานกันอย่างลงตัวพอดี! เพราะตามแผน 
พลิกโฉมตระกูล A-Class ใหม่นั้น จำเป็นต้องมีเวอร์ชัน Sedan 4 ประตู 
เพื่อให้เป็น รถยนต์ 4 ประตู ขนาดเล็กสุดในสายการผลิตของตน (เพราะว่า
ในขณะเดียวกัน C-Class ใหม่ จะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นไปกว่าเดิม) แต่มัน
ต้องไม่ใช่ แค่ A-Class ตัวถัง Sedan มิเช่นนั้น อาจจะหาทางเพิ่ีมมูลค่า
ให้กับตัวรถได้ยาก และไม่มากพอจะสร้างความแตกต่างไปจาก A-Class
ในสายตาของลูกค้่า

การสร้าง CLS ในขนาดย่อมเยากว่า บนพื้นตัวถัง MFA Platform
สำหรับรถยนต์ขับเคลื่อนล้อหน้า คือคำตอบของโจทย์นี้ ที่ดูแล้ว
ลงตัวสุดในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน และด้วยสายตา
ของใคร ก็ตาม

alt

โครงการพัฒนา CLA-Class เริ่มต้นขึ้นราวๆปี 2008 – 2009 โดยใช้
รหัสโครงการพัฒนา และรหัสรุ่น C117 โดยในช่วงแรก นักออกแบบที่
รังสรรค์เส้นสายให้กับรถคันนี้ คือ Robert Lešnik ชาว Slovenia
ซึ่งเคยทำงานอยู่กับ Volkswagen มาถึง 9 ปี ก่อนจะลาออกมาอยู่
กับ Kia Motor เมื่อเดือนเมษายน 2007 และลาออกอีกครั้ง เพื่อมา
ร่วมงานกับ Mercedes-Benz เมื่อเดือนกันยายน 2009

เวอร์ชันต้นแบบในชื่อ Mercedes-Benz Concept Style Coupe
ได้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมอวดโฉมชาวโลก เป็นครั้งแรก ในงาน แสดงศิลปะ
Transmission LA:AV CLUB ที่ Museum of Contemporary
Art, Los Angeles (MOCA) ก่อนจะบินไปเผยโฉมอย่างเป็นทางการ
ในงาน Auto China 2012 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2012

Dr Dieter Zetsche ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารของ Daimler AG.
และผู้บริหารสูงสุดของ Mercedes-Benz Cars ประกาศบนเวทีในงาน
วันเปิดตัวว่า พวกเขากำลังจะถ่ายทอดงานออกแบบจากรถยนต์ต้นแบบ
CSC คันนี้ สู่การผลิตออกขายจริงในปีถัดไป ภายใต้ชื่อรุ่น CLA

“ด้วยงานออกแบบที่โดดเด่นสะดุดตา จะทำให้ CLA ช่วยสร้างภาพลักษณ์
ของ Mercedes-Benz ยุคใหม่ ให้กับผู้คนทั่วโลก ได้”

Prof Dr Thomas Weber สมาชิกคณะกรรมการบริหาร รับผิดชอบงาน
ด้านวิจัยและพัฒนา ของกลุ่มรถยนต์ Mercedes-Benz Cars กล่าวว่า
“ทุกสิ่งทุกอย่าง แตกต่างไปจากเดิม แต่ CLA ยังคงไว้ซึง คุณค่าหลัก
ของ Mercedes-Benz ไปพร้อมกับการสร้างมาตรฐานใหม่ ในด้าน
อากาศพลศสตร์ ประสิทธิภาพ และระบบต่างๆที่ช่วยเหลือผู้ขับขี่”

Dr Joachim Schmidt กรรมการบริหารของ Mercedes-Benz Cars
ด้านการขายและการตลาด กล่าวว่า “เราวางเป้าหมายให้ CLA เจาะ
กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ รวมถึงผู้ที่ไม่เคยคิดจะซื้อ Mercedes-Benz มาก่อน”!

alt

ขณะที่เวอร์ชันต้นแบบ กำลังเดินทางไปจัดแสดงทั่วโลก รวมทั้งในงาน
Bangkok Ingternational Motor Show เดือนมีนาคม 2013
แต่งานออกแบบของเวอร์ชันจำหน่ายจริงนั้น ถูกขัดเกลาจนเสร็จสิ้นแล้ว

เรื่องที่ต้องจารึกไว้ก็คือ เส้นสายของเวอร์ชันต้นแบบ ถูกลดทอน
ลงมา เพื่อให้ง่ารยต่อการผลิตออกขายจริง เพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น!

Gorden Wagener, Head of Design, Mercedes-Benz Cars 
ระบุว่า “ด้วยเส้นสายแบบที่ มีพลวัตร (Dynamics) และกระชากใจ รวมถึง
มี proportions ที่สวยงามลงตัว ดูมีมัดกล้าม แต่พริ้วไหวด้วยแนวเส้นสาย
ด้านข้างที่สวยงาม ทำให้ CLA กลายเป็น “กบฎแห่งเส้นสาย” (a Style
rebel)

Mark Fetherston : Exterior Team Leader หัวหน้างานออกแบบ
ภายนอกของ CLA-Class เล่าว่า พวกเขาได้รับมอบหมายให้ลองสร้างสรรค์
งานออกแบบใหม่ๆ ที่เล่นกับความรู้สึกของผู้คน เพื่อให้โดนใจลูกค้ากลุ่มคน
รุ่นใหม่มากขึ้น เพราะในอดีตที่ผ่านมา Mercedes-Benz ถูกมองว่าเป็น
รถยนต์ที่มีเส้นสายการออกแบบในเชิงอนุรักษ์นิยม หรือเป็นรถยนต์สำหรับ
คนแก่ แต่เส้นสายของ CLA ใหม่นั้น จะต้องไม่ทำให้ผู้คน จ้องมองเพียง
ครั้งเดียวก่อนจะเมินเฉย ตรงกันข้าม เส้นสายของรถจะต้องทำให้พวกเขา
ถึงขั้นเหลียวหลังกลับมามองอีกครั้ง ให้แน่ใจว่านี่คือ Mercedes-Benz
ในขณะที่ รถคันนี้ เคลื่อนตัวไปตามสภาพการจราจร ผู้คนที่สัญจรอยู่ใน
รถยนต์คันรอบๆข้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่ไม่ได้สนใจรถยนต์มาก่อน
จะต้องมองรถคันนี้ ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน กว่าการมองรถยนต์ทั่วๆไป

“สำหรับผมแล้ว การออกแบบ CLA ให้สวยจนแม้แต่เด็กๆ ที่กำลังข้ามถนน
เห็นแล้วยังมีรอยยิ้มเกิดขึ้นด้วยความชอบใจ ถึงขั้นชี้ให้พ่อแม่ดูรถคันนี้ ก็คือ
ความสำเร็จของงานออกแบบรถยนต์รุ่นนี้แล้ว”

alt

ด้วยเส้นสายที่สวยงาม แต่ดูมีมัดกล้ามนั้น สิ่งที่ ทีมวิศวกร Daimler AG.
ให้ความสำคัญมากที่สุด คือความพยายามในการจัดการกับ อากาศที่ไหล
ผ่านตัวถังรถยนต์ไป เพื่อให้ได้มาซึ่งการต้านทานอากาศให้น้อยที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้

พวกเขาถึงขั้นปรับปรุงชิ้นส่วนต่างๆของตัวรถ ให้ลู่ลมมากที่สุด ไม่ว่า
จะเป็น เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ที่มีแนวเส้นรีดอากาศ ผ่านต่อเนื่อง
ไปยังกระจกมองข้าง ซึ่งถูกปรับปรุง เรื่องการลดเสียงลมที่เล็ดรอด
เข้ามารบกวนผู้ขับขี่ การออกแบบ ลายล้ออัลลอย แผผ่นปิดกระแสลม
ใต้ท้องรถ เส้นตัวถังด้านข้าง ที่ยาวต่อเนื่องไปทางด้านหลังของรถ
ในแบบ Streamlined และอื่นๆ อีกมากมาย

ผลลัพธ์ที่ได้คือ CLA มีค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานอากาศ ต่ำที่สุดใน
บรรดารถยนต์แบบ Mass Production Vehicles ที่ผลิตออกสู่ตลาด
ทั่วโลก ในระดับ Cd.0.23 และจะต่ำลงเป็น Cd.0.22 เฉพาะรุ่นย่อย
CLA 180 BlueEFFICIENCY

alt

ด้านการผลิต คราวนี้ CLA มาแปลกกว่าพี่น้องผองเพื่อนร่วมค่าย เพราะถือเป็น
รถยนต์รุ่นแรก ที่ถูกส่งไปขึ้นสายการผลิต แบบ Exclusive ณ โรงงานแห่งใหม่
ล่าสุด ในเมือง Kecskemet สาธารณรัฐ Hungary ที่เพิ่งเปิดดำเนินการเมื่อ
เดือนมีนาคม 2012 หลังจากที่พวกเขาประกาศตัดสินใจสร้างโรงงานแห่งนี้ขึ้น
ช่วงฤดูร้อนปี 2008 ไปหมาดๆ โดยในช่วงแรก พนักงานมากกว่า 3,000 คน
เร่งผลิต B-Class จำนวนถึง 40,000 คัน เพื่อป้อนตลาดยุโรป ช่วยเพิ่มให้
ยอดขายของ B-Class ในปี 2012 พุ่งสูงขึ้นเป็น 145,649 คัน ได้สำเร็จ

CLA ทุกคัน ที่ออกสู่ตลาดทั่วโลก จะถูกผลิตขึ้นที่โรงงาน Kecskemet เพียง
แห่งเดียวเท่านั้น ไม่มีโรงงานแห่งอื่นใดในตอนนี้

การเปิดตัวออกสู่ตลาดโลกนั้น เริ่มจาก การปล่อยภาพรถยนต์ต้นแบบ ที่ติดตั้ง
ระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ 4 MATICS มาอวดโฉม เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2012
(รุ่น 4 MATICS ไม่มีจำหน่ายในเมืองไทย)

จากนั้น Daimler AG. ก็ส่ง CLA บินข้ามน้ำข้ามทะเลไปเปิดตัวครั้งแรกในโลก
ณ งาน NAIAS (North American International Motor Show หรือ
Detroit Auto Show เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2013 ก่อนจะเริมปล่อย CLA
เวอร์ชันขายจริง คันแรกออกจากสายการผลิต ที่โรงงาน Kecskemet เมื่อวันที่
25 มกราคม 2013

ส่วนเวอร์ชันไทยนั้น  Mercedes-Benz Thailand จัดงานเปิดตัว ด้วยการ
เนรมิต Star Dome ขนาดใหญ่ บนพื้นที่ลานอเนกประสงค์ บริเวณด้านหน้า
ศูนย์การค้า Central World สี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ และเปิดให้
สื่อมวลชน กับลูกค้า เข้าชมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2556 โดย
ในช่วงแรกนั้น มีให้เลือกเพียงรุ่นเดียวคือ CLA 250 AMG และเปิดรับจอง
ในราคาถูกกว่าที่คาดคิด เพียง 2,640,000 บาท เท่านั้น!!

alt

CLA 250 AMG มีขนาดตัวถังยาว 4,630 มิลลิเมตร กว้างแบบไม่รวมกระจก
มองข้าง 1,777 มิลลิเมตร แต่ถ้ารวมด้วย จะกว้างเพิ่มเป็น 2,032 มิลลิเมตร สูง
1,432 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อยาว 2,699 มิลลิเมตร (ตีเสียว่า 2,700 มิลลิเมตร
เทียบเท่า Honda Civic FD รุ่นปี 2005 – 2012 และ Toyota Corolla 
ALTIS รุ่นล่าสุด 2014 นี่ละ)

ดูจากตัวเลขข้างบนแล้ว ชัดเจนว่า CLA มีขนาดตัวถังในระดับเดียวกันกับบรรดา
รถยนต์นั่งกลุ่ม C-Segment Compact Class 1,600 – 2,000 ซีซี ใน
บ้านเรานั่นเอง

แต่ถ้าต้องเปรียบเทียบกับพี่น้องร่วมตระกูล อย่าง A-Class ซึ่งมีขนาดตัวถังยาว
4,292 มิลลิเมตร กว้าง 1,780 มิลลิเมตร สูง 1,430 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ
2,699 มิลลิเมตร จะพบว่า CLA-Class จะมีความยาวตัวถัง เพิ่มจาก A-Class
รุ่นปัจจุบันถึง 338 มิลลิเมตร ขณะที่ความกว้าง ความสูง และระยะฐานล้อนั้น
“พอๆกัน” ต่างกันแค่เพียงไม่กี่มิลลิเมตร เท่านั้น

และต่อให้เทียบกับ GLA-Class ซึ่งมีความยาว 4,417 มิลลิเมตร กว้าง 1,804
มิลลิเมตร สูง 1,494 มิลลิเมตร ระยะฐานล้อ 2,699 มิลลิเมตร ก็จะพบว่า CLA
ยังยาวกว่า GLA 213 มิลลิเมตร แคบกว่า GLA 24 มิลลิเมตร เตี้ยกว่า GLA
64 มิลลิเมตร แต่ยังมีระยะฐานล้อยาวเท่ากันเปี๊ยบ

alt

แม้ว่า CLA-Class จะถูกพัฒนามาบนพื้นฐานงานวิศวกรรมของ A-Class ใหม่
แต่ชิ้นส่วนตัวถังภายนอกนั้น หากเปรียบเทียบกัน Shot ต่อ Shot แล้ว จะพบว่า
ไม่เหมือนกันเลยสักชิ้น! และไม่สามารถถอดสลับสับเปลี่ยนแลกกันใส่ได้!

ตัวถังของ CLA จะมีเส้นสาย ที่เน้นความโค้งมนอย่างกลมกลืน ถอดแบบมา
จากรถยนต์ต้นแบบ Concept Style Coupe ไล่กันตั้งแต่ฝากระโปรงหน้า
กับพื้นที่ด้านข้าง กระจังหน้าแบบ Diamond grille พร้อมตราสัญลักษณ์ของ
Mercedes-Benz เป็นรูปดาวสามแฉกขนาดใหญ่

ชุดโคมไฟหน้าเป็นแบบ Bi-xenon พร้อมระบบฉีดน้ำทำความสะอาด และไฟ
Daytime Running Light สำหรับการขับขี่เวลากลางวัน เป็นแบบ LED รวม
อยู่ในชุดกรอบไฟหน้า ไม่มีไฟตัดหมอกด้านหน้ามาให้

ลายเส้นด้านข้างได้รับการออกแบบ ให้สอดรับกันอย่างพิถีพิถัน ความพริ้วไหว
บนลายเส้นทั้งแนวเส้นโค้ง และเส้นเว้าตลอดแนวด้านข้าง ก่อให้เกิดมิติบน
พื้นผิวตัวถัง เพิ่มบุคลิกของตัวรถให้ดูปราดเปรียว แต่แฝงความสง่างามและลู่ลม

CLA 250 AMG เวอร์ชันไทย จะติดตั้งหลังคา Panoramic Glass Sunroof
และตกแต่งด้วยชุดแต่ง AMG มีทั้ง เปลือกกันชนหน้า-หลัง สเกิร์ตข้าง เปลือก
กันชนท้ายแบบสปอร์ต พร้อมตกแต่งชายล่างของกันชนสีเดียวกับตัวรถ, ปลาย
ท่อไอเสียเสริมโครเมียม 2 ท่อ สัญลักษณ์ Mercedes-Benz บนคาลิปเปอร์
เบรกคู่หน้า และล้ออัลลอยจาก AMG ขนาด 18 นิ้ว สวมยาง 225 / 40 R18 

alt

การเข้า – ออกจากรถ ยังต้องพึ่งพากุญแจพร้อมรีโมทคอนโทรล ฝังมาในตัวรีโมท
สามารถสั่งปลดล็อกและล็อกบานประตูทั้ง 4 พร้อมกัน หรือจะปรับตั้งให้สามารถ
เลือกปลดล็อกเฉพาะบานประตูฝั่งคนขับในจังหวะแรกก่อนก็ได้ มีระบบเปลี่ยน
รหัสทุกครั้งที่ติดเครื่องยนต์เพื่อกันขโมย Immobilizer หน้าตาเหมือนกับกุญแจ
ของ Mercedes-Benz รุ่นใหม่ๆ ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ถ้าจะติดเครื่องยนต์ ต้อง
เสียบกุญแจไขเข้าไปหมุนในช่องเสียบกุญแจ  บริเวณคอพวงมาลัยฝั่งขวา แบบ
รถยนต์ปกติทั่วๆไป ไม่มีระบบ Push Start มาให้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่ A-Class เขามีระบบ Smart Entry ดึงมือจับแล้วเปิด
ประตูได้ทันที แค่เพียงพกกุญแจรถ และไฟส่องสว่างใต้กระจกมองข้างทั้ง 2 ฝั่ง
แต่ใน CLA 250 คันนี้ กลับไม่มีทั้ง 2 ระบบมาให้คุณเลยทั้งสิ้น

alt

บานประตูทุกบานแตกต่างไปจาก Mercedes-Benz รุ่นอื่นๆ เกือบทุกรุ่น เพราะ
ถูกออกแบบให้มาในรูปลักษณ์ของ Frameless Door หรือบานประตูไร้เสากรอบ
กระจก แบบเดียวกันกับ CLS เพื่อเสริมให้บุคลิกความเป็นรถยนต์นั่ง Coupe
4 ประตู ดูชัดเจนในสายตาชาวโลกยิ่งขึ้น

