หลายเดือนที่ผ่านมา ท่านผู้ใช้รถใช้ถนนใน กทม คงได้พบเจอกับป้ายจราจรชนิดใหม่กันบ้างไม่มากก็น้อย  และในโอกาศนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมันให้มากขึ้น

ในครั้งแรกนั้นหลอดไฟชนิด LEDs   ได้ถูกนำมาติดตั้งในไฟสัญญาณจราจรและไฟนับถอยหลังตามสี่แยก (ซึ่งจะพูดถึงในโอกาสต่อไป)   และในรุ่นที่ 2 ที่จะกล่าวถึงนั้นคือ ป้ายไฟสัญญาณจราจรพลังงานเเสงอาทิตย์ชนิดไฟกระพริบ ซึ่งประกอบด้วยแผงโซล่าเซลล์ที่เชื่อมต่ออยู่กับหลอดไฟชนิด LEDs     

 

                    ในเวลากลางวัน ป้ายสัญญาณจราจรแบบพิเศษนี้จะทำหน้าที่เหมือนป้ายสัญญาณจราจรแบบสะท้อนแสงทั่วไป ส่วนความพิเศษของมันอยู่ที่เซลล์แสงอาทิตย์จะทำหน้าที่รับพลังงานแสงอาทิตย์และนำพลังงานที่ได้ไปเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ เมื่อใดก็ตามที่เซ็นเซอร์ตรวจจับว่าแสงสว่างลดลงกว่าค่าที่กำหนด พลังงานที่เก็บไว้จะถูกส่งไปให้กับหลอด LEDs เพื่อส่งสัญญานจราจรต่อไป ป้ายที่มักพบมากคือ ป้ายเตือนเขตโรงเรียน ทางแยก ทางโค้ง และ ทางข้ามถนน

 

    ข้อดีของป้ายสัญญาณจราจรชนิดใหม่นี้คือ  1. ความสว่างหลอด LEDs สามารถเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็นให้กับผู้ขับขี่ได้ชัดเจนมากขึ้น (แสงสามารถมองเห็นได้ไกล 1 กม. ในทัศนวิสัยที่ดีเวลากลางคืน)   2. ระบบจะทำงานเองอัตโนมัติโดยไม่ต้องมีคนมา เปิดปิด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ฝนตกหนัก หรือหมอกลงจัด เป็นต้น และ 3.  อุปกรณ์นี้ไม่ต้องการกระแสไฟฟ้าจากภายนอก จึงง่ายต่อการติดตั้ง และเหมาะกับพื้นที่อันห่างไกลที่ไฟฟ้าเข้าไมถึง

หากแต่ในความเป็นจริง ป้ายเตือนเหล่านี้ได้ถูกนำมาติดตั้งในเมืองที่มีองค์ประกอบหลายๆอย่างที่อาจจะรบกวนการทำงานของอุปกรณ์ ส่งผลให้อุปกรณนั้นไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้เท่าที่ควรและก่อให้เกิดอันตรายได้ในที่สุด  ในกรณีที่ไม่ร้ายแรง กล่าวคือ อาคาร สิ่งปลูกสร้างมีการบดบังแสงอาทิตย์ ผลที่ได้ก็คือ เซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถที่จะผลิตผลังงานจึงทำให้ป้ายจราจรไม่สามารถที่จะส่งสัญญาณออกมาได้ในเวลากลางคืน   แต่ที่ร้ายแรงที่สุดและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้คือ แสงสว่างจากเสาไฟฟ้าที่รบกวนระบบการทำงานของป้ายจราจรนี้ โดยสังเกตุได้ในหลายๆกรณี

 

 

      ในกรณีศึกษาคือ สะพานข้ามแยกคลองตันทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ดังจะเห็นได้จากรั้วกำแพงเหล็กสองชั้นทางด้านซ้ายมือของภาพ เส้นเตือนให้ลดความเร็วบนพื้นผิวจราจร และล่าสุดป้ายไฟสัญญาณจราจรพลังงานเเสงอาทิตย์ได้ถูกติดตั้งเพื่อลดอุบัติเหตุ  แต่เหตุการยิ่งเลวร้ายขึ้นเมื่อแสงสว่างจากเสาไฟฟ้าบนสะพานถูกปิดเฉพาะบริเวณทางโค้งอันตรายนั้น โดยเฉพาะที่มีป้ายไฟสัญญาณจราจรพลังงานเเสงอาทิตย์ติดตั้งอยู่ ซึ่งในบริเวณอื่นของสะพานไฟยังคงถูกเปิดตามปรกติ

    ในกรณีนี้เป็นไปได้ว่าผู้ที่เกียวข้องอาจทราบถึงข้อจำกัดของอุปกรณ์และทำการแก้ไขอย่างผิดวิธี ถ้าเลือกที่จะเปิดไฟส่องสว่างจากเสาไฟฟ้าในบริเวณนั้น ป้ายไฟสัญญาณจราจรก็จะคิดว่าเป็นเวลากลางวันที่มีแสงสว่างอยู่ และจะทำการเก็บกระแสไฟแทนที่จะนำออกมาใช้อย่างที่ควรเป็น แต่ถ้าปิดไฟส่องสว่างจากเสาไฟฟ้า ป้ายไฟสัญญาณจราจรจะทำงานตามปรกติ แต่ผู้ใช้รถก็จะไม่เห็นถนนที่อยู่ข้างหน้าได้  และที่น่าตกใจคือ เหตุการแบบเดียวกันนี้เกิดขึ้นในอีกหลายๆที่ ที่อุปกรณ์ชนิดนี้ได้ติดตั้งอยู่ ทางแก้อาจจะทำได้โดยการติดตั้งในที่ๆเหมาะสม อาจจะเป็นบริเวณระหว่างเสาไฟฟ้าทั้ง 2 ต้น เป็นต้น

 

 

 

     อุปกรณ์ที่ติดเพิ่มอย่างในกรณีของป้ายไฟสัญญาณจราจรพลังงานเเสงอาทิตย์นี้ควรเป็นอุปกรณ์เสริม  ไม่ใช่การทดแทนของอุปกรณ์หลักเพื่อความปลอดภัย เช่นแสงสว่างจากเสาไฟฟ้า หลายครั้งที่อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงที่แลกมาด้วยราคาแพง ได้ทำลายความหวังของคนไทยโดยถูกนำมาใช้อย่างไม่เต็มหรือไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่ควรจะเป็น การแก้ไขอาจทำได้โดยการศึกษาและการปรับใช้ก่อนการติดตั้งจริง อย่าให้เหมือนกับอนุสรณ์อีกหลายชิ้นบนท้องถนน ที่ไม่มีประโยชน์และรอการผุผัง เพียงเพื่อลบเลือนความผิดพลาดของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆจากสังคมไทย