แคมเปญของรัฐบาลแต่ละประเทศที่รณรงค์ให้ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าล้วนหันมาส่งเสริมการใช้งานด้วยนโยบายรูปแบบต่างๆ มีให้เห็นหลากหลายแตกต่างกันไปตลอดระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม บางนโยบายกลับถูกตัดหางปล่อยวัดกันกลางทาง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการต่างๆ อย่างมหาศาล โดยเฉพาะโปรเจ็ค Ride-sharing ทางเดียวกันไปด้วยกันของประเทศจีน ที่ออกนโยบายสนับสนุนให้ Start-up และผู้ประกอบการหันมาผลิตรถ EV ขนาดเล็ก เพื่อรองรับการใช้งานในเขตเมือง

แต่ทว่า จำนวนรถ EV หลายพันคันที่ถูกสั่งผลิตขึ้นจากผลพวงของโปรเจ็ค Ride-sharing ดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกใช้งาน เนื่องจากการตัดงบประมาณของรัฐบาลจีนนับตั้งแต่ปี 2019 เนื่องจากเหตุปัจจัยที่รัฐบาลเองก็กลัวที่จะดำเนินการต่อไป ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่จอดรถสาธารณะที่ไม่เพียงพอที่จะทำเป็นจุดจอดให้กับรถ EV เหล่านี้ รวมไปถึงประสิทธิภาพของรถ EV ที่จะนำมาใช้งานไม่เพียงพอ เนื่องจากเทคโนโลยีของระบบขับเคลื่อนและแบตเตอรี่กำลังก้าวไปข้างหน้า แต่รถเหล่านี้ถูกออกแบบตั้งแต่ก่อนยุครุ่งเรืองของรถ EV ในประเทศจีน

 

สิ่งที่น่าเสียดายและไม่ควรเกิดขึ้นอย่างยิ่ง ก็คือการล้มละลายของเหล่าผู้ประกอบการรายย่อย หลังจากขยะทางเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องถูกทิ้งร้างและไม่สร้างมูลค่าแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น ยังสร้างมลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีต่อประเทศจีนเอง จนประชากรส่วนใหญ่เริ่มออกมาให้ความเห็นและต้องการให้ขยะ EV เหล่านี้ ถูกจัดการอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ปล่อยทิ้งร้างตามพื้นที่ในธรรมชาติ โดยไม่มีการทำลายให้หมดไปหรือนำกลับไปใช้ใหม่ในรูปแบบการใช้งานอื่นๆ

 

ตัวอย่างฟลีทรถ EV ดังกล่าวที่ถูกทอดทิ้งอย่างไม่ถูกต้อง ได้แก่ BJEV EC3 จากยักษ์ใหญ่อย่าง BAIC ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2017 เพื่อโปรเจ็ค Ride-sharing โดยเฉพาะ จึงทำให้มีสมรรถนะที่ไม่สามารถแข่งขันได้กับตลาดรถ EV ปกติทั่วไปในปัจจุบันได้ จึงได้แต่หวังว่า ทางหน่วยงานภาครัฐจะเข้ามารับผิดชอบต่อฟลีทรถ EV ที่ปล่อยให้ร้างเป็นสุสานเช่นนี้ ทั้งๆที่ยังไม่เคยผ่านมาใช้งานมาก่อน ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดๆก็ตาม เพื่อให้ทรพยากรที่มีค่าได้กลับมาทำหน้าที่และไม่ปล่อยให้กลายเป็นภาระของสิ่งแวดล้อไปมากกว่านี้

ที่มา: Carscoops , Carnewschina