การเข้า – ออกจากเบาะคู่หน้า ก็ไม่ได้แตกต่างไปจาก A-Class เลย ถือว่ายังพอจะ
ทำได้ดีในระดับเดียวกับรถยนต์  Premium Compact ฝั่งยุโรปทั่วไป แต่ต้องระวัง
เรื่องการทิ้งน้ำหนักตัวลงไปบนเบาะ และอาจต้องออกแรงยกตัวมากขึ้นขณะลุก
ออกมาจากเบาะมากจนใกล้เคียงกับรถสปอร์ต เบาะนั่งเตี้ยเรี่ยราดพื้นรุ่นอื่นๆ

แผงประตูด้านข้าง บุด้วยหนัง และผ้า DINAMICA Microfiber สีดำ เย็บเข้ารูป
ด้วยด้ายสีแดง ให้อารมณ์สปอร์ตเพิ่มขึ้นกว่ารุ่นปกติ ด้านล่างของแผงประตู
เป็นช่องใส่ของ แต่สามารรถวางขวดน้ำขนาด 7 บาท ได้แบบเอียงๆ

alt

เบาะนั่งคู่หน้า เป็นแบบ Sport สีดำ หุ้มด้วยหนัง ARTICO ส่วนพื้นที่ตรงกลางเบาะ
จะตัดสลับด้วยผ้า Microfiber แบบ DINAMICA สีเทาดำ เย็บตะเข็บด้วยด้ายสีแดง
วัสดุอาจกันน้ำได้นิดๆหน่อยๆ แต่ไม่เยอะ

เบาะนั่งคู่หน้า ทั้ง 2 ฝั่ง และกระจกมองข้าง สามารถปรับตำแหน่งได้ด้วยสวิชต์ไฟฟ้า
ได้ทั้งความสูงของเบาะ และองศาก้มหรือเงย (Seat Comfort Package) พร้อม
หน่วยความจำตำแหน่งที่ปรับไว้ ในแต่ละเบาะ 3 ตำแหน่ง แผงสวิตช์ปรับเบาะ ติดตั้ง
ไว้ที่แผงประตู อันเป็นตำแหน่งปกติของ Mercedes-Benz แทบทุกรุ่น นอกจากนี้
ยังมีสวิชต์ปรับดันหลัง ที่ด้านข้างของฐานรองเบาะ ทั้ง 2 ฝั่ง

เข็มขัดนิรภัยของเบาะคู่หน้า เป็นแบบ ELR 3 จุด พร้อมระบบลดแรงปะทะ และดึงกลับ
อัตโนมัติ แบบ Pretensioner & Load Limiter สามารถปรับตำแหน่งสูง – ต่ำ ได้
เพื่อให้สอดคล้องกับสรีระที่แตกต่างกันของผู้ขับขี่แต่ละราย

เบาะนั่ง ยกมาจาก A-Class นั่นเอง ดังนั้น ไม่ต้องแปลกใจครับ นั่งไม่สบายพอกัน
เลยนั่นแหละ! เบาะรองนั่ง มีความยาวจนถึงข้อพับ รองรับบั้นท้ายได้กำลังดี ถ้านั่ง
ไม่นานนัก ถือว่าพอรับได้ แต่ถ้านั่งนานๆ หลายชั่วโมง อาจเมื่อยก้นกบนิดหน่อย
ส่วนพื้นที่เหนือศีรษะ มีในระดับที่ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป พอดีๆ ถ้าเข้าใจดีอยู่
ว่าคุณกำลังนั่งอยู่ใน รถยนต์ขนาดเล็ก

แต่ พนักพิงเบาะที่ออกแบบให้มีพนักศีรษะเชื่อมติดกันเป็นชิ้นเดียว เนี่ยนะ คือ
สิ่งที่อยากให้ทีมออกแบบนำกลับไปทำการบ้านมาใหม่ เพราะ นั่งไม่สบายเลย
พนักพิงหลังค่อนข้างแข็ง แม้จะมีผ้า DINAMICA นุ่มๆ มาช่วย และมีตัวปรับ
ดันหลังมาเสริม ก็ยังถือว่าแข็งเกินไปอยู่ดี นั่งแล้วปวดเมื่อยแผ่นหลังพอสมควร
ปีกด้านข้าง ออกแบบมาให้ตัวเบาะดูดีจากใน Catalog แต่เมื่อนั่งจริง พบว่า
ไหล่ของผม ถูกปีกข้างของเบาะซัพพอร์ตไว้ แบบแข็งๆ ไม่สบายตัวเอาเสียเลย

เรื่องที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น คือ พนักพิงศีรษะ ที่ดันหัวกบาลมากเอาเรื่อง จริงอยู่ว่า
แนวคิดในการออกแบบเบาะนั่งรถยนต์สมัยนี้ มักเน้นให้พนักศีรษะ รองรับส่วน
ศีรษะของผู้ขับขี่และผู้โดยสารพอดี จะได้ไม่ต้องนั่งกันแบบ หัวลอย แล้วพอ
เจอแรงเหวี่ยงจากการชนปะทะ หรือเบรกกระทันหัน หัวของคุณจะถูกเหวี่ยง
กลับไปเจอกับพนักศีรษะได้ทันที ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาปวดกระดูก
ช่วงต้นคอ  

อย่างไรก็ตาม ต่อให้ฟองน้ำที่เสริมข้างใน ยังนุ่ม พอให้กดหัวลงไปเจอความ
นุ่มได้บ้าง แต่ในตำแหน่งนั่งปกติ องศาการดันหัวกบาล มันมากจนก่อให้เกิด
อาการ ปวดร้าวบริเวณช่วงไหล่ ฝั่งซ้ายของผม ไปชั่วขณะหนึ่งเลยทีเดียว

ถ้าคุณคิดว่า ผมเป็นคนเดียว ที่มีปัญหานี้ ขอบอกเลยว่า ตาแพน Commander
CHENG ของเว็บเรา คืออีกผู้หนึ่ง ที่ถึงขั้น แปะป้ายขึ้นบัญชีดำให้กับเบาะ
ของ A-Class และ CLA Class ใหม่ กันเรียบร้อยแล้วว่า ชาตินี้ ไม่ขอเจออีก!
เพราเมื่อถ่ายทำคลิปเสร็จ ยังไม่ทันจะลุกออกจากรถ เจ้าตัวถึงขั้นปวดขาอย่าง
รุนแรง และต้องใช้เวลานานกว่า 3-4 วัน อาการจึงจะดีขึ้น 

แต่ถ้าคุณคิดว่า การเข้า – ออกจากเบาะคู่หน้า ยังลำบากลำบนสำหรับคุณ ผม
ขอยืนยันว่า การเข้า – ออก จากเบาะหลังของ CLA ยิ่งมอบประสบการณ์
อันแสนไม่ประทับใจหนักยิ่งกว่า ให้กับคุณได้ลืมไม่ลงเลยเชียวละ!

alt

ช่องทางเข้า ทั้งเล็ก และแคบ ชวนให้นึกถึง ช่องประตูทางเข้าของ Mazda 3
Sedan รุ่นแรก ปี 2005 – 2011 ต่อให้ผมก้มหัวลงไปมากแค่ไหน ศีรษะก็จะ
ไปโขกกับหลังคาทันที ดังนั้น หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องเข้าไปนั่งบนเบาะ
ด้านหลัง เช่นตอนถ่ายภาพแผงหน้าปัด ผมจึงต้องก้มหัวให้ต่ำสุดๆ แทบจะ
ขนานกับพื้นถนน เพื่อยัดร่างให้เข้าไปนั่งได้ในที่สุด…

เรื่องดีก็คือ กระจกหน้าต่างของบานประตูคู่หลัง สามารถเลื่อนเปิดลงมาได้
จนสุดขอบบานประตู เพียงแต่ว่า บริเวณกระจก Opera สามเหลี่ยม ยังไม่
ถึงขั้นเลื่อนลงไปพร้อมกันได้ด้วย ดังนั้น ถ้าคุณเปิดประตูรถคู่หลังไว้ โดย
เปิดเลื่อนหน้าต่างลงมาจนสุด แล้วปล่อยให้บรรดาลูกหลาน วิ่งเล่นไล่จับ
กันรอบๆรถ คุณจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงมาก ไม่เช่นนั้น โอกาส
ที่ใครสักคน จะพลาดท่า ล้มคว่ำ เอาหัวทิ่มกับยอดสามเหลี่ยม Opera นั้น
ก็อาจเกิดขึ้นได้!!

นี่ผมดูหนังสยองขวัญ จนจินตนาการในแง่ร้ายมากเกินไปหรือเปล่าเนี่ย?

แผงประตูด้านข้าง ออกแบบ และบุด้วยวัสดุแบบเดียวกับแผงประตูคู่หน้า
เพียงแต่ว่า ช่องใส่ของด้านข้าง จะมีขนาดเล็ก และไม่เพียงพอต่อการยัด
ขวดน้ำขนาดใดก็ตาม ลงไปได้เลย ยกเว้นกระป๋องน้ำอัดลมแบบ 10 บาท
ทรงสูงรุ่นใหม่ๆ เท่านั้น

เหนือช่องทางเข้าบานประตูคู่หลังทั้ง 2 ฝั่ง มีมือจับ “ศาสดา” (เครื่องยึด
เหนี่ยวจิตใจ) ติดตั้งมาให้ แต่ไม่ยักแถมให้กับผู้โดยสารด้านหน้าฝั่งซ้าย

alt

เบาะนั่งด้านหลัง คือสถานที่ ซึ่งผมจะตั้งสัตย์ปฏิญาณเลยว่า หากไม่จำเป็น
จะขอไม่เข้าไปนั่งอีกแน่ๆ จริงอยู่ว่า มันไม่ได้มีพื้นที่อัตคัต มากจนยากจะ
แทรกตัวเข้าไปนั่ง เหมือนอย่าง Toyota 86 หรือบรรดารถยนต์ Coupe รุ่น
อื่นๆ ที่ผมเคยนำมาทำรีวิว แต่ถ้าให้เทียบกับบรรดารถยนต์นั่งที่มี 4 ประตู
ด้วยกันแล้ว การเข้า – ออก จากเบาะหลัง ยังไม่ถือว่าเลวร้ายเท่ากับ พื้นที่
เหนือศีรษะ ไม่เหลือพอให้ผม คนตัวสูง 171 เซ็นติเมตร ได้พอหายใจ

หากผมนั่งแบบก้นชิดเบาะ ผมต้องนั่งเอียงคอ มองโลกแบบคนไม่เป็นธรรม
เอียงกะเท่เร่ ถ้าอยากจะเหลือพื้นที่เหนือศีรษะ ทางเดียวที่ทำได้คือ ผมต้อง
นั่งแบบ “ไหลนิดๆ” คือให้ก้น เลื่อนออกมาจากพนักพิงเบาะ ไปข้างหน้า
อีกนิดนึง จึงจะยังพอนั่งได้บ้าง แต่ก็แทบไม่เหลือพื้นที่เหนือศีรษะ ไว้ใน
เวลาเจอการกระแทกของช่วงล่าง ขณะจัมพ์คอสะพานเลย…

อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่า หากคุณตัวสูง 175 เซ็นติเมตร แต่ช่วงลำตัว
หรือช่วงหัว ไม่สูงมากนัก และดันมีความสูงช่วงท่อนขามากกว่าคนปกติ
คุณจะยังโดยสารบนเบาะหลังของ CLA ในแบบก้นชิดพนักพิงได้ โดย
พื้นที่เหนืศีรษะ ก็จะเหลือไว้ให้อย่างหมิ่นเหม่อยู่ดี

ถือเป็นรถยนต์นั่งแบบ 4 ประตู ที่มีพื้นที่เหนือศีรษะด้านหลัง แย่ที่สุด
เท่าที่ผมเคยพบเจอมา แย่กว่า Honda City ใหม่ Nissan Almera และ
Toyota Vios ใหม่ เสียอีก!

พนักพิงหลัง ให้สัมผัสไม่ต่างจากเบาะหลังของ A-Class คือ นุ่มเพราะ
พื้นผิวของวัสดุ มากกว่านุ่มจากโครงสร้งของเบาะ (ซึ่งมาในแนวรถยุโรป
คือฟองน้ำจะแข็ง แต่เหลือความนุ่มแค่บนพื้นผิวสัมผัสกับร่างกายมนุษย์)
พนักพิงศีรษะ ดันหัวกบาลของผม น้อยกว่า พนักพิงเบาะคู่หน้าชัดเจน
แปลกดี ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไม

พนักวางแขนแบบพับเก็บได้ พร้อมช่องวางแก้วน้ำ 2 ตำแหน่ง แบบเลื่อน
พับเก็บได้นั้น มีตำแหน่งวางแขนสูงไปหน่อย ขณะที่ตำแหน่งวางแขน
บนแผงประตูคู่หลัง กลับอยู่ในระดับพอดีๆ (แต่พนักวางแขนก็แข็งอยู่ดี)

เรื่องแปลกอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อพับพนักพิงลงมา จะเห็นเหล็ก 2 ท่อน
อันเป็น ขายึดของพนักศีรษะแบบถอดออกได้ ซึงมีเพียงตำแหน่งเดียวตลอด
ทั้งคันรถ นั่นคือ ตรงกลางเบาะหลัง เด่นสง่าเปลือยเปล่า ไม่เข้าใจว่า หากจะ
ออกแบบด้วยการเก็บซ่อนชิ้นงานให้ดีกว่านี้ มันทำไม่ได้เลยหรืออย่างไรกัน?

เบาะรองนั่ง สั้น และอยู่ในตำแหน่งเตี้ย จนต้องนั่งชันเข่าพอสมควร พอให้
นั่งในระยะทางสั้นๆ จากหน้าบ้าน ไปจนถึงหน้าปากซอยได้ แต่ถ้าให้อาศัย
โดยสารไปถึงหน้าเซ็นทรัลเวิล์ด ผมขอลงจากเบาะหลัง แล้วขึ้น รถไฟฟ้า
BTS น่าจะสบายกว่าเยอะ!

พื้นที่วางขา ถือว่าเป็นผลพลอยได้มาจากระยะฐานล้อที่ยาวถึง 2,699 หรือ ตี
เป็น 2,700 มิลลิเมตร แถมยังออกแบบให้ชิ้นส่วนด้านหลังของพนักพิงเบาะ
คู่หน้า โค้งเว้า แม้จะมีความหนาอยู่พอสมควร แต่ก็ช่วยให้ผู้โดยสารด้านหลัง
ยังพอมีพื้นที่ชันขา..เอ้ย!..วางขา ได้อยู่ ในระดับใกล้เคียงกันกับ Mazda 3
คือดูเหมือนจไม่เยอะ แต่เมื่อใช้งานจริง ก็พอยอมรับได้อยู่ แต่ไม่ได้ดูโอ่อ่า
ถ่างแข้งแหกขาได้สบายเหมือนรถยนต์ญี่ปุ่น ที่มีระยะฐานล้อยาวเท่ากัน

เข็มขัดนิรภัยของเบาะคู่หลังเป็นแบบ ELR 3 จุด ทุกตำแหน่ง แต่เฉพาะฝั่ง
ซ้าย และขวา เท่านั้น ที่จะเป็นแบบ ลดแรงปะทะ และดึงกลับอัตโนมัติ แบบ
Pretensioner & Load Limiter เช่นเดียวกับ เข็มขัดนิรภัย เบาะคู่หน้า

เบาะหลังสามารถแบ่งพับได้ในอัตราส่วน 60 : 40 เพื่อเปิดทางเข้าสู่พื้นที่
ห้องเก็บของด้านหลัง ด้วยการกดปุ่มปลดล็อก บนบ่าของพนักพิงหลัง
สังเกตดูดีๆ จะพบช่องทางทะลุจาก ห้องเก็บของ เปิดเข้ามายังเบาะหลัง
สำหรับการบรรทุกสิ่งของที่มีขนาดยาว แต่ยังต้องการพื้นที่นั่งโดยสาร
สำหรับ 4 คน ไปพร้อมกัน แต่ที่น่าฉงนก็คือ แทนที่จะเปิดได้จากเบาะ
หลังเลย กลับต้องเดินไปเปิดฝากระโปงหลังก่อน แล้วค่อยเปิดทะลุ
จากห้องเก็บของอีกที…

คนออกแบบ เขาคิดอะไรของเขาอยู่ในตอนนั้น?

