เราเชื่อว่าสิ่งที่ทุกคนกำลังรอคอยกันไม่น้อยก็คือแผนการดำเนินธุรกิจยานยนต์ของ Mitsubishi Motors ว่าจะมีทิศทาง
เป็นอย่างไร แล้วพวกเขายังจะดำเนินธุรกิจรถยนต์นั่งอยู่ต่อหรือไม่? วันนี้เราก็จะมาเจาะลึกแผนธุรกิจระยะกลางใหม่ล่าสุด
ภายใต้ชื่อแผน New Stage 2016 ซึ่งเราจะสรุปเนื้อหาสาระของแผนหัวใจหลักประจำปีงบประมาณ 2014 จนถึง
ปีงบประมาณ 2016 (หรือตั้งแต่เดือนเมษายน 2014 – มีนาคม 2017)

แผนธุรกิจ New Stage 2016 เป็นแผนที่ต่อยอดมาจากแผน Jump 2013 ซึ่ง Mitsubishi Motors เชื่อว่ากุญแจสำคัญ
ที่จะทำให้ถึงจุดมุ่งหมายเกิดจากรถกระบะที่มียอดขายแข็งแรง, เอสยูวีและครอสโอเวอร์ซึ่งจะเป็นสินค้ายุทธศาสตร์อีกทั้ง
ยังติดตั้งเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยตามความต้องการของคนทั่วโลกเพื่อสร้างยอดขายที่มั่นคงใน
ภูมิภาคเอเชีย

หัวใจหลักของแผนธุรกิจระยะกลาง New Stage 2016 มีดังต่อไปนี้

-การเติบโตของรายได้ที่เกิดจากการเปิดตัวสินค้ายุทธศาสตร์
-เพิ่มคุณค่าแบรนด์และตัวตนของ Mitsubishi Motors
-ผลักดันให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตสำคัญ
-การสร้างแบรนด์เอสยูวีให้แข็งแรงในตลาดเกิดใหม่
-การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพผ่านพันธมิตรทางธุรกิจ

6 แผนกลยุทธ์สำคัญที่สอดคล้องกับหัวใจหลักของแผน มีดังต่อไปนี้

1.การเติบโตของรายได้ที่เกิดจากการเปิดตัวสินค้ายุทธศาสตร์
Mitsubishi Motors จะเน้นการเปิดตัวรถกระบะ, เอสยูวีและครอสโอเวอร์เป็นสำคัญซึ่งจะช่วยสร้างยอดขายเป็นสำคัญ
ในระดับโลก โดยจะวางแผนเปิดตัว All New Mitsubishi Triton (บางประเทศจำหน่ายในชื่อ L200) ภายใน
ปีงบประมาณ 2014 (ระหว่างเดือนเมษายน 2014 – มีนาคม 2015) และ All New Mitsubishi Pajero Sport (บาง
ประเทศใช้ชื่อ Montero Sport หรือ Nativa) ภายในปีงบประมาณ 2015 (ระหว่างเดือนเมษายน 2015 – มีนาคม
2016) อันเป็นรถยนต์รุ่นหลักสำหรับ Mitsubishi Motors

นอกจากนี้ยังวางแผนการเปิดตัว All New Mitsubishi RVR (บางประเทศใช้ชื่อ ASX หรือ Outlander Sport)ม Delica
D:5 และ Pajero (บางประเทศใช้ชื่อ Montero หรือ Shogun) และพัฒนาเทคโนโลยี Plug-in Hybrid สำหรับรถยนต์
ใหม่เหล่านี้ โดยวางแผนแนะนำสินค้าใหม่และเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2015 เป็นต้นไป

