กรุงเทพฯ – บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย เผยงานวิจัยโครงการ “ความท้าทายของพลังงานในอนาคต” (Future Energy Survey) มุ่งสำรวจความคิดเห็นของชาวไทย
ทั่วไปในเรื่องความท้าทายของพลังงานในอนาคต โดยสำรวจความคิดเห็นของคนในกรุงเทพฯ และเชียงใหม่ จำนวน 400 คน ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึง
กลางเดือนมีนาคม 2556 ซึ่งผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าคนไทยให้ความสำคัญด้านความต้องการพลังงานในอนาคตเป็นอันดับแรก เทียบเท่ากับปัญหาการจราจรที่แออัดในอัตรา 92%
และระบบการศึกษาของภาครัฐในอัตรา 91%

จากข้อมูลขององค์การสหประชาชาติและแบบจำลองสถานการณ์ของเชลล์ แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์จำลองในปี พ.ศ. 2573 ว่า ความต้องการพลังงาน น้ำและอาหารในโลก
จะเพิ่มมากขึ้นราว 40 – 50 % เพื่อรองรับความต้องการและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อแหล่งทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต คือ
พลังงานเป็นสิ่งที่ใช้ในการบำบัดน้ำ น้ำถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลิตพลังงานและทั้งพลังงานและน้ำล้วนเป็นปัจจัยในการผลิตอาหาร ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบ
สอบถามชาวไทยตระหนักดีถึงปัญหาเหล่านี้ โดยพวกเขาบอกว่าการขาดแคลนพลังงาน (91%) รวมถึงราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น (89%) ตลอดจนการขาดแคลนน้ำ (87%)
และอาหาร (80%) จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

alt

“เชลล์ดำเนินการสำรวจความท้าทายของพลังงานในอนาคต เพื่อมุ่งสนับสนุนรัฐบาลในการวางแผนรับมือความต้องการพลังงานในอนาคต โดยพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่ง
ในการพัฒนาความมั่นคงทางด้านพลังงาน จากผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าความต้องการพลังงานในอนาคตถือเป็นประเด็นที่คนไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ไม่แพ้ปัญหาอื่นๆ
ทั้งยังตระหนักดีว่าทรัพยากรพลังงาน น้ำ และอาหารต่างมีความเชื่อมโยงกัน อย่างไร นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าว

ผลการสำรวจเรื่องความท้าทายของพลังงานในอนาคตยังแสดงให้เห็นว่าชาวไทยสนับสนุนการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (83%)^ โดยคิดว่า พลังงานแสงอาทิตย์เป็น
แหล่งพลังงานที่จะตอบสนองความต้องความต้องการพลังงานของพวกเขาในอนาคต ตอกย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์รายใหญ่ที่สุด
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยยังระบุถึงแหล่งพลังงานอื่นๆ ที่อาจนำมาใช้ตอบสนองความต้องการพลังงานในอนาคตได้ คือ พลังงานน้ำ (54%)^
พลังงานลม (41%)^ และก๊าซธรรมชาติ (35%)^ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ได้สะอาดกว่าและจัดเป็นพลังงานหมุนเวียนโดยธรรมชาติ

นอกจากนี้ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย 9 คนใน 10 คน (92%) เห็นว่าการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก
ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามอีก 6% ตอบว่าเป็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หลายคนระบุว่าพวกเขากำลังทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยวิธีลด
การใช้พลังงานลงหรือปิดไฟก่อนออกจากห้อง (83%)^ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดพลังงาน (53%)^ ตอลดจนการรีไซเคิล (49%)^

ผู้ตอบแบบสอบถามคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 2 (46%) เห็นพ้องกันว่าความร่วมมือกันของชุมชน รัฐบาล และภาคอุตสาหกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนด
ทิศทางพลังงานในอนาคต ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นว่าประชาชนทั่วไป (70%)^ รัฐบาล (69%)^ และภาคอุตสาหกรรม (41%)^ มีบทบาทสำคัญที่สุด
ในการพัฒนาระบบพลังงานในอนาคต

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “แบบสำรวจนี้มุ่งให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงความสำคัญที่จะร่วมมือกันสร้างสรรค์
วิธีการต่างๆ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานในอนาคต โดยบริษัทเชลล์พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาระบบพลังงานใหม่”

หมายเหตุ : ^ คำถามที่ให้เลือกคำตอบได้หลายข้อ ผลรวมของคำตอบจึงไม่เท่ากับ 100%