ถ้าคุณติดว่า ผมยังบ่นขนาดนี้…แล้ว พ่อบ้านหุ่นหมี สรีระร่างมหากาฬ อย่าง
ตาแพน Commander CHENG ของเว็บเรา จะอึดอัดขนาดไหนกันเนี่ย?

ไม่ต้อง”มโน”ให้เสียเวลา ผมบันทึกภาพมาให้คุณผ้อ่านได้ชมกันเลยละกัน!

V
V
V
V
V
V

alt

คุณรู้ไหว่า กว่าจะถ่ายภาพนี้ได้ ตาแพน ต้องใช้เวลาพอมควร ในการยัดร่าง
ของตน กระเบียดกระเสียด ผ่านช่องทางเข้าประตูคู่หลัง ที่เล็กและแคบจน
ทำให้ช่องทางเข้า – ออกของ Suzuki Celerio กว้างใหญ่ไปเลย แถม
ขณะลุกออกมา เจ้าตัวยังต้องเล็ง เพื่อหาวิธีการลุกออกมา อยู่พักหนึ่งเลยละ!

พูดก็พูดเถอะ ผมละนึกภาพไม่ออกจริงๆว่า ฝรั่งชาวเยอรมัน ตัวใหญ่กว่าตาแพน
จะเข้าไปนั่งบนเบาะหลังของ CLA ได้หรือเปล่า? ที่แน่ๆ อดีตประธานาธิปดีของ
เยอรมนี คนหนึ่ง คงนั่งไม่ได้แน่ๆ เพราะขณะดำรงตำแหน่ง Mercedes-Benz
ก็ยังต้องสร้างรถ S-Class ประจำตำแหน่ง ขึ้นมาใหม่ให้มีตัวถังยาวเป็นพิเศษ
ดังนั้น ถ้าเป็น CLA คงหมดสิทธิ์ชัวร์!

ไปลองศึกษาประวัติศาสตร์ดูเล่นๆแล้วกันนะครับ ว่า ผู้ที่ผมเอ่ยถึง ชื่ออะไร?

alt

ฝาประตูห้องเก็บของด้านหลัง เปิดยกขึ้นได้ ด้วยการกดสวิตช์ บนรีโมทกุญแจ
หรือ สวิตช์ที่ช่องเก็บของ ณ แผงประตูฝั่งคนขับ แม้จะมีไฟสีแดง เตือนให้รถ
คันที่แล่นตามมา เห็นว่า คุณเปิดฝากระโปรงท้ายทิ้งไว้

แต่ข้อที่ควรปรับปรุงก็คือ ฝาท้าย ดีดตัวอย่างรวดเร็ว และรุนแรง ใครที่ไม่ทัน
ตั้งตัวและไปยืนอยู่ใกล้กับฝาท้ายมากเกินไป อาจโดนฝาท้าย ดีดและเสียเข้า
ที่ปลายคาง จนหงายเงิบไปเลยก็ได้ ปัญหานี้ เกิดจาก สปริงที่ค้ำยัน มีแรงดึง
มากเกินไป ถ้าคุณปิดฝากระโปรงหลังลงมาไม่สนิท แถมยังมีข้าวของเต็มทั้ง
2 มือ ต้องระวังฝากระโปรงดีดยกขึ้นมาเข้าปลายคางให้ดีๆ ปัญหานี้ เป็นมา
ตั้งแต่ E-Class W211 ต่อเนื่องถึง W212 และแม้แต่ C-Class รุ่นล่าสุด
W205 ก็ยังมีปัญหานี้อยู่ดี

นอกจากนี้ ถ้าสำรวจดูดีๆ จะพบว่า แผงบุด้านในห้องเก็บของ รวมทั้งฝาประตู
บางจุด เจาะรูเผื่อไว้ ใหญ่เกินไป ทำให้ดูเหมือนว่า การเก็บงาน ไม่เรียบร้อย
น่าจะปรับแก้ไขจุดนี้ในลำดับต่อไป

alt

ห้องเก็บสัมภาระมีขนาดใหญ่พอตัว ความจุวัดได้ 470 ลิตร ตามมาตรฐาน VDA
ของเยอรมันี ด้านข้างฝั่งซ้าย มีช่องว่าง พร้อมตาข่ายกั้น เอาไว้วางสิ่งของต่างๆ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปากช่องทางเข้าห้องเก็บของ มีขนาดไม่กว้างเท่าไหร่
ต้องทำใจ และใช้ความระมัดระวังในการขนย้ายสัมภาระเข้า – ออกจากท้ายรถ

เมื่อเปิดยกพื้นห้องเก็บของขึ้น มา อย่าตกใจที่คุณจะไม่พบยางอะไหล่เลย เพราะ
CLA รุ่นนี้ ติดตั้งยางรถยนต์แบบ Run Flat Trye มาให้จากโรงงาน ดังนั้น ถ้า
เจอปัญหาจาก ตะปู หรือของแหลมคม ทิ่มแทงยาง ก็ให้ขับต่อไปได้อีกประมาณ
80 กิโลเมตร ด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อหาร้านเปลี่ยนยาง

ถามว่า ยางแบบ Run Flat Tyre ปะยางได้ไหม คำตอบคือ ได้ครับ แต่ใช้ใน
กรณีพอให้แล่นต่อไปไกลกว่านั้น เพื่อหาร้านเปลี่ยนยางได้เท่านั้น

alt

แผงหน้าปัดของ CLA- Class ดูเผินๆ ก็เหมือนกับ A-Class นั่นละ ตำแหน่งของ
แต่ละอุปกรณ์ ตั้งแต่ หน้าจอมอนิเตอร์ มาตรวัด ช่องแอร์วงกลม 5 ช่อง รวมทั้ง
แผงสวิตช์ควบคุมกลาง รวมทั้งท่อนบนสุดของแผงหน้าปัดอันเป็นวัสดุบุนิ่มนั้น
ยกชุดถอดใส่สลับใช้ร่วมกันได้

แต่ความจริง แผงหน้าปัดของ CLA- Class แตกต่างจาก A-Class ตรงที่ แผง Trim
ตกแต่งของ A-Class ไม่มีลูกเล่นด้านงานออกแบบมากนัก แต่จะกินพื้นที่ครอบคลุม
ลงมาจนถึง ขอบด้านบนของ ช่องเก็บของฝั่งผู้โดยสารด้านขวา อีกทั้งยังเป็นกรอบ
ด้านนอก ให้กับแผงควบคุมอุปกรณ์ตรงกลาง

ขณะที่ แผง Trim ใน CLA-Class เป็น แบบ Longitudinal – grain aluminium
สีเงิน เล่นระดับโค้งเว้า ยาวต่อเนื่องจากใต้ช่องแอร์ฝั่งผู้โดยสาร จนถึงขอบล่างของมาตรวัด
แต่ขอบด้านล่างของแผง Trim Aluminium พื้นผิวน่าสัมผัสนี้ จะสิ้นสุดแค่ใต้ช่องแอร์
3 วงกลม ตรงกลาง หน้าตา คล้ายกับปากปล่องท่อระบายอากาศ ในห้างสรรพสินค้า
แค่นั้น

alt

จากแผงประตูฝั่งขวา มองเข้ามาทางด้านซ้าย

สวิตช์กระจกหน้าต่างไฟฟ้า สามารถสั่งเลื่อนเป็นแบบ One-Touch ทั้งขาขึ้น
และขาลง ได้ครบทั้ง 4 บาน กระจกมองข้าง ปรับและพับเก็บได้ด้วยสวิตช์ไฟฟ้า
ในตำแหน่งติดกัน มองลงไปด้านล่าง บริเวณช่องวางของ จะเจอสวิตช์เปิดฝา
กระโปรงห้องโดยสารด้านหลัง ด้วยระบบไฟฟ้า ตอนกดเปิด ต้องมั่นใจว่า
คนที่ยืนรออยู่ท้ายรถ ออกห่างจากฝากระโปรงพอสมควร ไม่เช่นนั้น คุณอาจ
บาดเจ็บจากฝากระโปรงท้าย ดีดขึ้นแรงเกินไปได้

แผงควบคุมการปรับตำแหน่งเบาะ และหน่วยความจำ Memory Seat 3 ตำแหน่ง
อยู่ติดกันกับ มือจับเปิดประตู ทั้งฝั่งซ้าย และขวา ซึ่งจะมีไฟ Ambient Light สี
เหลืองอำพัน ส่องออกมาในยามค่ำคืน พร้อมกันกับมือจับเปิดประตูคู่หลัง

ไฟหน้า ยังคงใช้สวิตช์มือหมุน มี Parking Light พร้อมไฟหน้า เปิด – ปิด อัตโนมัติ
ตามสภาพแสงข้างนอกรถ มีไฟตัดหมอกหลังมาให้ พร้อมสวิตช์เปิด – ปิด ตำแหน่ง
เดียวกันกับสวิตช์ไฟหน้า

ถัดลงไป เป็นเบรกมือ แบบไฟฟ้า หรือ Parking Brake กดเพื่อสั่งให้ระบบทำงาน
และดึงสวิตช์ เข้าหาตัว เพื่อปลดเบรกมือออก

พวงมาลัยแบบ 3 ก้าน ยกชุดมาจาก SLK และ A-Class ใหม่กันทั้งดุ้น โดยไม่ต้อง
ออกแบบใหม่ให้เสียเวลา มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 375 มิลลิเมตร หุ้มด้วยหนังสีดำ
มีส่วนกระชับมือ พร้อมลายจุด ให้สากมือกว่าปกตินิดๆ ณ ตำแหน่ง 3 และ 9 นาฬิกา
เย็บหุ้มหนังด้วยด้ายสีแดง ขนาดกระชับมือ พื้นที่ประดับ Trim สีเงินนั้น ล้อมรอบ
ไปถึงสวิชต์ควบคุมชุดหน้าจอและเครื่องเสียงบนพวงมาลัย แถมขอบโค้งบริเวณ
ก้านด้านล่างยังถูกตัดตรง ให้ดูคล้ายพวงมาลัยรถแข่งมากขึ้นอีกด้วย

การปรับระดับสูง – ต่ำ ต้องใช้มือซ้าย คลำลงไปหาคันโยก ออกแรงดึงลงมา แล้ว
ปรับระยะสูง – ต่ำ รวมทั้ ระยะ ใกล้ – ห่าง จากตัวผู้ขับขี่ได้ ด้วยมือของคุณเอง
ไม่มีระบบไฟฟ้ามาช่วย หากคิดจะเปิดฝากระโปรงหน้า ต้องบอกไว้สักนิดว่า
ตำแหน่งคันโยกเปิดฝาห้องเครื่องยนต์ อยู่ถัดเข้าไปจากคอพวงมาลัยค่อนข้าง
ลึกมากๆ ต้องคลำดู ถึงจะเจอ เป็นตำแหน่งเดียวกันกับ A-Class ใหม่ ส่วน
แป้นคันเร่ง และแป้นเบรก เป็นแบบอะลูมีเนียม สไตล์สปอร์ต

คอพวงมาลัยฝั่งซ้าย ยังคงเป็นตำแหน่งที่อยู่อาศัยของทั้ง ก้านสวิชต์ไฟเลี้ยว ไฟสูง
และระบบบังคับใบปัดน้ำฝน (หมุนที่หัวก้านสวิชต์) ใบปัดน้ำฝนอัตโนมัติ พร้อม
Rain Sensor วัดปริมาณน้ำฝน เพื่อเพิ่มหรือลดการปัดให้เหมาะสม

ถัดลงมาเล็กน้อย ยังคงเป้น ก้านสวิชต์ ของทั้งระบบควบคุมความเร็วคงที่ Cruise
Control การใช้งานคือ ยกก้านสวิชต์ล็อกความเร็วที่ต้องการได้ทันที เพิ่มความเร็ว
ได้ด้วยการกระดกสวิชต์ ครั้งละ 1 ที ก็เพิ่มทีละ 1 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้ากระดก
จนสุดจะเพิ่มทีละ 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ถ้าต้องการลดความเร็ว ก็กดก้านสวิชต์ลง
โดยจะทำงานลดความเร็วแบบเดียวกัน คือลดทีละ 1 หรือ 10 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ถ้าต้องการยกเลิก ให้ดันสวิชต์ออกจากตัว ไปทางแผงมาตรวัด

ก้านสวิตช์เดียวกันนี้ ยังใช้ควบคุมระบบ ล็อกความเร็ว ตามต้องการ Speed Limit
Assist ในตัว เช่นเดียวกันกับ Mercedes-Benz รุ่นอื่นๆ การใช้งานก็คือ ถ้าต้องการ
ขับด้วยความเร็ว บนทางด่วน เช่นไม่ให้เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ก็กดก้านสวิชต์
ลงไป จนไฟสีเหลืองอำพันติดสว่างขึ้นมา แล้วยกก้านสวิชต์ กระดกขึ้นไปจนสุด
1 ครั้ง เพียงเท่านี้ ต่อให้เหยียบคันเร่งจมมิด ตะบี้ตะบันแค่ไหน ความเร็วของรถ
ก็จะล็อกอยู่ที่แค่ 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือที่เราตั้งค่าไว้เท่านั้น เหมาะกับการ
ขับขี่ในพื้นที่ เข้มงวดเรื่องความเร็ว เช่นทางด่วนวงแหวนบางพลี – สุขสวัสดิ์
ที่อนุโลมให้เร็วได้ไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง เท่านั้น ถ้าต้องการยกเลิก กดที่
หัวก้านสวิชต์ ให้ไฟสีอำพันดับลง

alt

มาตรวัดเป็นแบบ 2 วงกลม พื้นขาว ซ้อนทับวงกลมสีเทาไว้ด้านในเป็น โดนัท
White Chocolate ส่วน Font ตัวเลขที่ใช้ อ่านได้ง่าย สบายตา แสงที่ใช้
ในยามค่ำคืน เป็นแสงไฟสีขาวนวล แต่เข็มวัด จะเรืองแสงสีขาว

หน้าจอ Multi Information Display ตรงกลาง ควบคุมด้วยสวิชต์ฝั่งซ้าย
บนก้านพวงมาลัย สั่งการได้ ไม่ว่าคุณคิดจะเปลี่ยนคลื่นวิทยุ เปลี่ยนเพลง เซ็ต
ตั้งต่ามาตรวัดอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง ทั้งแบบ Real-Time และแบบเฉลี่ย
ระยะทางที่รถยังแล่นได้อีกจากน้ำมันที่เหลืออยู่ในถัง หรือแม้แต่บอกข้อมูล
ของระบบต่างๆ ในตัวรถ เช่น ระบบเตือนความดันลมยาง ระบบเตือนอาการ
เหนือยล้าให้ผู้ขับขี่จอดแวะพักถ้าขับมานานเกินไป Attention Assist ระบบ
เตือนนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการ ASSYST โดยจะเเตือน ทุกครั้งที่คุณ
ติดเครื่องยนต์ ในช่วง ใกล้จะครบกำหนดเข้าตรวจเช็ค ทุกๆ 10,000 กิโลเมตร
ฯลฯ

นอกจากนี้ ยังมีมาตรวัดความเร็ว เป็นตัวเลข Digital หน่วยเป็น กิโลเมตร/
ชั่วโมง มาให้ ทั้งบนจอใหญ่ และมุมบนฝั่งซ้าย เหนือมาตรวัดความเร็ว อีก
1 ตำแหน่ง มีมาตรวัดอุณหภูมิภายนอกรถ มาตรวัดปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรวัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น พร้อมไฟเตือนเมื่อ Overheat มาให้ รวมทั้ง
นาฬิกา ครบถ้วนสรรพ ในสิ่งที่ผู้ขับขี่จำเป็นต้องรับรู้

alt

ช่องเก็บของบริเวณผู้โดยสารฝั่งซ้าย ยกชุดมาจาก A-Class เมื่อใส่สมุดคู่มือ
ประจำรถ และเอกสารกรมธรรมประกันภัยแล้ว จะเหลือพื้นที่อีกราวๆ 40%
สำหรับข้าวของจุกจิกอื่นๆ ถือว่า มีขนาดปานกลาง

เครื่องปรับอากาศ เป็นแบบ THERMATIC ธรรมดา สวิตช์มือหมุน ซึ่งเพียงพอ
ต่อการใช้งานในบ้านเรา ไม่จำเป็นต้องใช้แอร์แยกฝั่ง เพราะแค่หมุนปรับอุณหภูมิ
ไปที่ 22 องศาเซลเซียส ก็แทบจะหนายตายห่านอยู่ล้วครับ แต่ถ้าปรับไปเป็น 24
องศาเซลเซียสปุ๊บ ลมร้อนจากห้องเครื่องยนต์ จะเข้ามาแทนที่ในทันที จนเหงื่อ
เริ่มออกเลยละ…หาความพอดีได้บ้างไหมเนี่ย?