เป้าหมายการขายสำคัญภายในสิ้นปีงบประมาณ 2016 (สิ้นเดือนมีนาคม 2017) จะต้องอยู่ที่ 1,430,000 คัน เติบโต
30% จากยอดขายปัจจุบันจากยอดคาดการณ์ภายในปีงบประมาณ 2013 (เมษายน 2013 – มีนาคม 2014) โดยมี
สัดส่วนการขายรถกระบะ, เอสยูวีและครอสโอเวอร์มากถึง 63% ภายในปีงบประมาณ 2016 (ปีงบประมาณ 2013 คาด
ว่าจะมีสัดส่วน 53%) และมีสัดส่วนยอดการขายรถกระบะ, เอสยูวีและครอสโอเวอร์สุทธิภายในปีงบประมาณ 2016 ถึง
74% (ปีงบประมาณ 2013 มียอดขายสุทธิ 69%)

2.การพัฒนาเทคโนโลยีเจเนเรชั่นต่อไป

Mitsubishi ใส่ใจด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม, การขับขี่สนุกสนาน, ความแข็งแกร่งและความปลอดภัย อันเป็นเสาสำคัญ
หลักที่จะต้องมีในรถยนต์รุ่นใหม่ พวกเขาจึงต้องพัฒนาเทคโนโลยีเจเนเรชั่นใหม่เพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายเหล่านี้ ส่วน
รถไฟฟ้าก็เป็นส่วนเติมเต็มของหัวข้อการรักษาสิ่งแวดล้อมสำหรับประเทศที่มีรัฐบาลเข้มงวดในการออกกฎหมายรักษา
สิ่งแวดล้อมอย่างมาก อีกทั้ง Mitsubishi ยังวางแผนเปิดรถยนต์ EV และ PHEV ให้มีสัดส่วน 20% ของจำนวนรุ่นทั้งหมด
ภายในปี 2020

ในเวลาเดียวกัน Mitsubishi ก็ได้พัฒนาเครื่องยนต์เจเนเรชั่นใหม่เพื่อเน้นสมรรถนะการขับขี่และเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อม
พร้อมเทคโนโลยีใหม่อันเป็นเอกลักษณ์ได้แก่ ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ S-AWC ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อที่ควบรวมระบบการะ
รักษาการทรงตัวและกลุ่มเทคโนโลยีความปลอดภัยในตัวซึ่งติดตั้งแล้วใน Outlander โฉมใหม่ (ในญี่ปุ่นจะเรียกระบบนี้
ว่า e-Assist) และจะกระจายเทคโนโลยีนี้ไปสู่รถรุ่นอื่น และ Mitsubishi ยังพัฒนาระบบการเชื่อมต่อภายในห้องโดยสาร
เพื่อความสะดวกในการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน

2013 11 06 Mitsubishi Plan 1

3.การสร้างความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ระดับภูมิภาค

Mitsubishi Motor จะเน้นการสร้างความเข็มแข็งในตลาดเกิดใหม่เป็นหลักและเพื่อเป็นการสร้างรากฐานในการขยาย
ผลกำไรในแต่ละภูมิภาคด้วยการก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่ร่วมกับบริษัทร่วมทุนในกลุ่มอาเซียน, ประเทศจีนและรัสเซียก็จะ
เกาะกลุ่มแผนการนี้ด้วยเช่นกันทั้งการขยายยอดขายและผลกำไร

Mitsubishi Motors จะมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจให้ประเทศไทยและอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจ และจะ
พยายามให้ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศเป้าหมายมีความแข็งแกร่งในระดับใกล้เคียงกับประเทศศูนย์กลาง และมีการ
สร้างกรอบการทำงานที่สามารถยืดหยุ่นในด้านการผลิตและการขายรวมถึงการแนะนำรถรุ่นใหม่ที่สอดคล้องกับความ
ต้องการของประเทศนั้น

ส่วนในตลาดที่อิ่มตัว (หรือตลาดที่เคยมั่นคงและทำผลกำไรได้มากมาก่อน) ก็จะออกมาตรการเร่งค้นหาผลกำไรในตลาด
อิ่มตัว เริ่มจากประเทศญี่ปุ่นจะยังคงพัฒนารถมินิคาร์ภายใต้รูปบริษัท NMKV ขณะเดียวกันทางบริษัทจะต้องปรับปรุง
ประสิทธิภาพการขายและผลกำไร ด้วยการลดจำนวนรุ่นและเพิ่มยอดขายต่อรุ่นมากขึ้น

ในตลาดอเมริกาเหนือมุ่งมั่นที่จะเพิ่มยอดขายด้วยการฟื้นฟูตัวแทนจำหน่ายผ่านการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่และทุ่มทุนด้าน
โฆษณา ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตในโรงงานสหรัฐอเมริกาด้วยการหาตลาดส่งออกเพิ่มเติม

ในตลาดยุโรปจะค้นหาวิธีการกู้ยอดขายและขยายผลกำไรให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจากการเปิดตัวรถกระบะ Triton
หรือ L200 รุ่นใหม่

4.ปรับปรุงโครงสร้างการจัดการ

Mitsubishi ยังดำเนินการปรับปรุงค่าใช้จ่ายพื้นฐานภายใต้การปฏิรูปการดำเนินงานใหม่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้าง
ความสมดุลกับการผลิตทั่วโลก ในฝั่งหนึ่งก็จะดูแลการขยายไลน์ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อีกฝั่งหนึ่งก็จะรักษากำลังการผลิต
ในตลาดที่อิ่มตัวแล้วและมุ่งการเปิดตัวรถยนต์และเทคโนโลยีใหม่ในญี่ปุ่น

ที่สำคัญที่สุด Mitsubishi วางแผนลดจำนวนแพลทฟอร์ม 9 แบบในปีงบประมาณ 2013 ให้ลดลงเหลือ 7 แบบภายใน
ปีงบประมาณ 2016 และลดจำนวนรุ่นจาก 18 รุ่นในปีงบประมาณ 2013 เหลือเพียง 13 รุ่น ภายในปีงบประมาณ 2016
(ในปีงบประมาณ 2010 Mitsubishi มีแพลทฟอร์มมากถึง 12 แบบและรุ่นรถมากถึง 23 รุ่น)

และเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานลดค่าใช้จ่ายดังกล่าวซึ่งท่านประธานบริษัทก็เห็นสมควรด้วย จึงมีการลดเป้าค่า
ดำเนินงาน MMC Group เหลือ 110,000,000,000 เยนภายในปีงบประมาณ 2016

5.การก่อตั้งรากฐานธุรกิจที่มั่นคง

จากแผนธุรกิจที่จะเน้นตลาดเกิดใหม่ เน้นการคิดค้นสินค้าใหม่และเทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงทำให้ต้องลงเม็ดเงิน 1 แสนล้าน
เยนทุกปีเพื่อเป็นเงินลงทุนและ 8 หมื่นล้านเยนสำหรับสำหรับการวิจัยและพัฒนาตามแผนธุรกิจดังกล่าว

นอกจากนี้บริษัทยังจะจัดสรรทรัพยากรภายใต้โอกาสการหารายได้และผลกำไรจากการร่วมธุรกิจกับบริษัทรถยนต์
พันธมิตรซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

2013 11 06 Mitsubishi Plan 2

6.ลงมือปรับปรุงคุณภาพ

Mitsubishi เชื่อว่าคุณภาพเป็นหัวใจหลักสำคัญที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้รถยนต์เดินทางและเพื่อสร้างความ
เชื่อมั่น บริษัทอยากเป็นบริษัทที่มีคุณภาพทุกด้านระดับต้น ๆ ของอุตสาหกรรมนี้ พร้อมทั้งเป้าหมายสูงสุด 3 ข้อเพื่อการ
พัฒนารถยนต์ให้มีคุณภาพนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2013 เป็นต้นไป โดยจะลดปัญหารถไม่มีคุณภาพลงให้ได้ครึ่งหนึ่ง ดัง
หัวข้อต่อไปนี้

*อาการเสียผิดปกติที่เกิดขึ้นภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่วันส่งมอบรถ
*อัตราส่วนของชิ้นส่วนที่ผิดปกติจากซัพพลายเอร์
*ระยะเวลาที่รถยนต์มีความผิดปกติ

ที่มา : http://www.mitsubishi-motors.com/publish/pressrelease_en/corporate/2013/news/detail0907.html