บทความโดย Pan Paitoonpong & AE110

 

เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เราได้รายงานเรื่อง Toyota Hilux สอบตก Moose Test
ที่ทำการทดสอบโดย Teknikens Varld ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเป็นการจำลอง
สถานการณ์ที่ผู้ขับขี่ต้องหักหลบกวางป่า Moost Test (หรือในบ้านเราอาจจะเป็น
การหลบสุนัข หรือสิ่งกีดขวาง) ที่ความเร็วปกติอย่างกระชั้นชิด ก่อนจะดึงพวงมาลัย
กลับทิศทางเดิม และในครั้งก่อนผลทดสอบระบุว่า Toyota Hilux มีโอกาสสูงที่จะ
พลิกคว่ำได้ แม้จะใช้ความเร็วในการเข้าจุดหักหลบแค่ 59.2 กิโลเมตร/ชั่วโมง
ในขณะที่รถของคู่แข่งสามารถใช้ความเร็วเข้าได้สูงกว่าโดยที่ไม่เกิดอาการล้อยก

toyota_hilux_sweden_moose_test_banner

ทาง Toyota สวีเดนได้รับปากที่จะนำเคสนี้ไปดูแล และในที่สุดเมื่อทีมวิศวกรจาก
ทั้งภาคพื้นยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งนำโดยคุณ Takenori Yamaguchi ซึ่งเป็นวิศวกรฝ่าย
เทคนิคซึ่งดูแลเรื่องการปรับเซ็ตรถยนต์ของ Toyota โดยตรงได้คิดหาวิธีปรับปรุง
กระบะ Hilux และนำวิธีการปรับรถมาเสนอให้กับทีม Teknikens Varld ในเดือน
กุมภาพันธ์ และเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่ามันน่าจะเป็นหนทางแก้ไขปัญหา
ที่ถูกต้อง จึงได้นัดทดสอบรถกันเมื่อไม่นานนี้

Headlightmag ในฐานะที่เคยเผยแพร่บทความเรื่อง Toyota Hilux สอบตก
Moose Test ไป จึงต้องนำความคืบหน้าในเรื่องนี้มานำเสนอคุณผู้อ่านอีกครั้ง

ในบางช่วง ผู้เขียนจะขอนำรูปที่จับหน้าจอมาจากบทความต้นทางของทีม Teknikens
Varld มาเพื่อให้เห็นว่าเราแปลจากบทความต้นฉบับมา หรือแยกประเด็นมาเน้น
ข้อสังเกตให้ชัดๆ

Hiluxteknikens_03_2017_04SM

แม้จะยาว แต่ตั้งใจอ่านสักนิดจะพบว่ามันง่าย ผิดหรือถูกคนอ่านสามารถ
ท้วงติงได้ เพราะเราไม่ได้เขียนบทความเล่นเอากระแส วิเคราะห์อะไรไปเรื่อยไปเปื่อย
เรียกเรตติ้งอย่างที่บางคนชอบโยนขี้ใส่เราให้เข้าใจไปสะเปะสะปะ เห็นแค่หัวบทความ
อ่านแค่สามบรรทัดแล้วไปตีไข่ใส่ฟองกันสนุกว่าเราโจมตีค่ายนั้นค่ายนี้ทั้งๆที่ความจริง
เรื่องราวจากเว็บ คนรู้และเห็นทั่วโลก แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อ่านภาษาอังกฤษยาวๆได้
เราจึงทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ ก็แค่นั้น

ก่อนอื่น ดูคลิปก่อนเลยครับ

ข้อมูลการทดสอบ

1. สนามทดสอบคือที่ IDIADA ในเมือง Barcelona ประเทศสเปน (คนละที่กับคลิป
ยกล้อเมื่อเดือนตุลาคม)

2. รถคันสีแดงที่ใช้ เป็นรถคันเดียวกับที่ใช้ทดสอบในคลิปเดือนตุลาคม

Hiluxteknikens_03_2017_05

3. มีการใช้บรรจุภัณฑ์ใส่ของเหลวเพื่อถ่วงน้ำหนัก 3 จุดภายในรถบวกกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ บวกกับหน่วยกล้าตายนั่งเบาะหลัง โดยในการทดสอบช่วงแรกๆ
ใช้ตัวถังน้ำหนัก 4 ชุด ภายหลังเอาออกเพราะให้คนนั่งแทน