เครื่องเสียง เป็นแบบ Audio 20 ตามมาตรฐานเดิม ประกอบด้วย วิทยุ AM/FM
พร้อมเครื่องเล่น CD / MP3 / WMA / AAC แบบ 6 แผ่น แผงควบคุมเป็นสวิตช์
12 ปุ่ม 8 ลำโพง มีระบบ RDS/twin tuner และระบบข้อมูลข่าวสารจราจร Traffic
Information decoder (TP/TA) พร้อมหน้าจอมอนเตอร์สี TFT เส้นผ่าศูนย์กลาง
14.7 เซ็นติเมตร ควบคุมการทำงานด้วยสวิตช์มือหมุนแล้วกด (Controller) บริเวณ
คอนโซลกลาง มีช่องเชื่อมต่อ Aux-in กับ USB บริเวณกล่องเก็บของ คอนโซล
กลาง อีกทั้งเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่าน Bluetooth ได้อีกด้วย

คุณภาพเสียง จัดอยู่ในเกณฑ์ ดีใช้ได้อยู่หรอกครับ เสียงเบส มีมิติใช้ได้ แม้ว่า
เสียงใส อาจจะเกือบใกล้เคียงเครื่องเสียงชั้นเลิศ ก็ตาม

แต่ความน่ารำคาญมันอยู่ตรงที่ การเชื่อมต่อ Bluetooth ซึ่งยังต้องใช้เวลานาน แถมเมื่อ
เชื่อมต่อได้แล้ว กลับมีอาการ “สัญญาณหลุด หรือขาดๆหายๆ” ให้เจอ แล้วต้องทำการ
กดเชื่อมต่อกันใหม่ จริงอยู่ว่า ถ้าต้องการเปลี่ยนเพลง สามารถเลือกได้จากสวิชต์บน
ฝั่งขวาของพวงมาลัย แต่ไม่มีการแสดงชื่อเพลงขึ้นบนหน้าจอให้เลย ต้องเดาเอาเอง
หรือไม่ก็ต้องยกโทรศัพท์ขึ้นมาดู แล้วจัดการจิ้มเลือกให้เสร็จ แล้วค่อยกลับไปขับรถ
กันต่อ ยิ่งเมื่อต้องทำงานผ่านระบบหน้าจอ COMAND ที่ติดตั้งมาให้เป็นอุปกรณ์
มาตรฐาน สำหรับเวอร์ชันไทย ซึ่งโดยธรรมชาติของตัวมันเอง ก็ใช้งานยากอยู่แล้ว
เมื่อรวม 2 ความน่าปวดหัวเข้าด้วยกัน ผมมองว่า ในการใช้งานจริง มันไม่สะดวก
อย่างที่ควรเป็นเอาเสียเลย!

อาการทั้งหมดนี้ เหมือนเช่นที่เคยพบใน A-Class มาแล้ว ทั้งสิ้น…

alt

ข้างลำตัวของผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า เป็นกล่อง วางของ พร้อมช่องเสียบ USB
และ AUX จุกล่อง CD ได้ราวๆ ไม่เกิน 10 กล่อง มีช่องวางแก้วน้ำ 2 ตำแหน่ง สามารถ
ดึงพลาสติกล็อกตำแหน่งแก้วตรงกลางออกได้ วางโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ฝากล่องด้านบน
สามารถเลื่อนขึ้นหน้า – ถอยหลังได้ เพื่อวางแขนให้สบาย ในตำแหน่งที่เหมาะสม

บริเวณเดิม ที่เคยติดตั้งคันเกียร์ กลายเป็น ช่องเก็บของแบบมีฝาปิด 2 ตำแหน่ง แถม
ยังวางแก้วน้ำทรงกระบอกขนาดใหญ่ได้อีกด้วย ทั้งหมดนี้ ยกชุดมาจาก A-Class
ใหม่ ทั้งสิ้น

alt

มองขึ้นไปด้านบน แผงบังแดดทั้ง 2 ฝั่ง มีฝาปิด และไฟแต่งหน้ามาให้ ทำงานแบบ
เดียวกันกับ A-Class เป๊ะ คือ ถ้าดันแผงแต่งหน้าให้เอียงมากไป ไฟจะดับเอง ถ้า
ดึงแผงบังแดด ออกมาเพื่อหมุนไปบังแดดจากด้านข้างหน้าต่างรถ ไฟจะดับเอง
และถ้าพับแผงบังแดดขึ้นเก็บ ไฟก็จะดับเอง

ไฟส่องสว่าง ทั้งบริเวณด้านหน้า และด้านหลัง ควบคุมได้จากแผงสวิตช์ด้านหน้า
มีไฟอ่านแผนที่ มาให้รวม 4 ตำแหน่ง ทั้งหน้า – หลัง และไฟส่องสว่าง ใต้กระจก
มองหลังอีก 2 จุด ดูเหมือนสว่าง แต่ความจริงแล้ว ถ้าใช้กล่องถ่ายภาพ Go Pro
ตอนกลางคืน จะมองเห็นหน้าคนขับ ไม่ชัดเลย

CLA 250 AMG เวอร์ชันไทย ยังติดตั้งอุปกรณ์ที่หลายคนอยากได้กัน มาให้จาก
โรงงาน นั่นคือ หลังคากระจก Panoramic Glass roof มีม่านบังแดดแบบผ้ายืด
ไนลอนสีดำ ไว้เลื่อนปิด-เปิด ด้วยไฟฟ้า ด้วยสวิตช์ One Touch เพื่อบังแดดใน
ตอนกลางวัน และตัว Sunroof สามารถยกขึ้น รวมทั้งเปิดกางออกได้ แต่เฉพาะ
แค่บริเวณผู้โดยสารคู่หน้า เท่านั้น

alt

ทัศนวิสัยด้านหน้า มาในแนวเดียวกันกับ A-Class  มีความสูงของกระจกบังลมหน้า
อยู่นิดหน่อย แต่ถือว่า การมองเห็นทางข้างหน้า ยังอยูในเกณฑ์ดีใช้ได้ การกะระยะ
ต่างๆ เหมือนรถเก๋งทั่วไป เพียงแต่ ถ้าปรับเบาะให้สูงหน่อย คุณจะเห็นฝากระโปรง
ด้านหน้าชัดเจน และแนวสันขอบฝากระโปรงหน้า พอจะช่วยให้คุณกะระยะได้บ้าง

ตำแหน่งของ จอมอนิเตอร์ กับชุดมาตรวัด อยู่ในระดับเหมาะสม และไม่ก่อให้เกิด
การละสายตาจากถนน นานเกินจำเป็น

alt

เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ฝั่งขวา แอบบดบังรถที่แล่นสวนมาจากทางโค้งขวา บน
ถนนแบบสวนกัน 2 เลน อยู่อย่างชัดเจน

กระจกมองข้าง มีขนาดกำลังดี เห็นรถที่ตามหลังมาได้พอประมาณ แต่ขอบของกรอบ
กระจกมองข้างด้านใน แอบเบียดบางขอบมุมฝั่งขวาของบานกระจกเข้ามาบ้าง ขึ้นอยู่
กับว่า จะปรับกระจกมองข้าง เบี่ยงออกไปให้เห็นตัวถังรถมากน้อยแค่ไหน

alt

เสาหลังคาคู่หน้า A-Pillar ฝั่งซ้าย บดบังรถที่แล่นสวนมา ขณะเลี้ยวกลับ อยู่บ้าง นิดหน่อย
ขึ้นอยู่กับ รูปแบบของจุดเลี้ยวกลับ ถ้าเกาะกลางถนนไม่ใหญ่โต เสาจะไม่บังเลย แต่ถ้า
เกาะใหญ่โต เป็นคูน้ำ หรือ เสาตอม่อรถไฟฟ้า BTS อาจจะมีบางส่วนของเสา ไปบังอยู่
แต่คุณจะยังมองเห็นรถที่แล่นสวนมาได้

กระจกมองข้าง ฝั่งซ้าย ก็เจอปัญหาเดียวกันกับ ฝั่งขวา คือ ถ้าปรับมุมให้เห็นตัวถังรถ
น้อยๆ กรอบด้านใน ก็จะไปกินพื้นที่บานกระจกฝั่งซ้ายมากขึ้นตามนั้น

alt

ส่วน เสาหลังคาด้านหลัง C-Pillar นั้น แม้จะมีรูปทรงต่างจาก A-Class แต่ก็มีขนาดใหญ่
แถมพนักศีรษะด้านหลัง ก็ยังเชื่อมเป็นชิ้นเดียวกับเบาะหลัง ไม่สามารถแยกพับเก็บได้
เหมือน Mercedes-Benz รุ่นอื่นๆ ทำให้ไปบดบังพื้นที่กระจกบังลมหลังพอสมควร แถม
พื้นที่กระจกหน้าต่างบานประตูคู่หลัง ก็น้อยมาก ทัศนวิสัยด้านหลัง จึงใกล้เคียงกับรุ่น
A-Class คือถือว่าค่อนข้างไม่ดีนัก

ถ้าจะถอยหลัง แม้จะมีกล้องช่วยถอย แต่อาจต้องมีความชำนาญในระดับพอสมควร
เพราะ CLA 250 คันที่เราลองขับกันนี้ ไม่มีระบบ สัญญาณเตือนขณะถอยเข้าจอด
Parktronic มาให้เลย

alt

********** รายละเอียดทางวิศวกรรม และการทดลองขับ **********

CLA-Class เป็นรถยนต์ Mercedes-Benz ที่ใช้พื้นตัวถังสำหรับรถยนต์ขับเคลื่อน
ล้อหน้าขนาดเล็ก MFA Platform ดังนั้น ทีมวิศวกรจึงออกแบบรถยนต์รุ่นนี้ เพื่อ ให้
สามารถใช้เครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบกันสะเทือนและโครงสร้างวิศวกรรม ต่างๆ
ร่วมกันกับทั้ง A-Class และ B-Class ใหม่ ได้เกือบทั้งหมด และมีบางส่วนที่อาจ
แตกต่างกันบ้างตามและรุ่น

ในตลาดทั่วโลก CLA-Class จะมีเครื่องยนต์ให้เลือกทั้งหมด 5 แบบ 8 รุ่นย่อย โดย
แบ่งเป็น เบนซิน 3 ขนาด และ Diesel Turbo 2 ขนาด บนพื้นฐานระบบขับเคลื่อน
ล้อหน้า วางเครื่องยนต์ตามขวาง ทั้งหมด ไม่เว้นแม้แรุ่น 4 MATIC ทุกขุมพลัง จะมี
ให้เลือกได้ทั้งเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และ เกียร์อัตโนมัติ บนพื้นฐานจากเกียร์ธรรมดา
แบบคลัชต์คู่ Dual Clutch ในชื่อ 7G – DCT ดังนี้

– CLA180 วางเครื่องยนต์ รหัส M270 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,595 ซีซี
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 73.7 มิลลิเมตร กำลังอัด 10.3 : 1 พ่วงระบบอัดอากาศ
Turbocharger พร้อม Intercooler พลกำลังสูงสุดอยู่ที่ 90 กิโลวัตต์ / 122 แรงม้า
(PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 200 นิวตันเมตร (20.39 กก.-ม.) ที่ 1,250 –
4,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน 9.3 วินาที ความเร็วสูงสุด
210 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 126 – 130 กรัม / กิโลเมตร

– CLA180 BlueEFFICIENCY Edition เครื่องยนต์ รหัส M270 บล็อค 4 สูบ DOHC
16 วาล์ว 1,595 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 73.7 มิลลิเมตร กำลังอัด 10.3 : 1
พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler  90 กิโลวัตต์ / 122 แรงม้า
(PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 200 นิวตันเมตร (20.39 กก.-ม.) ที่ 1,250 –
ถึง 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน 9.9 วินาที ความเร็วสูงสุด
190 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ถูกล็อคไว้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำแค่เพียง
118 กรัม / กิโลเมตร

–  CLA200 เครื่องยนต์รหัส M270 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,595 ซีซี
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 73.7 มิลลิเมตร กำลังอัด 10.3 : 1 พ่วงระบบ
อัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler 115 กิโลวัตต์ / 156 แรงม้า
(PS) ที่ 5,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร (25.49 กก.-ม.) ที่
1,250 – 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน 8.5 วินาที
ความเร็วสูงสุด 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 127 – 131 กรัม /
กิโลเมตร

–  CLA250 เครื่องยนต์รหัส M270 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี
กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 92.0 มิลลิเมตร กำลังอัด 9.8 : 1 พ่วงระบบอัด
อากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler พลกำลังสูงสุดอยู่ที่ 155 กิโลวัตต์ /
211 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร (35.69
กก.-ม.) ที่ 1,200 – 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน
6.7 วินาที ความเร็วสูงสุด 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 142 ถึง
144 กรัม / กิโลเมตร

–  CLA250 4MATIC เครื่องยนต์รหัส M270 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว
1,991 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 92.0 มิลลิเมตร กำลังอัด 9.8 : 1 พ่วง
ระบบอัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler พลกำลังสูงสุดอยู่ที่ 155
กิโลวัตต์ / 211 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตร
(35.69 กก.-ม.) ที่ 1,200 – 4,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ที่โรงงานเคลมไว้คือ 6.6 วินาที ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อย
ก๊าซ CO2 154 กรัม / กิโลเมตร

– CLA45 AMG 4MATIC เครื่องยนต์รหัส M133 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว
1,991 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 92.0 มิลลิเมตร กำลังอัด 8.6 : 1 พ่วงระบบ
อัดอากาศ Twin-scroll Turbocharger จาก BorgWarner พร้อม Intercooler กำลัง
สูงสุดอยู่ที่ 265 กิโลวัตต์ / 360 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 450
นิวตันเมตร (45.88 กก.-ม.) ที่ 2,250 – 5,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/
ชั่วโมง ที่โรงงานเคลมไว้คือ 4.6 วินาที ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
(ถูกล็อคไว้ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์) ปล่อยก๊าซ CO2 161 – 165 กรัม / กิโลเมตร

– CLA200 CDI เครื่องยนต์ Diesel รหัส OM 651 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว
1,796 ซีซี กำลังอัด 16.2 : 1 พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler
100 กิโลวัตต์ / 136 แรงม้า (PS) ที่ 3,600 – 4,000 รอบ/นาที แรงบิด 300 นิวตันเมตร
(30.59 กก.-ม.) ที่ 1,600 – 3,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้
9.3 – 9.5 วินาที ความเร็วสูงสุด 210 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำ เพียง
115 – 122 กรัม / กิโลเมตร

