nissan versa mexico

 

 ในเมื่อภาวะเศรษฐกิจอันเกิดจากการให้กู้เงินเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์อย่างไม่ถูกต้องแล้วเกิดผลกระทบตามมาเป็นลูกโซ่

จนทำให้ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐอเมริกาลดลงทำให้ค่ายรถต่างชาติที่มุ่งมาขุมทรัพย์แห่งนี้เจ็บตัวทุกหย่อมหญ้า

ยิ่งใครฝังรากลึกกับตลาดนี้มากเท่าไรก็เจ็บทวีคูณ หนำซ้ำค่ายรถญี่ปุ่นทุกค่ายยังเจอมรสุมที่ควบคุมไม่ได้เลย

คือ การแข็งค่าของเงินเยน

 

 เพราะยิ่งมีการทำธุรกรรมจากฐานญี่ปุ่นมากเท่าไรก็ยิ่งได้กำไรน้อยลงเท่านั้น

คิดง่ายๆคือถ้าขายรถได้เท่าเดิมแต่รายได้น้อยลงนั่นเอง

ลองคิดสิว่าถ้ายอดขายยอดส่งออกลดลงกำไรจะไม่หดหายไปมากกว่านี้รึ?

แล้วไม่มีหนทางหรือคำตอบน่ะมีแน่แต่ขึ้นอยู่กับความกล้าฉีกขนบออกไปหรือเปล่า

โตโยต้าบริษัทรถยักษ์ใหญ่อันดับ 1 ทั้งในตลาดโลกและญี่ปุ่นประกาศทันทีว่าสิ้นปีงบประมาณ 2008 (มีนาคม 2008) ขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบหลายๆสิบปี

สาเหตุหลักก็กล่าวไว้ในย่อหน้าที่แล้วทำให้มีมาตรการหยุการผลิต 14 วันในโรงงาน 11 แห่งทั่วญี่ปุ่นในไตรมาสแรกของปี2009

ทำให้ยอดการผลิตลดลงจากปีที่แล้วมากถึง 54%

ฮอนด้าถึงขั้นคิดจะย้ายอาร์แอนด์ดี (Reasearch and Development) ออกนอกญี่ปุ่นกันเลยทีเดียว

นิสสันยักษ์ใหญ่อันดับ 3 เพิ่งประกาศภาวะ financial crisis เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2552  คาดการณ์ขาดทุนถึง 2.9 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ

หรือ 100 พันล้านบาท เมื่อปิดปีงบประมาณมีนาคม 2009 ขาดทุนเป็นครั้งแรกในรอบ 9 ปี

ต้องออกมาตรการปลดพนักงานออกทั่วโลก 20,000 คน จำนวน 12,000 คน คือในญี่ปุ่นล้วนๆ

 

สาเหตุสำคัญเกิดจากค่าเงินเยนที่แข็งมาก 92.8 เยนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ

(ผู้เขียนอ้างอิงค่าเงินบาทจากเวบไซต์ xe.com ณ วันที่เขียนต้นฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 เวลาในไทย 10.51 น.)

นาย อเลน ดาซซาน ผู้อำนวยการด้านไฟแนนซ์ของนิสสันให้สัมภาษณ์รายละเอียดเบื้องต้น

เกี่ยวกับการโยกฐานผลิตรถคอมแพคท์ไปยังประเทศเม็กซิโกวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2552

กล่าวว่า “ค่าเงินเยนที่แข็งตัวถึง 90 เยนต่อ 1 เหรียญสหรัฐทำให้เราสูญเงินไป

เราจึงต้องหยุดการผลิตรถบางรุ่นในญี่ปุ่นและยกภาระส่งออกรถคอมแพคท์ไปยังตลาดตะวันออกกลางให้เม็กซิโกส่งออกแทน

 ถ้าค่าเงินยังคงที่ 90 เยนต่อดอลล่าร์อยู่ตลอดเราคงต้องทำอะไรสักอย่าง “ 

 

ปกตินิสสันญี่ปุ่นรับหน้าที่ส่งออก Tiida ไปยังตะวันออกกลางเป็นภูมิภาคหนึ่งที่ประสบความสำเร็จทำยอดขายหลักหนึ่งของโลก

ขณะที่ฐานการผลิตเม็กซิโกจะประกอบ Tiida/Versa จากโรงงาน 2 แห่ง

เพื่อส่งตลาดทวีปอเมริกาเหนือ,ละตินอเมริกา,ยุโรป ล่าสุดตลาดใหม่ก็คือตะวันออกกลางแทนที่ญี่ปุ่น

