บางครั้งการโฆษณาที่ตั้งใจละเว้นรายละเอียดสำคัญไม่ให้ปรากฏบนสื่อก็อาจทำให้ลูกค้าหลายคนเข้าใจผิดถึงเนื้อความ
กันไปใหญ่ แล้วยิ่งถ้าโฆษณาตัวนั้นสร้างความเข้าใจผิดให้แก่ลูกค้าอย่างหนักแล้วล่ะก็เห็นทีบริษัทเจ้าของสินค้าคงจะต้อง
ลำบากในการทำความเข้าใจกันใหม่

alt

ผลของการพยายามสร้างความเข้าใจผิดในเนื้อความโฆษณาก็เป็นเรื่องจนได้เมื่อวารสารกลุ่มผู้สังเกตการณ์และคุ้มครอง
ผู้บริโภคได้ตีพิมพ์ข้อมูล Louise Brid ฟ้องร้อง Hyundai Motor ต่อศาลกลางแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (รับฟ้องแล้ว
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2012) ด้วยข้อหาพยายามสร้างความเข้าใจผิดในเนื้อหาโฆษณาโทรทัศน์ โดย Hyundai พยายาม
สื่อสารกับผู้บริโภคว่า Hyundai Elantra มีอัตราสิ้นเปลืองยอดเยี่ยมถึง 40 MPG ซึ่งเป็นตัวเลขที่ทดสอบบนถนนไฮเวย์
เท่านั้น

ส่วนข้อความอัตราสิ้นเปลืองในเมืองที่ทำได้ 29 MPG ก็จะมีรูปแบบข้อความที่ทั้งเล็กและผอมบางมากจนผู้ชมไม่สามารถ
มองเห็นได้เลยหากไม่กดแช่ภาพนั้นไว้ ส่วนโฆษณาบนสื่อตีพิมพ์จะไม่มีปัญหาดังกล่าว (เพราะสามารถอ่านรายละเอียด
ได้ชัดเจน)

และนั่นก็ทำให้ค่ายรถยนต์ที่ทำตลาดในอเมริกาเหนือต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำโฆษณามากขึ้น