– CLA220 CDI เครื่องยนต์ Diesel รหัส OM 651 บล็อค 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว
2,143 ซีซี กำลังอัด 16.2 : 1 พ่วงระบบอัดอากาศ Turbocharger พร้อม Intercooler
125 กิโลวัตต์ / 170 แรงม้า (PS) ที่ 3,400 – 4,000 รอบ/นาที แรงบิด 350 นิวตันเมตร
(35.69 กก.-ม.) ที่ 1,600 – 3,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน
8.2 วินาที ความเร็วสูงสุด 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 ต่ำมาก เพียงแค่
109 – 117 กรัม / กิโลเมตร

alt

แต่ สำหรับเวอร์ชันไทย จะมีขุมพลังให้เลือก 2 แบบ

เริ่มกันที่รุ่น CLA45 AMG 4 MATIC วางเครื่องยนต์ รหัส M133 บล็อก 4 สูบ
DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี กระบอกสูบ x ช่วงชัก 83.0 x 92.0 มิลลิเมตร
กำลังอัด 8.6 : 1 พ่วงระบบอัดอากาศ Twin-scroll Turbocharger จาก
BorgWarner พร้อม Intercooler กำลังสูงสุด 265 กิโลวัตต์ / 360 แรงม้า
(PS) ที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุด 450 นิวตันเมตร (45.88 กก.-ม.) ที่
2,250 – 5,000 รอบ/นาที อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใน 4.6 วินาที
ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง (ล็อกไว้ด้วยระบบอีเล็กโทรนิคส์) ปล่อยก๊าซ
CO2 161 – 165 กรัม / กิโลเมตร

ส่วนรุ่นที่วางขุมพลังหลัก ซึ่งใช้พื้นฐานเดียวกัน จากเครื่องยนต์รหัส M270 ที่ถูก
ยกออกมาจากฝากระโปรงหน้าของ A250 ด้วย ถูกวางอยู่ในรุ่น CLA 250 คันนี้

นั่นคือ เครื่องยนต์ M270 บล็อก 4 สูบ DOHC 16 วาล์ว 1,991 ซีซี กระบอกสูบ x
ช่วงชัก 83.0 x 92.0 มิลลิเมตร กำลังอัด 9.8 : 1 พ่วงระบบอัดอากาศแบบ Turbo 
Charger พร้อม Intercooler

พลกำลังสูงสุดอยู่ที่ 155 กิโลวัตต์ / 211 แรงม้า (PS) ที่ 5,500 รอบ/นาที แรงบิด
สูงสุด 350 นิวตันเมตร (35.69 กก.-ม.) ที่ 1,200 – 4,000 รอบ/นาที

alt

ส่งกำลังสู่ระบบขับเคลื่อนล้อหน้า (ครับ ใช่ เขียนไม่ผิด ขับเคลื่อนล้อหน้า แบบเดียวกับ
B-Class และ A-Class ใหม่ นั่นแหละ) ด้วยเกียร์อัตโนมัติแบบ 7 จังหวะ Dual Clutch
7G-DCT ที่มีคันเกียร์เป็น Joystick เล็ก ติดตั้งที่คอพวงมาลัยฝั่งขวา อัตราทดเกียร์มีดังนี้

เกียร์ 1……………..3.86
เกียร์ 2……………..2.43
เกียร์ 3……………..2.67
เกียร์ 4……………..1.05
เกียร์ 5……………..0.78
เกียร์ 6……………..1.05
เกียร์ 7……………..0.84
ถอยหลัง ………….3.38
เฟืองท้าย 1……….4.133 (เกียร์ 1,2,4,5 และ R)
เฟืองท้าย 2……….2.385 (เกียร์ 3,6,7)

เกียร์อัตโนมัติ 7G-DCT มาพร้อมโปรแกรมการขับขี่ E / S / M (Economy / Sport /
Manual) โดยแบ่งตามการทำงาน 3 แบบ ดังนี้

E = ECONOMY: เกียร์จะทำงานโดยเน้นความนุ่มนวล ตัดเปลี่ยนเกียร์ไว เน้นให้
เจ้าของรถ ได้รับความประหยัด จากการขับขี่ในรอบเครื่องยนต์ต่ำๆ เกียร์ทำงานโดย
อัตโนมัติ

S = SPORT: เกียร์จะทำงานเพื่อเรียกอัตราเร่งให้ทันใจมากขึ้น โดยจะเปลี่ยนเกียร์
ในรอบที่สูงขึ้น ลากรอบก่อนเปลี่ยนเกียร์เพิ่มขึ้น และการตอบสนองของคันเร่งให้
ไวขึ้น  เกียร์ยังคงทำงานโดยอัตโนมัติ

M = MANUAL: ผู้ขับขี่สามารถเปลี่ยนเกียร์ได้เองเต็มรูปแบบ เหมือนเกียร์ธรรมดา
ผ่านแป้น Paddle Shift หลังพวงมาลัย แถ้าลากรอบขึ้นไปจนสุดถึงขีด Red Line เกียร์
จะตัดเปลี่ยนขึ้นไปให้เอง อัตโนมัติ เพื่อป้องกันความเสียหายของเกียร์ในระยะยาว

การทำงานของ Sport Mode คราวนี้ เห็นความแตกต่างมากกว่า ใน Mercedes-Benz
รุ่นก่อนๆ ที่เราเคยลองขับและทำบทความรีวิวกันไป ทันทีที่กดปุ่มไปเป็น Mode S หรือ
Sport เกียร์จะเปลี่ยนลงมาต่ำกว่าเกียร์เดิม 1 จังหวะ รอบเครื่อง เพิ่มขึ้นเล็กน้อย สมมติ
ว่าถ้าคุณขับอยู่แถวๆ 2,000 รอบ/นาที รอบเครื่องจะเพิ่มไปเป็นเกือบๆ 3,000 รอบ/นาที
ให้เอง ขณะเดียวกัน คันเร่ง ก็จะไวขึ้นกว่า Mode E ชัดเจนมากๆ พร้อมให้คุณเร่งแซง
หรือใช้งานเมื่อต้องการให้รถ ตอบสนองไวกว่าปกติสักหน่อย

แต่ถ้ายังไม่ทันใจ กดปุ่มเข้า Mode M หรือ Manual ไปเลย คราวนี้ คุณสามารถเลือกเปลี่ยน
ตำแหน่งเกียร์ได้เอง จากแป้น บวก – ลบ Paddle Shift ด้านหลังพวงมาลัย ฝั่งซ้ายเป็น ลบ
หรือเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำ ฝั่งขวา เป็น บวก เพิ่มตำแหน่งเกียร์ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม หากคุณ
ลากรอบเครื่องยนต์ไปจนถึง จุดที่สมองกลถูกโปรแกรมให้เปลี่ยนเกียร์ขึ้นไป เกียร์ก็จะ
เปลี่ยนขึ้นไปให้คุณเอง ไม่ค้างไว้ที่เกียร์เดิมจนเครื่องยนต์และเกียร์ต้องรับภาระหนัก
ในการครางกระเส่าให้คุณได้ยิน เหมือนในรถยนต์หลายๆคันแน่ๆ

รวมทั้งมีปุ่ม ECO เมื่อกดลงไปจนมีไฟสีเขียวสว่างขึ้นที่ปุ่ม และมีตัวอักษร ECO ติดขึ้น
ข้างตำแหน่งเกียร์ บนจอมาตรัด MID กลาง แม้คุณจะใช้โปรแกรมเกียร์ โหมด E หรือ S
ก็ตาม เมื่อจอดติดไฟแดง โปรแกรม ECO จะสั่งให้ระบบ Idle Start Stop ดับเครื่องยนต์
ให้ และจะสั่งติดเครื่องยนต์ให้เองอีกครั้ง ทันทีที่ถอนเท้าจากแป้นเบรก แต่จะไม่ทำงาน
ให้ในโหมด M อาการสั่นสะเทือนขณะติดเครื่องยนต์อีกครั้ง ค่อนข้างชัดเจนเอาเรื่อง

ตัวเลขจากโรงงานระบุว่า อัตราเร่ง 0 – 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำได้ใน 6.7 วินาที 
ความเร็วสูงสุด 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง ปล่อยก๊าซ CO2 142 – 144 กรัม / กิโลเมตร

แล้วตัวเลขในการทดลองบนถนนเมืองไทย จะเป็นอย่างไร? เราทำการจับเวลากันใน
ช่วงกลางดึก เหมือนเช่นเคย มีผู้ขับขี่และผู้โดยสาร รวม 2 คน น้ำหนักรวมทั้งคู่ไม่เกิน
170 กิโลกรัม เปิดแอร์ เปิดไฟหน้า อุณหภูมิอยู่ที่ 26.5 องศาเซลเซียส และผลลัพธ์
ที่ได้ เมื่อเทียบกับพี่น้องร่วมตระกูล รวมทั้งคู่แข่ง มีดังนี้

alt alt

จากตัวเลขข้างต้นจะพบว่า CLA 250 ทำผลงานออกมาได้ไม่เลวเลยทีเดียว ตัวเลข
อยู่ในกลุ่มต้นๆ ของบรรดา Premium Compact ประเภทเน้นสมรรถนะ ทั้งหลาย
เพียงแต่ ตัวเลขอาจด้อยกว่า A250 AMG Sport น้องร่วมแพล็ตฟอร์ม ไปเพียงแค่
เศษเสี้ยววินาที นับว่าไม่ถึงกับแย่นัก หากมองแค่ตัวเลขจากจุดหยุดนิ่ง จนถึง
100 กิโลเมตร/ชั่วโมง และจาก 80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในโหมด S

แน่นอนว่า ยังเอาชนะ Volvo V50 T5 ซึ่งได้ชื่อว่าแรงสุดในบรรดา Volvo ที่ขาย
อยู่ในเมืองไทยตอนนี้ ราวๆ เกือบๆ 1 วินาที ทำตัวเลขได้ดีกว่า BMW 320d F30
และ 320i F30 แต่อาจยังไม่แรงพอที่จะงัดข้อกับ 328i F30 รวมทั้งบรรดาพี่น้อง
ร่วมเครือ Volkswagen ได้ แต่เพียงแค่นี้ ก็ถือว่า ไม่ขี้เหร่แล้ว ดีกว่าที่คาดไว้อีก
นิดหน่อยด้วยซ้ำ

alt

การไต่ขึ้นไปยังความเร็วสูงสุด มันทรมาณน้อยกว่า A250 ที่ผมเคยเจอมานิดหน่อย
มาก เพราะ A250 นั้น กว่าจะถึงความเร็วสูงสุดของเกียร์ 5 (235 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
เราต้องลุ้นกันแทบตาย มันนานมากๆ แล้วพอเข้าเกียร์ 6  รถยังไต่ไปได้ต่อ ถึง 246  
กิโลเมตร/ชั่วโมง มันช่างเป็นช่วงเวลาที่นานจับจิต แอบลุ้นด้วยความหวาดเสียวเยี่ยว
จะราดมากๆ ว่าเมื่อไหร่จะ Top Speed ซะทีว๊าๆๆๆ อยากจะจบการทดลองแล้วๆๆ

แต่ CLA 250 นั้น แม้จะต้องตัดเปลี่ยนเกียร์ 5 ที่ความเร็ว 236 กิโลเมตร/ชั่วโมง
พอๆกันกับ A250 แต่ ช่วงที่ไหลต่อเนื่องขึ้นไปแตะความเร็วสูงสุดบนมาตรวัด คือ
246 กิโลเมตร/ชั่วโมง นั้น กลับใช้เวลาไม่นานเท่า ส่วนหนึ่งต้องยกคุณความดีให้
ส่วนบั้นท้ายที่ออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ มีส่วนช่วยให้อากาศไหลผ่านได้ดี
ด้วยการจัดการที่ดี และช่วยผลักดันให้ตัวรถ แตะขีดสุดได้เร็วกว่าเจ้า A250 ชัดเจน

ย้ำกันตรงนี้เหมือนเช่นเคยว่า เราทำการทดลองความเร็วสูงสุดให้ดูกัน ด้วยเหตุผลของ
การให้ความรู้ เพื่อการศึกษา ไม่ได้กดแช่กันยาว หรือมุดกันจนเสี่ยงอันตรายต่อผู้ร่วมใช้
เส้นทาง เราระมัดระวัง และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ และเราไม่อยากเห็นใครต้อง
เสี่ยงชีวิตมาทำตัวเลขแบบนี้กันเอาเอง ดังนั้น อย่าทำตามอย่างเป็นอันขาด เพราะหาก
พลาดพลั้งขึ้นมา อันตรายถึงชีวิตคุณเอง และเพื่อนร่วมทาง เราจะไม่รับผิดชอบในความ
ปลอดภัยของคุณแต่อย่างใดทั้งสิ้น! อีกทั้งเราไม่สนับสนุน ให้ใครมาทดลองทำความเร็ว
สูงสุด แบบนี้ เพราะเป็นเรื่องผิดกฎหมายจราจร

alt

ในการขับขี่ใช้งานจริง อัตราเร่ง ก็เหมือนกันกับ A250 AMG Sport นั่นละครับ
แรงดึงที่มีมาให้ เหมือนกันไม่มีผิดเพี้ยน ราวกับถ่ายเอกสาร ด้วยเครื่อง Xerox
รุ่นเดียวกันเป๊ะ มันพร้อมจะพาคุณพุ่งพรวดไปข้างหน้าแบบหลังติดเบาะ

แรงดึงที่พารถพุ่งขึ้นไปข้างหน้า มีมากพอจะทำให้คุณเกิดอาการหลอนเล็กๆ
ได้เมื่อเหลือบมองลงมายังมาตรวัดอีกที..อ้าว! ตายห่า 170 กิโลเมตร/ชั่วโมง
กันตั้งแต่เมื่อไหร่วะ! ต้องรีบชะลอความเร็วลงมาทันที ก่อนจะพุ่งไปเจิม
บั้นท้ายรถคันข้างหน้า  ต้องยอมรับเลยว่า อัตราเร่งที่มีมาให้นั้น ชวนให้เกิด
ความสนุก ทุกครั้งที่ต้องเหยียบคันเร่ง

เพียงแต่ว่า ความสนุกดังกล่าว จะเกิดขึ้นในรูปแบบใด มันขึ้นอยู่กับการเลือกใช้
โปรแกรมเกียร์ ให้เหมาะสมกับลักษณะการขับขี่ของคุณ

ถ้าอยากขับไปเรื่อยๆ ช้าๆ สบายๆ เน้นประหยัดน้ำมัน กดปุ่มเกียร์เป็นโหมด E
แถมด้วยสวิตช์ ECO ให้ไฟสีเขียว ติดสว่างขึ้นมา คันเร่งจะทำตัวเป็นลุงชราแก่ๆ
เนิบๆ ถ้าเหยียบคันเร่งแบบ ค่อยเป็นค่อยไป รถจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเรื่อยๆ
แต่ถ้าต้องการอัตราเร่ง ก็คงต้องเหยียบให้ลึกมากๆ จนแทบจะสุดระยะเหยียบ

ถ้าอยากขับไปแบบปกติ กดปุ่มยกเลิกโหมด ECO ออก คันเร่งจะหน่วงกว่าเดิม
การตอบสนองจะช้า ประมาณ 1 วินาที แต่ยังสามารถเรียกพละกำลังออกมาได้
เพียงแต่ต้องเหยียบคันเร่งลงไปราวๆ กึ่งกลางของระยะเหยียบทั้งหมดขึ้นไป
จนถึงจมมิดติดพื้นรถ

ถ้าอยากขับแบบสนุกๆ เน้นความทันอกทันใจ สั่งคันเร่งเมื่อใด รถต้องพุ่งไป
แทบจะในทันที ให้กดโหมด S ถ้าขี้เกียจเปลี่ยนเกียร์เอง หรือกดไปโหมด M
เพื่อเปลี่ยนเกียร์เองจากแป้น Paddle Shift หลังพวงมาลัยไปเลย

เรียนตามตรง ผมไม่ชอบนิสัยของคันเร่ง Mercedes-Benz ในโหมด E เลย
เพราะมันหน่วงเกินเหตุ การตอบสนอง Lag ไปถึง 1 วินาที บางจังหวะที่ผม
ต้องการอัตราเร่งในปัจจุบันทันด่วน ผมต้องกดคันเร่งเต็มมิดตีน แล้วต้องรอ
อีก 1 วินาที จนกว่าเครื่องยนต์จะรับรู้ และแทงเรื่องส่งไปให้ลิ้นปีกผีเสื้อ
ไฟฟ้า เปิดอ้ากว้างๆ จนสุด เนี่ยนะ? มันใช่เรื่องแล้วหรือ?