เท่ากับว่าโรงงานโอปามาญี่ปุ่นผลิตป้อนสำหรับตลาดในประเทศเท่านั้น

 

 ผู้เขียนคาดการณ์ว่าแนวโน้มที่จะย้ายฐานการประกอบ Tiida โฉมใหม่จากญี่ปุ่นมายังประเทศไทยทั้งกระบิก็น่าจะมีความเป็นไปได้

ส่วนรายละเอียดการย้ายฐานการผลิต Nissan March มายังประเทศไทย

นั้นเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายฐานการผลิตต้นทุนต่ำ (Leading Competitive Countries) 5 ประเทศอัน

ได้แก่ ไทย อินเดีย จีน เม็กซิโก และประเทศที่ยังไม่ระบุนามอีกแห่งหนึ่ง

เพื่อส่งออกในตลาดโลก 150 กว่าประเทศ การโยกไลน์การผลิต March จากญี่ปุ่นมาประเทศไทยยกกระบิ

(ไม่ประกอบในญี่ปุ่นอีกต่อไป)คือตัวอย่างของแผนการนี้เน้นการลดต้นทุนการผลิตลงได้ 30%

เพราะค่าแรงต่ำและจัดหาชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากถึง 90% ในแต่ละฐานการผลิต

 

ก็ถือว่าเป็นการฉีกขนบของค่ายรถญี่ปุ่นเพราะส่วนใหญ่รถยอดนิยมหรือรถสำหรับขายตลาดโลกมักจะประกอบที่ญี่ปุ่น

และเป็นฐานส่งออกหลักแต่นิสสันกลับฉีกตัวเองด้วยการโยกฐานผลิตรถยอดนิยมไปยังฐานผลิตต้นทุนต่ำ

แทนประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ,อเมริกา

ที่มีปัญหาด้านต้นทุนสูงมากก็คงเรียกว่าตัดไฟแต่ต้นลมดีกว่าให้คาราคาซังเหมือนในอดีต

ประเทศไทยจะส่งออกไปยังตลาดอาเซียน,ญี่ปุ่น,โอเชียเนีย และเอเชียบางประเทศ

Nissan March โฉมใหม่คือ 1 ใน 3 โมเดลโครงการยักษ์ Global A-platform project

ที่ช่วยแก้ปัญหารถขนาดเล็กของนิสสันจากเดิมมีขายกันแค่ญี่ปุ่นและยุโรปประมาณ 58 ประเทศให้กลายเป็น

รถยนต์สำหรับตลาดโลกวางจำหน่ายในทุกประเทศที่มีแบรนด์นิสสันขายกว่า 150 ประเทศทั่วโลก

โดยให้ฐานการผลิต ไทย อินเดีย จีน รับผิดชอบป้อนตลาดโลก

 

นอกจากโมเดลนี้ยังมีรถอีก 2 โมเดลคือซับคอมแพคท์ซีดานตลาดเดียวกับ วีออส,ซิตี้และอาวีโอ

และรถเล็กท้ายตัดอีก 1 รุ่น วางขายทั่วโลกด้วย

เป็นการออกสินค้าที่เข้ากระแสนิยมในปัจจุบันที่คนหันมาเล่นรถขนาด A-B segment มากขึ้นไปเรื่อยๆยากที่สร่างซาในระยะสั้นๆ  

ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะบริษัทลูกของนิสสัน มอเตอร์ญี่ปุ่นอย่างเต็มตัวจึงมีรถใหม่มาจำหน่ายเพิ่มอีกมากภาย

ตั้งแต่ปีนี้จนถึงปี 2012 จะมีรถรุ่นใหม่ทั้งโมเดลเชนจ์และโมเดลใหม่10-13 รุ่น (ไม่นับไมเนอร์เชนจ์ และตัด X-trail,Murano ทิ้งได้เลย))

มีรถใหม่ประกอบในประเทศอย่างต่ำ 7 รุ่น

 

 ถ้าลองนับแล้ว Product Portfolio เมื่อถึงตอนนั้นจำนวนจะพอๆกับเจ้าตลาดอันดับ1คือโตโยต้าเลยทีเดียว

หรือเหนือกว่าเมื่อเทียบกับฮอนด้าที่จะต้องมีสินค้าขาย 7 รุ่น

ทำให้นึกถึงสมัยสยามกลการในยุคถาวร พรประภาที่มีโมเดลให้เลือกหลากความต้องการ

เพียงแต่ว่ายุคนี้ความต้องการมันหลากหลายและซับซ้อนขึ้นมากก็เท่านั้นเอง