4. มีชุดคอมพิวเตอร์ที่เบาะนั่งหน้า (ในคลิปเดือนตุลาคมที่เบาะนั่งหน้าจะเป็นคนนั่ง)

5. น้ำหนักรถ รวมน้ำหนักบรรทุก อยู่ที่ 3,210 กิโลกรัม

Hiluxteknikens_03_2017_03

6. มีการติดบาร์กันคว่ำ เพื่อความปลอดภัย รถจึงดูเหมือนด้วงเขี้ยวกางอย่างที่เห็น

7. มีการนำรถ Ford Ranger มาทดสอบเปรียบเทียบ เพราะเป็นรถขายดีในยุโรป

8. ผู้ขับทดสอบครั้งนี้ คือ Ruben Börjesson ซึ่งเป็นคนละคนกับ Oskar Krüger
ซึ่งเป็นผู้ขับในคลิปเดือนตุลาคม แต่ Ruben นั้นเป็นมือทดสอบ Moose Test
เจ้าประจำของทาง Teknikens Varld และเป็นคนที่เคยขับในคลิป Vigo ยกล้อ
เมื่อทศวรรษที่แล้ว

 

การปรับปรุงที่ทีมวิศวกร Toyota ได้ทำไป

Hiluxteknikens_03_2017_02B

1. ปรับจูนการทำงานของระบบรักษาเสถียรภาพการทรงตัวใหม่ (VSC : Vehicle Stability Control)

2. เมื่อบรรทุกเต็มอัตรา เพิ่มลมยางหน้าจากเดิมอีก 0.3 Bar  (4.35PSI)

Hiluxteknikens_03_2017_07

สิ่งสำคัญที่ควรรู้:

การปรับปรุงนี้จะมีผลต่อรถ Hilux Double Cab 4 ประตูที่ขายในตลาดยุโรปเท่านั้น
เหตุผล? เพราะว่ามีเฉพาะรถของตลาดยุโรปเท่านั้นที่ระบุน้ำหนักตัวรถรวมน้ำหนัก
บรรทุกเอาไว้สูงถึง 3,210 กิโลกรัม

ที่ออสเตรเลีย ระบุไว้ 3,000 กิโลกรัม ที่อาร์เจนติน่าระบุไว้ 2,910 กิโลกรัม
ส่วนประเทศไทยระบุไว้แค่ 2,750 กิโลกรัม (ดังนั้น Toyota จึงมองว่ารถในประเทศไทย
ไม่ได้รับผลกระทบ เพราะกำหนดพิกัดบรรทุกไว้เบากว่ากันเกือบครึ่งตัน แม้ว่าใน
ท้ายที่สุด รถ Hilux ทุกคันในโลกจะมาจากสองแหล่งคือไทย กับแอฟริกาใต้)

ในสวีเดน มี Hilux รุ่น Double Cab ขายไปแล้วทั้งสิ้นประมาณ 700 คัน

 

ผลทดสอบ – ผ่านฉลุย ไม่มีการยกล้อ

Hiluxteknikens_03_2017_01_65

ที่ความเร็ว 55 กิโลเมตร/ชั่วโมง ง่ายๆ สบายๆ Toyota Hilux เอาอยู่โดยที่
ระบบควบคุมการทรงตัวไม่ได้ทำงาน

ที่ความเร็ว 57 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระบบควบคุมการทรงตัวเริ่มทำงาน แต่ตัวรถ
สามารถวิ่งผ่านกรวยไปได้อย่างสบายๆ ไม่รู้สึกเครียด

ที่ความเร็ว 61 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในรถเวอร์ชั่นเดิมที่ทดสอบในเดือนตุลาคม
จะมีการยกล้อแล้ว แต่ในการทดสอบครั้งนี้สามารถผ่านได้ฉลุย จน Ruben
กล้าเพิ่มความเร็วเป็น 63 และ 65 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งในจุดนั้นระบบควบคุม
การทรงตัวจะเริ่มทำงานมากขึ้นโดยการใช้เบรกชะลอความเร็วของรถลง

ในการทดสอบบางจังหวะแม้จะเห็นล้อรถเตะกรวยไหลอยู่บ้างแต่สาระ
สำคัญคืออาการล้อยกอย่างน่ากลัวที่เคยมีนั้นไม่มาไม่เห็นอีก

Hiluxteknikens_03_2017_01_67

ที่ความเร็ว 67 กิโลเมตร/ชั่วโมง Ruben เล่าว่า พวงมาลัยไฮดรอลิกของ Toyota
Hilux เริ่มออกอาการพวงมาลัยหนักในจุดเลี้ยวระหว่างทดสอบ และในโค้งสุดท้าย
จะมีอาการพวงมาลัยสู้มือมากขึ้น รถอันเดอร์สเตียร์มากขึ้น แต่ท้ายที่สุดแล้ว
Toyota Hilux สามารถผ่านการทดสอบไปได้โดยสวัสดิภาพ

ไม่ต้องใช้บริการบาร์กันคว่ำ !

Hiluxteknikens_03_2017_06

ทางทีม Teknikens Varld ได้ทดสอบซ้ำหลายต่อหลายครั้งจนมั่นใจที่จะ
สรุปว่าอาการเสียการควบคุมจนเสี่ยงจะคว่ำนั้น “Gone” คือหายเป็นปลิดทิ้ง

 

บทสรุป

Teknikens Varld สรุปว่า Toyota Hilux สามารถเอาชนะการทดสอบ Moose Test
ได้แล้ว แต่ด้วยความที่ว่า การทดสอบครั้งนี้ทำในต่างบ้านต่างเมืองของการทดสอบ
ในครั้งที่แล้ว ดังนั้น Teknikens Varld จึงเปรยๆที่จะเป็นเจ้าภาพกฐินไวกิ้ง แล้วนำ
รถที่ได้รับการอัปเดต ไปทดสอบยังสนามเดิมที่เคยทำเมื่อเดือนตุลาคม

หากทดสอบแล้วผ่าน ก็จะมีการเผยแพร่ข้อมูลกันต่อไปเพื่อเป็นการยืนยัน

ส่วน Toyota Europe ยังไม่ได้ให้กำหนดชี้ชัดว่าเมื่อไหร่จะนำระบบ VSC อัปเดต
ใส่ในรถที่จำหน่ายจริง แต่ก็ได้รับปากว่าจะทำให้เร็วที่สุด ทาง Toyota และ Teknikens
Varld แนะนำให้ผู้ใช้รถ Hilux Double Cab ในสวีเดนคอยฝั่งข่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อที่จะได้นำรถเข้าไปปรับปรุงโปรแกรมตามเวอร์ชั่นใหม่ทันทีที่ดีลเลอร์พร้อม

ในความเห็นของผม (Pan Paitoonpong) นี่คือตัวอย่าง “ที่ดี” ของการค้นพบ
ปัญหา แล้วร่วมมือกันตรวจสอบว่าปัญหามันคืออะไร เกิดจากตรงไหน และจะ
แก้ได้อย่างไร เมื่อคนพบปัญหา กับคนแก้ปัญหายินดีที่จะคุยกัน และช่วยกันสร้าง
หนทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวเองให้ดีขึ้น ท้ายสุด แม้คนแก้ปัญหาจะเป็นคนที่เหนื่อย
แต่คนที่ได้รับประโยชน์คือทั้งผู้บริโภค และบริษัทรถยนต์เองที่ไม่ต้องกังวลกับ
ระเบิดเวลาที่อาจจะรวบยอดไประเบิดทีเดียวกันในวันหน้า

ต่างจากวัฒนธรรมการแก้ปัญหาของบางประเทศ… ไม่ใช่แค่ในวงการรถยนต์นะครับ
แต่หมายถึงทั้งสังคม เมื่อเกิดปัญหา แทนที่จะมาคุยแล้วลองกันให้รู้เรื่อง กลับใช้
กลวิธีเอากระดาษสาปิดหลุมขี้ อะไรที่มันไม่สวยก็เอาสิ่งสวยๆมาบังหน้าไว้ ไม่ก็จ้างคน
มายืนเฝ้าหลุม ใครแอบเปิดกระดาษก็ให้กระทืบให้ตายเสีย ใครอาสาเอาแผ่นปูนดีๆ
มาปิดให้ ก็ไปว่าเขายุ่งไม่เข้าเรื่อง

ถ้าคติในการดำเนินชีวิตของเรามันย่ำอยู่กับที่แบบนี้
แล้วเมื่อไหร่เราจะได้ใช้ “ชีวิต” ที่ดีกันล่ะครับ

 

ที่มา: teknikensvarld