ถ้าใครจะย้อนผมกลับมาว่า แล้วทำไมไม่ปรับเข้าโหมด S ไปแทนละ ผมก็จะ
สวนกลับไปว่า “แล้วในช่วงวินาทีคับขัน ที่จะต้องพาตัวเอง และตัวรถให้พ้น
จากสถานการณ์คับขันข้างหน้าหนะ มันจะมีสักกี่ครั้ง ที่มือคุณจะไว พอให้
เอื้อมมากดปุ่ม เปลี่ยนโปรแกรมเกียร์ ซึ่งก็ติดตั้งอยู่ไกลจากมือผู้ขับขี่มากไป
จนต้องเหลือบสายตาลงมามองขณะจะกดปุ่ม แถมยังต้องรอการตอบสนอง
อีกเสี้ยววินาทีตามมาด้วยแหนะ!”

มีทางเดียวก็คือ ผมต้องกดปุ่มเข้าโหมด S ทิ้งเอาไว้ตลอดเวลา แต่นั่นก็จะ
ทำให้เข็มน้ำมันลดลงรวดเร็วกว่าปกติอย่างชัดเจน

แล้วเมื่อเข้าโหมด S หากต้องการขับขี่ในเมือง บางครั้ง คันเร่งก็ยังมีอาการ
Lag อยู่นิดนึงให้เห็น ขึ้นอยู่กับว่า คุณเหยียบคันเร่งแบบใด ถ้าใช้วิธีค่อยๆ
เดินคันเร่งลงไปช้าๆ อาการจะไม่มากนัก แต่ถ้าเหยียบลงไปแบบฉับพลัน
ทันด่วน อาจเจออาการพุ่งพรวดพราดแบบที่ผมเรียกว่า “ทะเล่อทะล่า”
ผิดจังหวะจะโคนที่ตั้ใจไปเสียหมด เกือบไปทิ่มมอเตอร์ไซค์ที่เลี้ยวฟ้าบ
ออกมาจากซอย ก็สองสามหน

เมื่อรถทำตัวเหมือน วัยรุ่นอารมณ์ร้อน เอาแต่ใจตน ทำให้คนขับเอง ก็เริม
เกิดอาการหงุดหงิด จากความไม่ได้ดังใจ จนเริ่มก่อตัวเป็นอาการฉุนเฉียว
อารมณ์เสีย ก่อให้เกิดความรู้สึกว่า ฉันอยากจะรีบไปให้ถึงที่หมาย โดยไว
ให้เร็วที่สุด ไม่สงไม่สนมันแล้ว ความแรงอะไรก็ตาม หน้าที่ของความแรง
ในตอนนี้ ก็แค่พาฉันให้ไปถึงจุดหมายก็พอ!

ว่าแล้ว ผมก็เหยียบคันเร่งเต็มมิด CLA 250 ก็พุ่งพรวด เข็มความเร็วไต่
ขึ้นอย่างรวดเร็ว เผลอแป็บเดียว 170 กิโลเมตร/ชั่วโมง อีกแล้ว ก็ต้อง
ยก และถอนเท้าขึ้นมาจากคนเร่ง เพื่อมาเหยียบเบรก ชะลอให้เท่ากับ
รถเก๋ง หรือกระบะ ที่แล่นอยู่เลนขวา ความเร็ว 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ทั้งที่ ข้างหน้า ก็โล่ง จนแทบจะปล่อยพื้นที่ว่างๆ ให้คุณพี่ ธงชัย ใจดี
แกโชว์วงสวิง แม่มกลางทางด่วนนี่เลยมั้ง!

พอตบออกเลนซ้าย ถ้าหักพวงมาลัยธรรมดาไม่มากนัก รถก็พุ่งเปลี่ยน
ช่องทางอย่างรวดเร็ว ดุจไอ้หนุ่มเลือดร้อน อุณหภูมิอารมณ์กำลังทะลุ
จุดเดือดจนเข้าขั้นบ้าคลั่ง พุ่งมุดซ้ายปาดขวา แซงขึ้นหน้าบรรดาฝูง
รถขับช้า รากงอก เคี้ยวเอื้องอยู่บนถนน อย่างคล่องแคล่ว และร้อนแรง
พละกำลังที่เครื่องยนต์บล็อกนี้มีให้เต็มที่ ความแรงมันไม่ใช่ปัญหา ทว่า
ต้นตอของความหงุดหงิด มันอยู่ที่การควบคุมความแรงในมือ ไม่ได้ดัง
ใจสั่งต่างหาก!

ยอมรับว่า มีถึงสองสามครั้ง ที่ผมถึงขั้นต้องบีบแตรแช่ยาวๆ ดังลั่นถนน
เพื่อระบายอารมณ์ หงุดหงิด ใส่บรรดา รถขับช้า ที่เกะกะขวางทางอยู่
ข้างหน้า แถมด้วยการเปิดไฟสูงใส่เต็มๆ

ผมเพิ่งเข้าใจวันนี้เองละว่า การขับรถที่แรงสะใจ แต่สั่งแล้วไม่ได้ดังใจ
เสมอไปทุกครั้ง มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

มีทางไหนไหมที่วิศวกรชาวเยอรมัน เขาจะช่วย Compromise ไอ้ปัญหา
ปวดกบาลโลกแตกนี้ ให้มันหมดไปเสียที? ขอแค่ปรับให้คันเร่งในโหมด
E มันไวขึ้นกว่านี้พอสมควร Lag นิดนึงได้ แต่ขอแค่อย่าเกิน 0.5 วินาที
ส่วนโหมด S กดเมื่อไหร่ อัตราเร่งต้องมาทันที ตามเดิม ขอแค่นี้จะได้ไหม?

เพราะในจังหวะคาบลูกคาบดอก 2 – 3 ครั้ง ที่ผมต้องการอัตราเร่งอย่างปัจจุบัน
ทันด่วน ผมเกือบจะไม่รอดพ้นความบรรลัย ก็เพราะไอ้เจ้าคันเร่งนิสัยแบบนี้
ในโหมด E เนี่ยแหละ!

การเก็บเสียง ในห้องโดยสาร ยังคงทำได้ดีในแบบที่ Mercedes-Benz ทุกคัน
ถูกคาดหวังให้เป็น หากคุณใช้ความเร็ว ไม่เกิน 140 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะ
หลังจากนั้น จะเริ่มมีเสียงอากาศถูกรีด จากมุมซ้ายของหลังคากระจก เริ่มโผล่
เข้ามารบกวนให้ได้ยิน อย่างที่ไม่ควรเป็น อีกเสียงที่ก่อความรำคาญอยู่บ้าง
หนีไม่พ้นเสียงจาก ยาง GoodYear Eagle F1 Run Flat Tyre ขณะบด
ไปกับพื้นถนนนั่นเอง

alt

ระบบบังคับเลี้ยว เป็นพวงมาลัย แร็คแอนด์พีเนียน พร้อมระบบผ่อนแรงด้วย
ไฟฟ้า Electromechanical รัศมีวงเลี้ยว เต็มวง 11.0 เมตร ครึ่งวง 5.5 เมตร

มีไม่กี่ครั้งหรอกครับที่ผมจะยกให้พวงมาลัยของ Mercedes-Benz กลายเป็น
จุดเด่น ข้อดี จนถึงขั้นสดุดีกันเลยทีเดียว เพาะในอดีตที่ผ่านมา พวงมาลัยของ
รถยนต์ตราดาวนั้น จะเฉื่อย หย่อนยาน ตอสนองเอาใจผู้ใหญ่ ไม่กระชับฉับไว
ไม่แม่นยำเท่าที่ควร

แต่ในเมื่อ CLA-Class เป็นรถยนต์ร่วมตระกูล MFA Platform ร่วมกับ A-Class
ใหม่ ดังนั้น คุณงามความดีหลายสิ่ง จึงถูกถ่ายทอดจาก A-Class มาให้ CLA
ด้วย และระบบบังคับเลี้ยว ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งในจำนวนนั้น

น้ำหนักในช่วงความเร็วต่ำ กำลังดี เอาใจคนชอบขับรถ หมายความว่า ขณะหมุน
พวงมาลัย เพื่อถอยเข้าจอด น้ำหนักจะไม่ได้เบาหวิวแบบรถญี่ปุ่น และไม่ได้เบา
แบบ E-Class หรือ แต่มันจะกระเดียดไปทางพวงมาลัยของ B-Class มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับ A-Class แล้ว พวงมาลัยของ CLA 250 AMG ในช่วง
ความเร็วต่ำ จะเบากว่า A250 นิดนึง ต้องจับสังเกต จึงจะพบความแตกต่างนี้

การบังคับเลี้ยว ทำได้อย่างฉับไว และแม่นยำใช้ได้ อย่างที่ผมคาดหวังจะพบเจอ
ไม่ต้องหมุนพวงมาลัยจนครบรอบ ก็สามารถเลี้ยวเข้าซอย ได้อย่างสบายๆ

ในช่วงความเร็วสูง พวงมาลัย ไวกำลังดี น้ำหนักกำลังดี มั่นใจได้ On Center
Feeling นิ่งดี และแม่นยำใช้ได้ เหนือกว่า Mercedes-Benz รุ่นใหญ่ๆ หลายรุ่น
ที่ผมเคยลองขับมา

มันไม่ได้แตกต่างไปจากพวงมาลัยของ A-Class นักหรอกครับ เพียงแค่ แอบ
เบากว่ากันกระจี๊ดเดียวจริงๆ ต้องสังเกต ถึงจะเจอ
 
ถือเป็นพวงมาลัยในแบบที่ผมอยากเห็นผู้ผลิตรถยนต์ฝั่งญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
นำไปเป็นแบบอย่าง ในการปรับแต่งพวงมาลัย ให้กับรถยนต์นั่งขับล้อหน้า
ขนาดเล็ก ในพิกัด B-Segment จนถึง C-Segment ของพวกเขาเลยเชียวละ!

ระบบกันสะเทือนหน้า แบบ McPherson strut ส่วนด้านหลัง เป็นแบบ 4 จุดยึด
Four-link ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มาพร้อมกับ คอยล์สปริง ช็อกอัพแก้ส และ
เหล็กกันโคลง

ช่วงล่างของ CLA 250 นั้น ถูกปรับเซ็ตให้ “แข็งในความเร็วต่ำ แต่นุ่มขึ้นใน
ช่วงความเร็วสูง  มีจังหวะการยุบตัวของช็อกอัพค่อนข้างน้อย จึงไม่น่าแปลกใจ
ว่า ทำไมการตอบสนองของช่วงล่าง จึงกลายเป็นจุดด้อยของ CLA 250 ไปได้

ในช่วงความเร็วต่ำ ขณะขับคลานๆในเมือง ผมและทุกๆคนที่ขึ้นมานั่งบนรถ
คันสีม่วงนี้ สัมผัสได้ถึงพื้นผิวถนนในแทบทุกหลุมบ่อและก้อนกรวด จนต้อง
ถามกันเลยว่า รถคันนี้ มีช็อกอัพ และสปริงกันหรือเปล่า? เพราะมันแข็งมากๆ
แข็งจนเกินเหตุ แข็งในแบบเดียวกันกับ A250 ไม่มีผิด

ช่วงล่างด้านหน้า ถูกเซ็ตมาในแบบเดียวกับ A250 AMG แต่ช่วงล่างด้านหลัง
ถูกเซ็ตมาให้แข็งกว่าด้านหน้าอย่างชัดเจน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อจำเป็นต้อง
ขับผ่านเนินสะดุด ลูกระนาดต่างๆ ผู้โดยสารด้านหลัง ถึงขั้นกระเด้งลอยตัว
ขึ้นไปในอนากาศช่วงเสี้ยววินาที ก่อนที่ก้นของพวกเขาจะตกลงมากระทบ
กับเบาะนั่ง พร้อมอาการจุก และหัวกระแทกกับเพดานหลังคาอย่างจัง!!

อันที่จริง คนขับ และผู้โดยสารด้านหน้าเอง ก็สัมผัสได้ถึงความแข็งสะเทือน
เลื่อนลั่นของช่วงล่างได้เช่นกัน เพียงแต่ ลดหลั่นลงไปนิดหน่อย เพราะนั่ง
อยู่กึ่งกลางตัวรถ ไม่ได้นั่งใกล้ชิดกับล้อคู่หลัง มากเท่าผู้ที่นั่งด้านหลังรถ

แต่พอขึ้นทางด่วน ขับขี่ทางไกล ความนิ่ง และมั่นใจได้ในแบบ A250 AMG
ถูกลดทอนลงไป จากช็อกอัพที่ยืดหยุ่นกว่ากันนิดนึง นุ่มกว่า A250 ชัดเจน
และนั่นละครับ ที่มาของความไม่ประทับใจ

ขณะใช้ความเร็วสูง เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไป  ด้านหน้าของรถ ทิ่ม
จิกพื้นถนนได้ดีกว่า A-Class จริง แต่บั้นท้ายนั้น สัมผัสได้ว่า ไม่ค่อยกดลง
บนพื้นถนนมากนัก ชวนใหนึกถึง Donald Duck ขณะกำลังเดินผ่านกล้อง
ถ่ายภาพยนตร์ ในลักษณะ หน้าทิ่ม แต่ส่ายตูดเล็กๆ บั้นท้าย CLA ยังไม่ถึง
ขั้นนิ่งพอ เมื่อเจอกับความเร็วสูงๆ

ยิ่งถ้าใช้ความเร็วทะลุเกิน 200 กิโลเมตร/ชั่วโมงขึ้นไป หน้ารถอาจจะยังคง
มี Downforce ที่พอใช้ได้ แต่บั้นท้ายเริ่มออกอาการมากขึ้น แม้จะไม่ถึงขั้น
น่ากลัวเท่า E-Class Coupe E250 Elegance คันที่ผมลงความเห็นว่า 
แย่สุด ในบรรดา Mercedes-Benz ทุกคันที่เคยขับมา แต่ CLA ก็มีบุคลิก
ช่วงล่างด้านหลัง ขณะใช้ความเร็วสูง เข้าใกล้ E250 Coupe Elegance
คันนั้น อยู่เหมือนกัน

ขณะเดียวกัน หากคุณเข้าโค้งรูปเคียวขวา เหนือช่วงมักกะสัน บนทางด่วน
ความเร็วสูงสุด เท่าที่ตัวรถยังพอจะรับมือไหว คือ 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง
เพราะในขณะนั้น บั้นท้ายจะเริ่มออกอาการ ท้ายปัด นิดๆ Oversteer อย่าง
ชัดเจน ผู้ขับขี่ แค่พอรู้ว่า เกิดอาการแล้วนะ แต่ ถ้ามากกว่านี้อีกนิดเดียว จน
บั้นท้ายหลุดออกไป โอกาสที่คุณจะแก้ไข จนรถกลับมาตั้งลำตรงๆ ตามเดิม
นั้น ไม่ง่ายเลย

ถ้าคุณเข้าโค้งยาวๆ ยังไงๆ CLA 250 คันนี้ พาคุณเข้า และออกจากโค้งไปได้
พอจะสบายๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่เป็นทางโค้งต่อเนื่อง แบบลัดเลาะซ้าย – ขวา
คงต้องบอกว่า ขอให้ระมัดระวังอาการบั้นท้าย Oversteer มากขึ้นกว่าปกติ
นะครับ

เพราะแค่ ผม ลองหักพวงมาลัย เปลี่ยนเลนกระทันหัน เพื่อเช็คดูว่า จะเกิด
อะไรขึ้นกับบั้นท้าย ที่ไหนได้ แค่เพียง 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง เท่านั้น หน้ารถ
เบนออกอย่างทันที ในจังหวะเดียวกันกับที่รถเข้าสู่เลนข้างๆเรียบร้อยแล้ว
ผมดึงพวงมาลัยกลับคืนมาตั้งตรง แต่ท้ายรถยังถูกเหวี่ยงออกด้านข้างจนเป๋
และมีอาการสะบัดเกือบๆจะส่าย กว่าจะสงบนิ่งได้ ต้องรออีกเสี้ยววินาที
ถัดมา

ตั้งจ้อสังเกตว่า อาการลักษณะนี้ มักเกิดขึ้นกับรถยนต์นั่ง ขนาดตัวถังในกลุ่ม
Compact ตัวถัง Sedan และมีระยะฐานล้อ 2,700 มิลลิเมตร เพราะผม
เคยเจออาการแบบนี้มาแล้วทั้งใน Honda Civic FD รุ่นปี 2005 – 2012 
และToyota Corolla Altis รุ่นใหม่ล่าสุด 2014 เพียงแต่ว่า ทั้ง 2 รุ่นนั้น
ผมใช้ความเร็วราวๆ 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ขึ้นไป ถึงเจออาการบั้นท้ายสะบัด
แบบนี้ ทว่า CLA ใหม่ ผมใช้ความเร็วแค่ 70 กิโลเมตร/ชั่วโมง อาการนี้
กลับเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย และรุนแรงชัดเจน

