เครื่องยนต์ดีเซลรุ่นปัจจุบันอย่าง Duratorq TDCi ถูกเริ่มใช้มาตั้งแต่ปี 2000 ใช้ครั้งแรก
ในรถอย่าง Ford Mondeo พัฒนามาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน ใช้กันทั้งในแบรนด์ Ford, Jaguar,
Land Rover, Volvo และ Mazda ส่วนที่ใช้ใน Ranger / Everest จะอยู่ในตระกูลที่ใช้ชื่อเรียก
Codename ว่า ” PUMA ”

ในปี 2016 นี้เอง ล่าสุด Ford ได้เผยเครื่องยนต์ดีเซล Generation ใหม่ ” EcoBlue ”
คาดว่าจะถูกใช้ทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล Passenger Cars และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์
รวมถึงรถยนต์อเนกประสงค์ของค่าย ใช้ Modular Camshaft หรือ เพลาลูกเบี้ยวแบบใหม่
เป็นครั้งแรก ซึ่งเบื้องต้น Ford เคลมตัวเลขเอาไว้ว่าจะทำอัตราสิ้นเปลืองได้ดีกว่าเดิม
ถึง 13% ในซีรีส์เครื่องยนต์บล๊อกใหม่ EcoBlue นี้ จะมีพละกำลังตั้งแต่ 100 แรงม้า
ไปจนถึง 240 แรงม้า แบ่งไปตามช่วงความจุเครื่องยนต์ต่างๆ โดยความจุแรกที่ถูกเปิดเผย
ออกมาคือ ขนาด ” 2.0L EcoBlue ”

ecoblue_banner

ไม่ได้มีเพียงแค่ความประหยัดที่เพิ่มขึ้นอย่างเดียว แต่พละกำลังก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ถึงแม้ว่า
ตัวเลขพละกำลังทั้งแรงม้า และ แรงบิดยังไม่ได้มีตัวเลขออกมาอย่างเป็นทางการ  แต่เมื่อ
เทียบกับเครื่องยนต์ 2.2L Duratorq TDCi เดิมที่ประจำการอยู่ใน Ford Transit / Ranger /
Everest แล้วนั้น เครื่อง 2.0 EcoBlue ใหม่นี้ จะมีแรงบิดเพิ่มมากขึ้นอีก 20% ตั้งแต่รอบเครื่อง
ที่ 1,250 รอบ/นาที

นอกจากนี้ในเรื่องของเสียง ยังเงียบลงกว่าเดิม 4 เดซิเบล เมื่ออยู่ในรอบเดินเบา ในด้านงาน
วิศวกรรมเครื่องยนต์ใหม่นี้ มีการลดแรงเสียดทาน รวมถึง มีการเผาไหม้ที่สะอาดและสมบูรณ์
มากยิ่งขึ้นด้วย การปล่อยก๊าซ CO2 ลดลงจากเครื่องเดิม 10% การปล่อยมลพิษก็เช่นเดียวกัน
อยู่ในระดับผ่านมาตรฐาน Euro VI (Euro 6) ซึ่งจะเริ่มใช้ในโซนยุโรป เดือนกันยายนที่จะถึงนี้
ซึ่งมาตรฐานใหม่นั้นจะเข้มงวด โหดหิน ยิ่งกว่าเดิม ข้อมูลคร่าวๆคือ ตัวเลขอัตราการปล่อย NOx
ของ Euro 6 ต้องปล่อยน้อยลงกว่า Euro 5 ถึง 55%

Jim Farley : CEO ของ Ford Europe กล่าวว่า ที่ผ่านมาเครื่องยนต์เบนซินของ Ford
อย่าง EcoBoost นั้น สร้างมาตรฐานใหม่ของเครื่องยนต์เบนซิน ไม่ว่าจะเป็นการลดความจุลง
เครื่องเล็กลง แต่สามารถสร้างประสิทธิภาพทั้งด้านความแรง และ ความประหยัดได้ดีกว่าเดิม
เครื่องยนต์ดีเซลใหม่ อย่าง EcoBlue ก็มีแนวคิดการพัฒนาเช่นเดียวกันกับ EcoBoost

ในรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ Commercial เครื่องยนต์จะมีพละกำลังตั้งแต่ 105 – 170 แรงม้า
ในรุ่น Low Power และจะมีรุ่น High Power พละกำลังเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

รถยนต์นั่งส่วนบุคคล หรือ Passenger Cars จะเริ่มต้นที่ขนาดความจุ 1.5 EcoBlue
และ จะมีรุ่นสมรรถนะสูง สร้างพละกำลังได้ถึง 200 – 240 แรงม้า

ford_ecoblue_engine

จุดที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญของเครื่อง EcoBlue หลักๆมีดังนี้

1. เพลาข้อเหวี่ยงติดตั้งเยื้องจุดศูนย์กลางไป 10 มิลลิเมตร เพื่อลดภาระของลูกสูบและ
ลดการเสียดสี ระหว่างลูกสูบกับผนังลูกสูบ

2. ท่อร่วมไอดีแบบติดตั้งเป็นส่วนหนึ่งของเครื่อง ออกแบบให้มีทิศทางการไหลเข้าของ
ไอดีต่างกันโดยทางเข้าของลูกสูบ 1 กับ 2 จะหมุนตามเข็มนาฬิกา และลูกสูบ 3 กับ 4
จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ Ford ใช้ท่อไอดีลักษณะนี้ โดยหวังผล
ในเรื่องการผสมระหว่างอากาศกับเชื้อเพลิงที่มีประสิทธิภาพขึ้น

3. เทอร์โบชาร์จเจอร์ ลูกใหม่ ออกแบบมาให้สามารถทำลมได้มากกว่าเดิม
ที่รอบเครื่องต่ำ เมื่อเทียบกับเครื่อง 2.2 ลิตรบล๊อกปัจจุบัน

2015-ford-transit-white-high-roof-kansas-city2

เบื้องต้นเครื่องยนต์นี้จะถูกใช้ใน Ford Transit รถตู้เพื่อการพาณิชย์ของ Ford
ที่ขายในยุโรปเป็นรุ่นแรก ซึ่งมีการวิ่งทดสอบความทนทานไปแล้วกว่า 5.4 ล้านกิโลเมตร
เตรียมใช้เครื่องยนต์นี้ในตลาดทั่วโลก ทั้งยุโรป จีน อเมริกา เนื่องจาก Ford Transit
รุ่นปัจจุบันนั้นมีการใช้เครื่องยนต์ 2.2 ลิตร และ 3.2 ลิตร เช่นเดียวกันกับ Ford Ranger /
Ford Everest ทำให้มีแนวโน้มคาดว่าจะมาประจำการใน Ford Ranger / Ford Everest
รุ่นถัดไปอย่างแน่นอน ในปี 2018 – 2019

ranger_teaser

ที่มา : motortrend