เรื่องตลกก็คือ อาการนี้ A250 จะแทบไม่เกิดขึ้นเลย แน่ละ มันมีผลมาจาก
การมีบั้นท้ายที่ยื่นออกมาเล็กน้อยด้วยเป็นอีกองค์ประกอบ

ดังนั้น ผมคงต้องเตือนว่า ถ้าคุณขับ CLA ไปตามถนนแบบยางมะตอย อย่าหัก
เลี้ยวหลบสิ่งกีดขวางกระทันหันอย่างฉับพลันหรือรวดเร็ว เด็ดขาด เพราะโอกาส
ที่บั้นท้ายรถจะเหวี่ยงออกและเกิดอาการสะบัดตามมา มีสูงอยู่

ระบบห้ามล้อ เป็นดิสก์เบรก 4 ล้อ คู่หน้ามีรูระบายความร้อน เสริมการทำงานด้วย
ระบบป้องกันล้อล็อคขณะเบรกกระทันหัน ABS (Anti-lock braking System
ระบบกระจายแรงเบรกตามน้ำหนักบรรทุก EBD (Electronics Brake Force
Distribution)  ระบบช่วยเบรก BAS (Brake Assist) ทำงานร่วมกับ ระบบ
ควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ ESP (Electronic Stability Program) ระบบ
ป้องกันล้อหมุนฟรี ASR (Acceleration skid control) ระบบ ADAPTIVE
BRAKE พร้อมฟังกชัน HOLD ล็อกเบรกไว้ขณะเข้าเกียร์ D และจอดติดไฟแดง
โดยสามารถถอนเท้าจากแป้นเบรกได้ และแค่เหยียบคันเร่งเพื่อยกเลิกการทำงาน
รถก็จะออกตัวได้ทันที มีระบบไฟฉุกเฉินทำงานทันที เมื่อเหยียบเบรกกระทันหัน
Adaptive Brake Light แจ้งเตือนรถคันหลัง ที่ตามมาให้หาทางหลบได้

น่าตกใจที่ระบบเบรก ถูกเซ็ตมาให้จิกพื้นถนนราวกับ ไก่จิกเมล็ดข้าวสาร
ไม่ว่าคุณกำลังขับแบบคลานๆในเมือง หรือกำลังใช้ความเร็วสูงบนทางด่วน
ทันทีที่คุณเหยียบลงไปบนแป้นเบรก เพียงไม่ถึง 10% ของระยะเหยียบ
ที่มีอยู่ คุณจะสัมผัสได้ถึงการหน่วงความเร็ว อย่างฉับพลัน ในทันที เบรก
ทำงานไวมาก จนคุณอาจต้องคิดเผื่อรถคันข้างหลัง เขาจะเบรกตามคุณ
ไม่ทัน ยังดีที่คุณสามารถเบรกชะลอรถจนหยุดนิ่งได้อย่างนุ่มนวล ต่างจาก
VW Golf GTi MK6 ที่มีอาการหน้าทิ่มคะมำเมื่อรถจอดนิ่ง

สิ่งที่น่าประทับใจก็คือ การหน่วงความเร็ว จากระดับ 240 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ลงมาจนเหลือราวๆ 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่เหยียบแป้นเบรกลงไป
ราวๆ ครึ่งหนึ่ง ของระยะเหยียบทั้งหมด ทำได้อย่างฉับไว หน่วงรถลงมา
อย่างหนัก แต่กลับไม่พบเจออาการ Fade เลย แม้แต่ครั้งเดียว!

ถือว่าเป็นระบบเบรกที่จัดอยู่ในกลุ่มซึ่งทำผลงานได้น่าประทับใจ อยู่ในกลุ่ม
เบรกดีลำดับต้นๆ เมื่อเทียบ กับรถยนต์แทบทั้งหมดที่เคยผ่านมือผม ตลอด
หลายปีมานี้

alt

ด้านความปลอดภัย CLA 250 AMG ยังมาพร้อมกับโครงสร้างตัวถังนิรภัย กระจาย
แรงปะทะ ไปทั่วทั้งคัน มีคานแนวยาว พร้อมกล่อง Aluminium Box ทำหน้าที่
เป็นซับเฟรม เพื่อรองรับและถ่ายถอดแรงปะทะ ไปยังฐานของเสาหลังคาคู่หน้า
A-Pillar ขณะเดียวกัน ก็ยังมีการเสริมความแข็งแกร่ง ให้กับโครงสร้างกรอบ
ประตูทั้ง 4 บาน เพื่อรองรับการชนจากด้านข้าง ด้วยคานเหล็กเสริมในประตู
รวม 3 ชิ้น / 1 บานประตู และเสริมเสาหลังคากลางด้วยเหล็ก High Tensile
เพื่อลดการบิดตัวจากการปะทะ ให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ส่วนอุปกรณ์ความปลอดภัยนั้น CLA250 AMG เวอร์ชันไทย ติดตั้งถุงลมนิรภัย
มาให้ทั้ง คู่หน้า (พร้อมเซ็นเซอร์ วัดแรงปะทะ และการคาดเข็มขัดนิรภัย) ด้านข้าง
และม่านลมนิรภัยเหนืศีรษะ รวมทั้งสิ้น 6 ใบ เข็มขัดนิรภัย Pre tensioner &
Load Limiter ลดแรงปะทะ และดึงกลับอัตโนมัติ รวม 4 ตำแหน่ง หน้า – หลัง
(ยกเว้นตรงกลางเบาะหลัง) รวมทั้งจุดยึดเบาะนิรภัยสำหรับเด็กมาตรฐานของ
ISOFIX ที่เบาหลังทั้งฝั่งซ้าย  – ขวา

ผลของการให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ทำให้ CLA ผ่านมาตรฐานการทดสอบ
ของ Euro NCAP ที่รดับ 5 ดาว โดยสามารถปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้าได้
สูงถึง 91% การปกป้องผู้โดยสารเด็ก ทำได้ 75% การปกป้องคนเดินถนน 74% และ
คะแนนการทำงานของระบบตัวช่วยต่างๆในรถ ได้ 81% รายละเอียดเพิมเติม คลิก
เข้าไปดูได้ที่ http://www.euroncap.com/results/mercedes_benz/cla_class.aspx
ไม่เพียงเท่านั้น ทีมวิศวกรของ Daimler AG ยังทดสอบการชน จนผ่านมาตรฐาน
ทั้งของ JNCAP ญี่ปุ่น และ Chinesse NCAP ของรัฐบาลจีน อีกด้วย

alt

********** การทดลองหาอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เฉลี่ย **********

ในช่วงที่ผมได้รับ CLA มาใช้ชีวิตด้วยกัน มันมีปัญหาเกิดขึ้นเล็กน้อย

ปั้มน้ำมัน Caltex พหลโยธิน เยื้องสถานีรถไฟฟ้า BTS อารีย์ มีกำหนดปิดปรับปรุง
เป็นเวลานานถึง 2 เดือนกว่า เพื่อจะต้องเปลี่ยนถังน้ำมันใต้ดิน ให้รองรับกับการ
นำน้ำมัน แก็สโซฮอลล์ E20 มาขาย

ตอนนี้ ผมยังไม่ทราบแน่ชัดเลยว่า จะยังมีเบนซิน 95 Techron ขายที่ปั้มเดิม เมื่อ
ถึงเวลากลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง ช่วงกลางเดือนสิงหาคม หรือเปล่า?

นั่นทำให้ช่วง 14 วันแรก ของเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงเวลาที่เหน็ดเหนื่อยสุดๆ
ช่วงหนึ่งตั้งแต่เปิดเว็บมา เพราะต้องติดต่อกับบริษัทรถยนต์ ทั้ง Toyota Suzuki
และ Mazda จัดคิวรถยนต์ทดลองขับ ไว้รวมทั้งสิ้น 5 คัน สำหรับการเติมน้ำมัน
แบบเขย่ารถ กันจนจบ ด้วยเหตุผลของการทำงานที่ รู้งานคุ้นมือ กันมากกว่า
เพราะการไปเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่ปั้มอื่นนั้น เสียเวลาและวุ่นวาย
กว่าที่ทุกคนคิดไว้

CLA 250 คันนี้ มาถึงในช่วงเวลาปลายเดือน ช่วงที่ปั้ม Caltex ปิดซ่อมไปแล้ว
ดังนั้น ผมต้อง เปิดใช้แผนสำรอง ด้วยการ ข้ามฝั่งไปลองใช้บริการ เติมน้ำมัน
ที่ สถานีบริการของ ESSO ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปั้ม Caltex แห่งเดิมนั่นแหละ

อย่างที่ผมบอกละครับ การจะไปเริ่มต้นเติมน้ำมันจับอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ในปั้มอื่นๆ ที่เราไม่คุ้นเคยนั้น ถ้าไม่ทำความเข้าใจกันก่อน ก็คงจะยากต่อการ
ร่วมงานกันต่อไป และคราวนี้ก็เช่นกัน

เมื่อพนักงานในปั้ม ยืนยัน ย้ำหัวตะปูกับผมถึง 3 รอบว่า ห้ามถ่ายรูป ๆๆๆๆๆ
โดยอ้างว่า มันเป็นกฎของบริษัท ผมทำอะไรไม่ได้ เพราะบันทึกภาพมาลงใน
บทความไม่ได้ แล้วแบบนี้ผมจะทดลองอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง กับปั้ม ESSO
แห่งนี้ ไปทำซากห่าเหวอะไรกันละ?

ในเมื่อ เรารักษากฎของเว็บเรา เราเองก็ต้องเคารพกฎของคนอื่นด้วยเช่นกัน
ในเมื่อ กฎของ ESSO เป็นแบบนี้ ได้เลยครับ เราจะไม่ใช้บริการกับ ESSO
แห่งใดอีกต่อไป และนับจากนี้ เราจะไม่อนุญาตให้ ESSO เข้ามาข้องแวะ
ข้องเกี่ยว หรือประชาสัมพันธ์ อะไร ในเว็บไซต์ Headlightmag.com อีก

ผมตัดสินใจเปลี่ยนปั้มทันที ยอมขับรถขึ้นทางด่วนช่วงสั้นๆ ไปลงประชาชื่น
เพื่อเลี้ยวเข้าไปเติมน้ำมันเบนซิน Techron 95 ที่สถานีบริการน้ำมัน Caltex
ริมถนนประชนุกูล นั่นละครับ

เด็กปั้ม ที่นั่น กลับให้การต้อนรับดีกว่าเยอะมาก เป็นมิตรกว่า เราเติมน้ำมัน
เบนซิน 95 Techron กันเต็มถัง แบบหัวจ่ายตัด ก็พอ เพราะรถยนต์ในกลุ่ม
Premium นั้น ผู้บริโภค จะไม่ค่อยซีเรียสกับอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมาก
เท่ากับรถยนต์ในกลุ่ม ต่ำกว่า 2,000 ซีซี ประกอบในประเทศ และรถกระบะ

ผู้ร่วมทดลองในคราวนี้ เปลี่ยนมือชั่วคราวมาเป็นน้อง Pao Dominic สมาชิก
The Coup Team รายล่าสุดของเรา ผู้ร่วมทดลอง อัตราสิ้นเปลือง ระยะหลังๆ
มาตลอด เพราะตอนนี้ ตาโจ๊ก V10ThLnD ติดภาระกิจเข้าร่วมการแจ่งขัน
GT Academy อยู่

alt

เมื่อเติมน้ำมันเบนซิน 95 Techron จนเต็มถังน้ำมันขนาด 50 ลิตร เราก็เซ็ต
0 บน Trip Meter (มีมาให้แค่ Trip เดียว ตามเคย เหมือน Mercedes-Benz
รุ่นอื่นๆ) คาดเข็มขัดนิรภัย ติดเครื่องยนต์ เปิดแอร์ ออกรถ มุ่งหน้าออกจาก
ปั้ม Caltex ไปตามเส้นทางเดิม และยังใช้มาตรฐานเดิม คือ ความเร็วสูงสุด
110 กิโลเมตร/ชั่วโมง เปิดแอร์ เบอร์ 1 อุณหภูมิราวๆ 24-25 องศาฯ และนั่ง
2 คน แต่คราวนี้ ที่มีการปรับแผน เปลี่ยนเส้นทางกันเล็กน้อย ในช่วงจุด
เริ่มต้นและจุดสิ้นสุด

เราใช้เส้นทางเดียวันกับการทดลองในรุ่น SLK นั่นคือ พอออกจากปั้มปุ๊บ
เรามุ่งหน้าไปเลี้ยวกลับ ใต้สะพานข้ามแยกรัชวิภา มุ่งหน้าย้อนกลับมาที่
สี่แยกโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น เลี้ยวขวา จากนั้นเลี้ยวซ้ายขึ้น
ทางด่วน ที่ด่านประชาชื่น จ่าย 15 บาท แล้วมุ่งหน้าไปตามทางด่วนสาย
อุดรรัถยา หรือเส้นเชียงราก เส้นเดิมที่เราทำการทดลองอัตราสิ้นเปลือง
มาโดยตลอด เพื่อไปจ่ายค่าผ่านทาง 55 บาท ณ ปลายทาง ด่านบางปะอิน

alt

จากนั้น เลี้ยวกลับ จ่ายค่าทางด่วนอีก 55 บาท ย้อนกลับเข้ากรุงเทพ กลับ
มาจ่ายค่าผ่านทางที่ด่านประชาชื่น ขาเข้าเมือง อีก 55 บาท แล้วมุ่งหน้า
ไปลงยัง อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จากนั้น เลี้ยวกลับที่วินรถตู้ แล้ววนขึ้น
ทางด่วนเส้นเดิม อีก 50 บาท มาลงทางด่วนประชาชื่นอีกครั้ง (รวมค่า
ทางด่วนอย่างเดียว 235 บาท ในเวลาเพียงแค่ชั่วโมงเศษๆ!)

ลงทางด่วนแล้ว ก็ต้องไปเลี้ยวกลับที่สี่แยก โรงพยาบาลเกษมราษฎร์
เพื่อมุ่งหน้ากลับมาถึงสถานีบริการน้ำมัน Clatex ประชานุกูล อีกครั้ง
เพื่อเติมน้ำมัน เบนซิน 95 Techron ที่หัวจ่ายเดิม เหมือนเช่นตอน
เริ่มต้น โดยยังเติมน้ำมันแบบ หัวจ่ายตัด เช่นเดียวกัน

alt

ต่อไปนี้ คือตัวเลขที่ CLA 250 AMG ล้อ 18 นิ้ว ทำออกมาได้

ระยะทางบนมาตรวัด Trip Meter 92.1 กิโลเมตร
ปริมาณน้ำมันเติมกลับ 5.94 ลิตร
หารออกมาแล้ว ได้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ย 15.50 กิโลเมตร/ลิตร

alt

ดูจากตัวเลขแล้ว หลายคนอาจเข้าใจว่าการที่ CLA มีค่าสัมประสิทธิ์
แรงเสียดทานอากาศที่ดีกว่า A-Class นั้น ส่งผลให้ อัตราสิ้นเปลือง
เชื้อเพลิง ประหยัดขึ้น ได้เกือบๆ 1 กิโลเมตร/ลิตร เลยทีเดียว ทั้งที่
ใช้เครื่องยนต์ และระบบส่งกำลังเดียวกัน แถมน้ำหนักตัวก็ยังแทบ
จะไล่เลี่ยกันด้วยซ้ำ

แต่ถ้าพูดเช่นนั้น ก็ต้องกลับมาดูข้อเท็จจริงด้วยว่า ล้อของ A250
หมุนด้วยรอบที่น้อยกว่า CLA อยู่เล็กน้อย คลาดเคลื่อนจากกันไป
ราว 0.3 กิโลเมตร ซึ่งเมื่อลองคำนวนดูส่วนต่าง จะพบว่า การเติม
น้ำมันกลับเข้าไปนั้น ก็ต่างกันแค่ 0.34 ลิตร เท่านั้น แต่ CLA นั้น
กลับมีระยะทาง บน Trip Meter มากกว่า A-Class ซึ่งเติม
น้ำมันมากกว่ากัน 0.3 ลิตร ไปราวๆ 0.3 กิโลเมตร

ก็ช้ดเจนละครับว่า รถยนต์ที่มีบั้นท้ายยื่นออกมา มักมีค่าสัมประสิทธิ์
แรงเสียดทานอากาศ ดีกว่ารถท้ายตัด และมักจะให้อัตราสิ้นเปลือง
เชื้อเพลิงประหยัดกว่ากันเล็กน้อย หากใช้เครื่องยนต์ เกียร์ และล้อ
กับยาง ขนาดเท่ากัน

alt

อย่างไรก็ตาม ถ้าถามว่าน้ำมัน 1 ถัง สามารถแล่นไปได้ไกลแค่ไหน
ตอบได้เลยว่า ในวันที่ส่งคืนรถ เราแล่นไป 333 กิโลเมตร และยัง
เหลือน้ำมันในถังให้แล่นต่อได้อีกราวๆ 139 กิโลเมตร เท่ากับว่า
น้ำใน 1 ถัง น่าจะพาคุณเดินทางไปได้ราวๆ 472 – 500 กิโลเมตร
หรืออาจจะทำได้ถึง 520 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับว่า คุณจะเหยียบมาก
หรือเหยียบน้อย แค่ไหน

alt

********** สรุป **********
ถ้ารักจริงหวังแต่ง (และรวยพอ) ขยับไปหา CLA 45 AMG น่าจะดีกว่า
ไม่เช่นนั้น A250 AMG Sport ก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่า

CLA 250 AMG มีข้อดีและข้อเสียคละเคล้ากันไปตามประสารถยนต์นั่ง
แนวสปอร์ต มันเป็นรถที่จะเรียกคุณเดินเข้าไปหาด้วยเรือนร่างอันสวย
งามสง่า ปราดเปรียว ไฉไล ชวนให้คนลุ่มหลงไปพร้อมกับมันได้อย่าง
ไม่ทันยั้งคิด

ตลอดเวลา 5 วัน 4 คืน ที่อยู่ด้วยกัน การใช้ชีวิตอยู่กับ CLA 250 AMG นั้น
มันไม่ต่างอะไรกับการใช้ชีวิตกับ หนุ่มหล่อ ระดับนายแบบ จากตระกูลดัง
และดีเลิศระดับต้นๆ ของประเทศเรา เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ ชื่อดัง
น่าจะราวๆ ชั้นปี 3 หรือ 4 ที่เหล่าบรรดา สาวแท้ หรือแม้แต่กลุ่ม เก้งกวาง
ละมั่งมังผา ต่างพากันถวิลร่ำคร่ำครวญใคร่ เฝ้ารอไฝ่หาโอกาสที่จะมาคบกัน….

มันเป็นรถที่จะเรียกคุณเดินเข้าไปหาด้วยเรือนร่างอันปราดเปรียว สวยหรู
ดูเท่ มีมัดกล้าม งามสง่า ไฉไล ชวนให้คนลุ่มหลงไปพร้อมกับมันได้อย่าง
ไม่ทันยั้งคิด

เรื่องน่าสังเกตก็คือ ไอ้หนุ่มคนเนี้ย มีเพื่อนฝูงน้อยมาก ไม่เยอะ และ
ไม่ได้มีเป็นกลุ่มก้อนนัก มักหาตัวยาก พอเจอเมื่อไหร่ ก็จะมีสาวสวย
เอวบางร่างน้อย ระดับนางแบบ มาเดินควงคู่ ให้ตาและหูของผู้พบเห็น
ร้อนผ่าวไปตามๆกัน

คนเพื่อนน้อย มักจะมีบุคลิก หรือลักษณะนิสัยประหลาดๆ บางอย่าง
ซึ่งไม่พึงประสงค์ต่อคนทั่วไปที่รายล้อมตัวเขาอยู่ และ รถคันนี้ ก็เป็น
เช่นเดียวกัน!

ตลอดทางที่ผมขับรถคันนี้ไปไหนต่อไหน ทุกสายตาที่จับจ้องเมียงมองมา
เต็มไปด้วยรังสีแห่งความริษยา ซ่อนอยู่

อยากบอกทุกคนที่มองผมด้วยสายตาเหล่านั้นให้รู้เหลือเกินว่า…

“อย่าอิจฉากันเลย….กรูนั่งปวดต้นคออยู่เนี่ย!!!”

alt

คุณอาจต้องเผื่อใจก่อนในเบื้องต้นว่า มันไม่ใช่รถยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อ
ให้นั่งโดยสารได้สบาย แบบ Mercedes-Benz รุ่นอื่นๆ เขาเป็นกัน เพราะ
มันถูกสร้างข้น เพื่อเอาใจนักขับรุ่นเยาว์ ที่ต้องการความเร้าใจ แถมชีวิต
ส่วนใหญ่ ก็ไม่ค่อยมีใครมานั่งบนเบาะหลังบ่อยครั้งนัก

แหงละ หนุ่มเจ้าชู้ Playboy ขนาดนั้น คงไม่อยากให้เพื่อนๆมานั่งหลังรถ
เป็นก้างขวางคอ ขัดจังหวะขณะจีบสาว อยู่หรอก!

ขณะเดียวกัน บรรพบุรุษหรือบุพการีของไอ้หนุ่มคนนี้ ก็คงไม่ประสงค์จะ
มานั่งอยู่บนเบาะหลังของ CLA คันนี้กันแน่ๆ เพราะถ้าใครทำเช่นนั้น
รับประกันได้เลยว่า ลงจากรถได้เมื่อไหร่ อากงอาม่า คงตัดหลานเวรคนนี้
ออกจากกองมรดก แน่นอน!

ดังนั้น หากจะออกแบบเบาะให้มาในแนวสปอร์ตกว่านี้ ก็ช่วยแก้ไข
พนักศีรษะ แบบ Built-in ให้มันไม่ดันกบาลอย่างที่เป็นอยู่นี้ ด้วยเถิด
อยากจะดันไปถึงไหน ไม่เข้าใจ

ช่างเหมือนนิสัยของไอ้หนุ่มไฮโซ ผู้ซึ่งไม่ว่าใครก็ไม่ควรคิดจะใช้เป็น
ที่พึ่งพิงเป็นที่พักใจ เพราะเจ้าตัวจะรำคาญ และแอบทิ่มแทงเราด้วยวจี
อันแสนยียวนกวนตีนจนแสบสันต์

อัตราเร่ง ที่แรงเอาเรื่อง และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเฉลี่ยเดินทางไกล
ที่ประหยัดอยู่ในเกณฑ์ดี คือสิ่งที่ทำให้ผม ยิ้มออก มันคือจุดเด่นที่ทำให้
หลายๆคน มีความสึขในทุกครั้งที่คุณกระแทกคันเร่งออกไป แรงดึงมีมา
อย่างสนุกเอาเรื่อง ถ้าคุณอารมณ์เสียมา แล้วเกิดอยากกระทืบคันเร่งให้
หายเครียด หากมั่นใจว่า ทางข้างหน้า โล่งพอ จัดเลยครับ มันพร้อมจะ
พาคุณพุ่งทะยานไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และแรงใช้ได้

แต่ถ้าสภาพการจราจรข้างหน้า ติดขัด หรือ ไม่ได้โล่งมากนัก คุณอาจจะ
ถึงขั้นหงุดหงิดกับการตอบสนองของเกียร์ ในโหมด E จนแทบอยากจะ
อาละวาดโวยวายออกมาข้างนอกรถด้วยซ้ำ วิธีแก้บ้า ก็เห็นจะมีแต่การ
กดปุ่มให้เกียร์มันคาไว้ที่โหมด S เท่านั้น โดยต้องยอมทนกับการเห็น
เข็มน้ำมันลดลงเร็วกว่าปกติ ต่อหน้าต่อตา

alt

สิ่งที่ทำให้ผมแอบเซ็งประการต่อไปก็คือ การตอบสนองของช่วงล่าง
แม้ว่า ระบบกันสะเทือนหน้า จะยังทำได้ดี เกาะโค้งได้ดี แน่นและ
หนึบ แต่ช่วงล่างด้านหลัง มันกลับไม่ได้ประสานงานกับช่วงล่าง
ด้านหน้าเท่าที่ควร มันไม่ได้ให้สัมผัสของการเกาะหนึบเยี่ยงบรรดา
รถแข่ง Go-Kart แบบที่ A250 AMG เป็น ทว่า ในช่วงความเร็วต่ำ
แค่ 70 – 73 กิโลเมตร/ชั่วโมง ผมลองหักเลี้ยวพวงมาลัย ในลักษณะ
ของการหักหลบสิ่งกีดขวางกระทันหัน แล้วเว้นจังหวะไว้ราวๆเสี้ยว
วินาที ก่อนจะเลี้ยวรถและคืนพวงมาลัยกลับไปตั้งตรง บั้นท้ายของ
CLA 250 AMG ถูกเหวี่ยงออกไปด้านข้างอย่างง่ายดาย ท้ายปัดออก
อยากสวยงาม นี่ถ้าไม่ได้ยาง GoodYear Eagle F1 เราคงจะได้เจอ
กับการหมุนตั้งลำ 180 องศา กลางถนนโล่งๆ เงียบๆ ยามดึกสะงัด
กันไปแล้ว

สำหรับคนที่ชอบขับรถยนต์ ซึ่งเซ็ตมาให้บั้นท้ายปัดออกได้ง่ายแบบ
Toyota 86 หรือ รถขับล้อหน้า อย่าง Mazda 3 , Saab 9-3 ฯลฯ
ผมกลับมองว่า บั้นท้าย ของ CLA มันปัดออกค่อนข้างน่ากลัวไปหน่อย
เพราะมันจะไม่มีอาการใดๆเตือนให้เรารับรู้กันล่วงหน้า หากนึกอยากจะ
ท้ายปัด พวกก็ปัดออกเฉยเลย และถ้าบั้นท้ายหลุดออกไปแล้ว โอกาส
ที่จะแก้อาการเพื่อให้รถกลับมาตั้งลำได้เหมือนเดิม น่าจะยาก

ยังดีที่ การบังคับเลี้ยวของพวงมาลัย มีน้ำหนักดี ไวกำลังใช้ได้ เซ็ต
มาแบบไม่ต้องปรับแก้ไขอะไรมากนัก เบากว่า A-Class นิดเดียว
ช่วงล่างในการขับขี่ปกติทั่วๆไป ก็นุ่มกว่า A-Class นิดเดียว และ
ระบบห้ามล้อ ที่หน่วงความเร็วได้ไวดี เป็นอันดับต้นๆของบรรดา
รถยนต์ที่เราลองมา

alt

ถ้าจะให้ต้องเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาด มันก็ไม่ง่าย เพราะรถคันนี้
ถูกสร้างขึ้นมา โดยไม่มีคู่แข่งที่ชัดเจนเลย ผมยังนึกไม่ออกว่า ควรนำ
รถยนต์นั่ง 4 ประตู ที่ถูกออกแบบให้มีแนวหลังคาลาดลงแบบรถยนต์
Coupe 2 ประตู แถมมีพื้นที่นั่งด้านหลัง อัตคัต ยิ่งกว่าเงินบริจาค ของ
“วัดสิ้นศรัทธาธรรม” ไปเปรียบเทียบกับรถคันไหนดี

จะให้เปรียบเทียบกับ BMW 3-Series มันคงเทียบได้แค่ในกรณีที่คุณ
เป็นคนโสด และไม่แคร์พื้นที่โดยสารด้านหลังเลยแม้แต่น้อย ใช้ชีวิต
คนเดียวตามลำพัง ตามบุคลิกของรถคันนี้ที่ผม มโนไปเรื่อยไว้ให้อ่าน
กันในย่อหน้าข้างต้น ที่เหลือ CLA อาจจะดีเด่นเด้งกว่า 3-Series
หากคุณสนใจเรืองความแรง และไม่สนใจเรื่องค่าน้ำมัน แต่มันจะ
ด้อยกว่า 3-Series  ทันที เมื่อคำนึงถึงพื้นที่โดยสารด้านหลัง และ
การทรงตัวในภาพรวม

จะให้เปรียบเทียบกับ Volkswagen Scirocco ซึ่งดูจะใกล้เคียงที่สุด
งานนี้ ผมมองว่า เรื่องความแรง การทรงตัว การขับขี่ และความสบาย
ในห้องโดยสาร Scirocco ยังคงชนะไป แม้จะไม่มากนักก็ตาม CLA
ประหยัดน้ำมันกว่า แต่นั่นคงไม่ใช่ประเด็นสำหรับลูกค้าที่คิดจะซื้อ
รถยนต์กลุ่ม Sport Premium ระดับราคา 2 – 3 ล้านบาท เท่าใดนัก

ดังนั้น คงหนีไม่พ้น พี่น้องร่วมตระกูล นั่นคือ A250 AMG Hatchback
5 ประตู…ซึ่งจะถูกนำมาเปรียบมวยกันอย่างช่วยไม่ได้!

พูดกันแบบตรงไปตรงมา หากเป็นผม คงจะหนีไปคบ A 250 AMG
ด้วยเหตุผลที่ว่า การเซ็ตช่วงล่าง CLA แม้จะนุ่มกว่า ในแบบที่ผมพอจะ
ยอมรับได้มากกว่า A-Class แต่ความมั่นใจในการขับขี่ บนทางโค้งนั้น
ยังทำได้ไม่ดีเท่า A-Class ที่เซ็ตช่วงล่างมาแข็งกว่า แถมยังมีพื้นที่นั่ง
ด้านหลัง ที่แม้จะใกล้เคียงกัน แต่พอจะมีพื้นที่เหนือศีรษะด้านหลัง
มากขึ้นอีกนิดหน่อย พอให้สามารถพาเพื่อนฝูงไปไหนต่อไหนได้
โดยที่เพื่อนไม่เลิกคบ!

แต่ถ้าอยากจะได้ CLA จริงๆ ผมเชื่อว่า ควรจะหันไปเพิ่มเงินอีกมาก
พอสมควร ในระดับ 5,990,000 บาท ยกฐานะขึ้นไปเล่นรุ่นแพงสุด
อย่าง CLA 45 AMG ซึ่งมีระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ แบบ 4 MATICS
ที่พร้อมให้ความมั่นใจกับคุณบนทางโค้งและการรับมือกับสภาพ
การจราจรและสถานการณ์ไม่คาดคิดได้ดีกว่า

นั่นคงเป็นข้อสรุปที่ดีที่สุด เท่าที่ผมอยากจะแนะนำคุณผู้อ่านไว้
เพราะบางที สุดหล่อไฮโซ บ้านรวย การศึกษาดี คนนี้ มันแอบมี
นิสัยบางด้านที่คุณเองก็คงไม่ค่อยอยากเอาไว้เป็นพ่อของเด็ก หรือ
สามีของคุณนัก

เว้นเสียแต่ว่า คุณจะตกหลุมรักไอ้หนุ่มไฮโซ นิสัยเอาแต่ใจ คนนี้จริงๆ
และสนใจแค่ความแซ่บจากเรื่องบนเตียงของเขาเท่านั้น!!

นั่นจึงจะทำให้การจ่ายเงิน 2,390,000 บาท สำหรับ CLA 180 Urban
และ 2,640,000 บาท ให้กับ CLA 250 AMG…

เป็นเรื่องสมเหตุผลในสายตาของคุณ!

———————————-///———————————

alt

ขอขอบคุณ / Special Thanks to :
ฝ่ายประชาสัมพันธ์
บริษัท Mercedes-Benz (Thailand) จำกัด
เอื้อเฟื้อรถยนต์ทดลองขับ

—————————————–

J!MMY
สงวนลิขสิทธิ์ ทั้งบทความ โดยผู้เขียน
ลิขสิทธิ์ภาพถ่าย รถยนต์ในประเทศไทย เป็นผลงานของผู้เขียน
ยกเว้น ภาพถ่ายจากต่างประเทศ เป็นลิขสิทธิ์ของ Daimler AG 
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
เผยแพร่ครั้งแรกใน www.headlightmag.com
30 กรกฎาคม 2014

Copyright (c) 2014 Text and Pictures Except some CG from Daimler AG.
Use of such content either in part or in whole without permission is prohibited.
First publish in www.Headlightmag.com
July 30th,2014

แสดงความคิดเห็น เชิญได้ คลิกที่นี่ / Comments are Welcome! CLICK HERE